เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 30, 2017 15:13 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้า และบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดีในหลายภูมิภาค สำหรับ เสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"

1. ภาคใต้ : การบริโภค การลงทุนภาครัฐยังขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ ส่วนรายได้เกษตรกรขยายตัว เป็นบวก และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และยะลา เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนจากยอด รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ร้อยละ 6.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี ตามการปรับตัวดีขึ้นในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ชุมพร พังงา และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในขณะที่การลงทุนภาครัฐในภูมิภาคขยายตัวในอัตรา เร่งที่ร้อยละ 95.4 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 38.6 ต่อปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจในภูมิภาค

ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนธันวาคม มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 3.59 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 12.9 ต่อปี ส่งผลให้ใน ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.5 แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 21.0 ต่อปี ส่วนรายได้จากการ เยี่ยมเยือนในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 52,435 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 25.8 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.1 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากผู้เยี่ยม เยือนชาวไทยขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 22.5 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง สอดคล้อง กับราคาสินค้าเกษตรขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 36.2 ต่อปี

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 75,971 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้
หน่วย: %yoy                                        ปี 2558                                            ปี 2559
                                   ทั้งปี      Q1       Q2      Q3      Q4       Q1      Q2      Q3       Q4      พ.ย.     ธ.ค.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่               8.3     4.8      8.3    11.2     9.6     10.9    10.5     6.6      2.6      0.5      2.3      7.8
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่            -21.7    -27.2   -29.8   -16.6    -4.2     14.2       5     1.5      1.5      9.6     -9.7      6.2
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่          0.5      0.8     0.1    -6.3     8.7     -5.3     8.6    18.2      9.4     15.9        6      7.2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)         69.2     73.3      70    66.4    67.2     66.8    64.9    66.1     66.1     65.6     66.7       66
รายได้เกษตรกร                     -17.3    -26.8   -13.3   -15.2   -13.6      -12    -4.3    16.1     36.2     34.7     52.2     10.7
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่             -12.5    -26.7   -17.2    -0.9    20.6      9.3     0.8    -6.4     -6.7      3.1    -20.6     -0.7
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่            -14.2     -9.7   -20.1   -17.6    -6.8      9.2    -1.2     3.9      4.3      3.4     -1.4        4
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม       41.6     64.3    -5.6   -48.4   124.5     27.9   -48.6    41.9    -58.1    -58.7    -31.6    -30.7
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)   83.8     84.7    85.6    83.3    81.5     84.1    84.3    84.4     86.4     89.6     81.5     84.8
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                    12.2     19.9    16.3    10.9       2      9.7    18.7    12.1     13.5     14.3     12.9     13.3
รายได้จากการเยี่ยมเยือน               23.6     39.5    29.5    21.6     5.9     12.9    26.7      20     20.1       14     25.8       19
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                    -1.2     -0.7    -1.4    -1.4    -1.4       -1     0.2     0.3        1      0.9      1.7      0.1
อัตราการว่างงาน                      1.2      1.1     1.1     1.2     1.3      1.3     1.4     1.2        -      1.5        -      1.3
(% ต่อกำลังแรงงาน)
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          2. ภาคตะวันออก : การบริโภคภาคเอกชนสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อยขยายตัว โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัว
ได้ดีมากทั้งจำนวนและรายได้ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวตามราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในระดับสูง
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าภาคเอกชน โดยในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ตาม
การปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกร โดยจังหวัดที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นต้น ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุน
ภาคเอกชนที่ยังส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 34.1 และร้อยละ 301.2 ต่อปี ตามลำดับ
เนื่องจากมีการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตกระจกแผ่น เม็ดเงิน 4.15 พันล้านบาท ในจังหวัดปราจีนบุรี และในโรงงานไก่และแช่แข็งไก่สด ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูป และสำเร็จรูปจาก
เนื้อไก่ และเก็บรักษาสินค้าในห้องเย็น เม็ดเงิน 742 ล้านบาท ในจังหวัดชลบุรี เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนภาครัฐในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.0 ต่อปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับ
สนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนธันวาคม มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 41.3 ล้านคนครั้ง ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 44.4 ต่อปี
ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 37.8 แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวร้อยละ 26.4 ต่อปี และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 75.5 ต่อปี
ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 24,845 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 84.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 76.5 แบ่งเป็นรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน
ชาวไทยขยายตัวร้อยละ 39.3 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 115.8 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรขยายตัว
ในอัตราเร่ง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรในเดือนธันวาคมขยายตัวที่ร้อยละ 26.1 ต่อปี ส่วนภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม ยังมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 98.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมยานยนต์
เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ในขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2559
อยู่ที่ 18,962 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออก
หน่วย: %yoy                                        ปี 2558                                            ปี 2559
                                   ทั้งปี      Q1       Q2      Q3      Q4       Q1      Q2      Q3      Q4      พ.ย.     ธ.ค.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่              20.5    19.5     33.5    12.7    17.1      9.3    10.2     7.6     7.6     14.5     -3.9      8.7
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่            -15.2   -15.8    -23.1   -15.2    -1.9     20.2     2.5    -4.2      -8     -8.3    -13.9        4
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่          1.3    27.5       -1   -13.7    -5.7     -9.9    12.2    18.3     5.1      9.9      0.7      5.3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)         66.5    70.3     66.7    63.6    65.3     65.1    62.4      64    63.9     63.1     64.6     63.9
รายได้เกษตรกร                      -3.1    -3.5     -1.5     5.8    -0.2     -5.4     2.5      10    24.6     13.8     26.1      7.9
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่             -11.5   -16.6    -26.7    -6.9    -0.1        0   -13.7    -6.8    -8.6     -9.8      -10     -6.9
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่             -9.1    -7.2     -8.7    -3.3   -17.5     -8.5    -9.6     2.1    13.7      7.4     34.1     -1.1
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม        3.8   154.3     72.8   -55.6     -57      1.1   -46.7    56.6    77.9    -23.3    301.2      -11
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)   90.9      98       90    86.6    89.2     89.2    93.6    98.7    96.8       93     98.3     94.6
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                    20.6      20     24.4    26.3    13.4     34.1    33.3    43.6    37.8     26.3     44.4     37.1
รายได้จากการเยี่ยมเยือน               26.2    27.8     39.1    21.7    19.1     61.8    66.7    72.3    76.5     61.4     84.1     69.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                    -1.4    -1.3     -1.6    -1.6    -1.3     -0.7     0.4     0.4     0.6      0.8      1.1      0.2
อัตราการว่างงาน                      0.8     0.8      0.8       1     0.8        1     0.9     0.9       -      0.6        -    0.0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          3. ภาคกลาง : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว จากการบริโภคภาคเอกชน โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน สอดคล้องกับภาคอุปทาน จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว
และการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนธันวาคม ขยายตัวร้อยละ 7.4
ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี เช่นเดียวกันกับการบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี ตามการ
ปรับตัวดีขึ้นในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดชัยนาท เป็นต้น ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุน
ภาคเอกชนปรับตัวดีเล็กน้อย สะท้อนได้จากยอดรถปิคอัพในเดือนธันวาคมขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 ต่อปี ส่วนรายจ่ายลงทุนของ
รัฐบาลในภูมิภาคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยในเดือนธันวาคม ยังคงขยายตัวร้อยละ 18.2 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนธันวาคม มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 1.65 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี ส่งผลให้
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี ส่วนรายได้จาก
การเยี่ยมเยือน อยู่ที่ 2,981 ล้านบาท ขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี ตามการขยายตัวของรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย
เป็นสำคัญ โดยขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 ต่อปี  สอดคล้องกับภาคเกษตรพบว่าผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง ทำให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี ส่วนภาค
อุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม ยังมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 91.1 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบ
การที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน
2559 อยู่ที่ 17,156 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง
หน่วย: %yoy                                        ปี 2558                                            ปี 2559
                                   ทั้งปี      Q1       Q2      Q3      Q4       Q1      Q2      Q3      Q4      พ.ย.     ธ.ค.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่              11.5    12.5     12.4     8.7    12.4      5.2     7.6      11     4.4     -1.5      7.4      6.9
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่            -10.8   -17.3    -22.8   -11.8    29.3     16.2    13.4      11    -2.9     11.1      -19     10.3
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่         -6.1     9.3    -12.2   -13.9    -6.9     -6.8     9.3     7.2     0.3      8.5      1.1        2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)         62.4    66.2     62.8    59.5      61     60.8    58.7    60.2    59.6     58.9       60     59.8
รายได้เกษตรกร                     -10.3    -5.8    -20.7   -18.1      -5     -9.5    -5.9    -3.2    -2.1    -13.2      6.5     -4.7
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่             -19.8   -26.2    -24.8   -10.2   -10.7      1.7     6.8    -0.5     6.1       24      1.8      3.3
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่              -17   -15.4     -3.5   -18.2   -30.3    -12.3   -27.7     -11   -19.1     11.7     -8.5    -18.2
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม       41.2    87.2    -14.9   -41.5     235      6.4   -60.5   -81.9   -61.4    -78.1    -34.1    -54.9
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)     88    92.4     87.2    84.3      88     89.7    89.7    88.1    90.4     90.8     91.1     89.5
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                    -2.9     4.9    -12.3    -8.2     6.9     16.7    17.2     6.3     4.7      7.1      2.7      9.9
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                3.3     8.7    -18.1    -5.1      25     31.6    35.1    14.9     2.4      3.5      5.3     17.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                    -0.2    -0.1     -0.5    -0.4     0.3        0     1.1     0.7     0.8      0.9        1      0.7
อัตราการว่างงาน                      1.1     1.1      1.2       1     1.2      1.3     1.8     1.4       -      1.3        -      1.4
(% ต่อกำลังแรงงาน)
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          4. กทม. และปริมณฑล: การบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวได้ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน ด้านอุปทาน ได้รับ
ปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่ขยายตัว สอดคล้องกับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย สะท้อนจากยอดรถจักร
ยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนธันวาคม ขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี เป็นต้น ส่งผลให้ในไตรมาส
ที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่เดือนธันวาคมที่ร้อยละ 58.5 ต่อปี
ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี ส่วนรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยในเดือนธันวาคม ปี
2559 ยังคงขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 103.0 ต่อปี และในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 80.9 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 91.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ
ยอดขาย และผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ขยายตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศ และการส่งออกไปสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง และอุตสาหกรรม
พลาสติก ที่ส่งออกไปยังประเทศจีน และญี่ปุ่น เป็นต้น ในขณะที่ด้านท่องเที่ยว พบว่าขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย โดยในเดือนธันวาคม ขยายตัวที่ร้อยละ 24.1
และ 32.3 ต่อปี ตามลำดับ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2559
อยู่ที่ 99,287 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล
หน่วย: %yoy                                        ปี 2558                                            ปี 2559
                                   ทั้งปี      Q1       Q2      Q3      Q4       Q1      Q2      Q3      Q4      พ.ย.     ธ.ค.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่               7.6     9.7      8.7     4.6     7.5     -1.4     4.1     1.2    -4.1     -1.5     -9.9     -0.1
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่            -10.2     -13    -24.1   -11.6    21.5     14.6    14.7     0.1   -14.7    -13.5    -18.8      4.6
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่          0.6    10.1     -3.9    -7.5     4.8      8.4    12.9    17.2     7.3     12.9      3.8     11.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)         62.6    66.3     62.5    59.5      62     62.1    59.2    60.3    59.8       59     60.4     60.3
รายได้เกษตรกร                      -3.9    -0.7       -5    -2.9      -7     -6.1    -1.2     0.2     0.1     -5.3     -2.9     -2.1
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่              -6.3   -13.7    -17.6    -0.5    15.6      3.3     1.7    14.7   -10.4     -7.4      -10      2.6
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่             -8.7    -5.7    -13.1    -8.5    -7.3    -15.4      -4     0.3     7.6     -4.1     58.5     -2.9
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม        6.4    -2.2    -62.7    39.7   124.5    -43.4   -25.9   -62.8   -43.6     58.6    -33.7    -46.4
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)     88    92.4     87.2    84.3      88     89.7    89.7    88.1    90.4     90.8     91.1     89.5
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                    28.4   -10.4     22.5    33.4    71.2     31.4     8.8    -7.7   -21.4    -18.2    -23.2     -1.4
รายได้จากการเยี่ยมเยือน               46.3     6.6     30.7    38.5    76.7     35.9    12.1    -8.3   -42.2    -39.9    -47.4    -15.3
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                      -1    -1.2     -1.3      -1      -1     -0.3     0.4     0.3     0.7      1.1      1.4      0.4
อัตราการว่างงาน                        1       1        1       1       1      0.9     0.9     0.8       -      1.2        -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป จากการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐช่วยสนับสนุน สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว
และการปรับเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
          ในด้านอุปสงค์ พบว่าการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดี โดยดูจากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบการ ในเดือนธันวาคม ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ
1,230.8 ต่อปี ตามการเร่งลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน้ำ ในจังหวัดนครราชสีมา และโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำตาล ในจังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ส่งผล
ให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 82.2 ต่อปี ส่วนรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยในเดือนธันวาคม
ยังคงขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 53.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ร้อยละ 38.9 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ โดยในเดือนธันวาคม มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 4.47 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี
2559 ขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี แบ่งเป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 8.2 ต่อปี และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี ส่วนรายได้จากการ
เยี่ยมเยือนในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 8,025 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 14.5 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากผู้เยี่ยม
เยือนชาวไทยขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น ตามผลผลิตสินค้า
เกษตรในภูมิภาคที่ขยายตัว ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 82.6 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ
ผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับที่ยังเอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี ขณะที่จำนวนการ
ว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 79,373 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 5 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หน่วย: %yoy                                        ปี 2558                                            ปี 2559
                                   ทั้งปี      Q1       Q2      Q3      Q4       Q1      Q2      Q3      Q4      พ.ย.      ธ.ค.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่               7.2    10.4      6.8       8     3.6      6.4     2.8     0.2     0.2     -2.1      -0.4      2.5
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่            -13.6   -24.1    -20.4   -14.9    18.3     21.6     2.3     2.4    -8.4       -5     -17.7      5.2
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่          0.8    11.5     -0.4     -10     3.1    -10.6     4.2     6.9     4.4     10.7        -2      0.7
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)         66.8    70.6     67.2      64    65.2       65      63    64.2    63.4     62.8      63.6     63.9
รายได้เกษตรกร                      -8.8     3.3    -26.8   -20.6    -7.9    -21.9    -8.6    -3.9    -3.6    -16.8       8.1    -10.6
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่             -12.4   -14.9    -20.8   -15.5     8.1     -8.8    -7.8    -3.1   -15.3    -11.7     -25.7     -8.8
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่            -16.2   -23.1    -19.8    -7.9   -12.4     -5.6     0.6    -2.5   -17.7    -12.4     -20.5     -6.6
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม      -44.4      42    -53.7   -27.2   -67.2    -60.5   -19.5    16.4    82.2    241.5  1,230.80      7.3
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)   81.4    84.8     81.5    77.6    81.8     79.9    74.6    76.5    80.4     80.7      82.6     77.9
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                     3.7     3.3      1.8       0     9.1     -6.9    -3.5     9.1       8      5.8      17.5        2
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                5.8     3.5      4.3     2.6    12.1     -6.5    -2.4     6.6     5.5      2.9      14.5        1
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                    -0.6    -0.6     -0.9    -0.8    -0.2      0.3     1.3     0.7     1.1      1.2       1.4      0.8
อัตราการว่างงาน                      0.6     0.6      0.7     0.6     0.5      0.8     1.1     0.9       -      0.9         -      0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          6. ภาคเหนือ : เศรษฐกิจทรงตัว แต่การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ และภาคการท่องเที่ยว ยังคงช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในภูมิภาค
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่ขยายตัว จากจากเม็ดเงินลงทุนใน
โรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 432.4 ต่อปี ตามการลงทุนในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ เชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ โดยเฉพาะ
ในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีการลงทุนในโรงงานผลิตน้ำตาลทราย เม็ดเงินลงทุน 10.34 พันล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 58.7 ต่อปี สอดคล้องกับรายจ่าย
ลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 66.0 ต่อปี และในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 42.0 ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวภายในภูมิภาค อย่างไรก็ดี
การบริโภคสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ โดยในเดือนธันวาคม มีรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 25,651 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ
6.0 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการ
เกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น ตามผลผลิตสินค้าเกษตรในภูมิภาคที่ขยายตัว ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 82.6 ปัจจัยสนับสนุน
ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตามการขยายตัวของการส่งออกไปประเทศเวียดนาม จีน และสหรัฐฯ และอุตสาหกรรมเยื่อและ
กระดาษ  จากการส่งออกไปจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงาน
ในเดือนตุลาคม 2559 อยู่ที่ 63,016 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ

หน่วย: %yoy                                        ปี 2558                                             ปี 2559
                                   ทั้งปี      Q1       Q2       Q3       Q4      Q1       Q2      Q3      Q4      พ.ย.      ธ.ค.   YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่              12.2     8.3      9.7     13.4     17.8    20.4     14.8     5.3     -3.1    -3.7     -4.6     9.2
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่            -13.9     -18    -22.1    -15.1       11    15.8      5.5     3.1    -16.3     -14    -27.7     3.8
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่         -2.7    10.5     -8.5    -14.3      2.8    -2.8      2.7    16.3     -0.9     5.6       -6     3.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)         65.8    69.2     66.2     63.3     64.5    64.5     62.8    64.1     64.2    63.9     64.7    63.9
รายได้เกษตรกร                      -7.6     3.8    -23.1    -19.7     -8.9   -19.4    -12.2    -3.5     -3.5   -16.2      4.9   -10.8
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่              -6.1   -12.2    -17.1     -3.9       18    -1.4        0    -4.4    -26.3   -16.9    -39.5    -7.5
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่            -25.3   -36.2    -28.7      -18    -12.4    -4.8     -5.5   -11.9      4.5    10.8     -1.4    -4.6
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม       37.1   -54.8    177.8    260.8      -38     130    -49.6    -1.2     58.7   -13.3    432.4    11.3
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)   81.6    82.7     78.5     78.8     86.5    81.6     74.1    71.8     79.4    79.2     82.6    76.7
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                    15.8    20.8     24.6     19.1        6     5.5      6.4     7.5    -11.7   -16.4     -2.8     0.3
รายได้จากการเยี่ยมเยือน               16.2    28.2     24.9     21.4      3.8     9.8      8.4     8.2     -5.8   -13.3        6     3.4
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                    -1.2    -0.6     -1.7     -1.5       -1    -0.4      1.5     1.1      1.4     1.4      1.7     0.9
อัตราการว่างงาน                      0.7     0.8      0.7      0.8      0.7     0.9      0.9     0.9        -       1        -     0.9
(% ต่อกำลังแรงงาน)
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          7. ภาคตะวันตก : เศรษฐกิจยังคงทรงตัว แต่การลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค
          ในด้านอุปสงค์ พบว่ารายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยในเดือนธันวาคมปี 2559 ยังคงขยายตัวในระดับ
สูงที่ร้อยละ 118.4 ต่อปี ตามการขยายตัวของรายจ่ายในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดราชบุรี เป็นสำคัญ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ
42.0 ต่อปี ในณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงทรงตัวจากเดือนก่อน
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนธันวาคม มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน 3.15 ล้านคนครั้ง ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 ต่อปี ทำให้ในไตรมาส
ที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเป็นสำคัญ โดยขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 ต่อปี ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดราชบุรี และ
จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น สอดคล้องกับรายได้จากการเยี่ยมเยือน อยู่ที่ 10,193 ล้านบาท ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 19.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ
18.8 ต่อปี จากรายได้ของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยและรายได้ของผู้เยี่ยมเยือนของชาวต่างประเทศ โดยขยายตัวร้อยละ 24.0 และ 0.3 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนภาคอุตสาหกรรมในเดือน
ธันวาคม มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 91.1 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
ในอุตสาหกรรมอาหาร ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และการส่งออกไปสหรัฐ ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง เป็นต้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ขณะที่จำนวนการ
ว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 12,567 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก
หน่วย: %yoy                                        ปี 2558                                            ปี 2559
                                   ทั้งปี      Q1       Q2      Q3      Q4       Q1      Q2      Q3      Q4      พ.ย.     ธ.ค.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่               2.6     3.6      3.9    -4.3     7.2      7.5     6.4    14.3   -19.8    -27.6     -8.7      1.6
บนฐานการใช้จ่ายภายใน
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่            -16.1   -15.8    -30.1   -20.2    20.5     16.2     8.8    10.9    -4.5      6.4    -24.9        9
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่           -2     7.1      3.9     -17    -0.8      1.1     5.7    15.7    -0.1      4.2       -5      5.3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)         62.4    66.2     62.8    59.5      61     60.8    58.7    60.2    59.6     58.9       60     59.8
รายได้เกษตรกร                       5.9    15.8      0.3     7.5   -10.7    -17.5   -15.6       5    -6.3    -19.8     -4.4    -12.8
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่              -5.6   -14.1    -19.8    -7.8    38.8     -4.1   -12.9   -15.5   -34.4    -12.2    -59.1    -16.2
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่            -15.1   -19.2    -18.8    -5.8   -15.7    -19.8      -7   -19.3   -17.1     -9.7    -16.6      -16
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม      103.8     -81    -52.3   216.1   929.3 1,402.70   147.5   -36.7   -78.6    -89.1    -67.6     -2.4
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)     88    92.4     87.2    84.3      88     89.7    89.7    88.1    90.4     90.8     91.1     89.5
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                     0.8     8.8      0.9    -3.4      -1     -5.8    -4.6     4.6       6      6.9      6.6      0.5
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                3.1     0.6      9.4     6.4    -1.4     -3.1     5.7    10.2    18.8     19.1       19      8.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                    -1.6      -1       -2    -1.9    -1.3     -0.3     1.2     1.1     1.6      1.6        2      0.9
อัตราการว่างงาน                      0.5     0.4      0.4     0.6     0.6      0.6     0.8     0.8       -      0.5        -      0.7
(% ต่อกำลังแรงงาน)
ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยตลาดการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ