Executive Summary
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ม.ค. 60 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ 1.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.5 แสนคน
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 59 คิดเป็น 1.75 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 59 ของสหภาพยุโรป (ประมาณการครั้งที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ของญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ของไต้หวัน (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ของมาเลียเซียขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ของสิงคโปร์ ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกของสหรัฐเดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อของจีน เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปี
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ม.ค. 60 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า หดตัวที่ร้อยละ -1.5 ต่อเดือน ทั้งนี้ ภาคการก่อสร้างมีสัญญาณขยายตัวตามโครงการก่อสร้างพื้นฐานภาครัฐที่เริ่มดำเนินการ
การจ้างงานเดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ 37.2 ล้านคน ลดลง 3.6 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลง 1.9 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนการจ้างงานลดลงเช่นกันที่ 5.3 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -5.8 ขณะที่การจ้างงานภาคบริการมีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นที่ 3.6 แสนคน ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ 1.2 ของกำลังแรงงานทังหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.5 แสนคน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 59 คิดเป็น 1.75 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งจากยอดขายน้ำมันขายปลีกที่ขยายตัวสูงตามราคาน้ำมัน ขณะที่ยอดขายอาหารและเครื่องดื่มและยานยนต์ชะลอตัวลงเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากราคาหมวดที่อยู่อาศัยและขนส่งที่เร่งตัวขึ้นมาก เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 59 นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปัจจุบันใกล้บรรลุเป้าหมายทั้งด้านการจ้างงานและระดับราคาแล้ว
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 59 (ประมาณการครังที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ขณะที่การส่งออก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนด้านการนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.8 หมื่นล้านยูโร
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 32 เดือน จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นช่วงตรุษจีน สอดคล้องกับดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันแล้ว 5 เดือน
GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก ร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากทุกหมวดที่ชะลอตัวลงยกเว้นหมวดพลังงาน การส่งออก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหมวดพลังงานและเคมีภัณฑ์ขยายตัวได้ดี ด้านการนำเข้า เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 22.3 สูงสุดในรอบ 3 เดือน ส่งผลให้ขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค. 59 ที่ 6.6 พันล้านปอนด์ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.6 อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.78 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.80
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 30 เดือน จากราคาสินค้าหมวดพลังงานและอุตสาหกรรมที่เร่งขึ้นมาก มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 ขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงที่ 9.8 พันล้านรูปี
อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ในปี 59
GDP ไตรมาส 4 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทำให้ทั้งปี 59 เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 1.5
GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 2.9 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน จากการส่งออกสุทธิ ส่งผลให้ทั้งปี 59 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.0 ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยานยนต์ มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 25.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 27.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าน้ำมันและก๊าซ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล)เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน จากการลงทุน ส่งผลให้ทั้งปี 59 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.2 อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าทีร้อยละ 3.6
ยอดขายยานพาหนะใหม่ เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว และอัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.8
ดัชนี SET ปรับตัวลดลง โดย ณ วันที่ 16 ก.พ. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,576.05 จุด หลังตลอดสัปดาห์ดัชนีฯ แกว่งตัวในกรอบแคบที่ต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 56,171.0 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนทั้งสถาบันในประเทศ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ โดยนักลงทุนจับตามองการแถลงนโยบายการเงินของ Fed ต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ และมีแรงขายมากขึ้นหลังจาก Fed ส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ โดยระหว่างวันที่ 14 - 16 ก.พ. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 2,895.0 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตระยะกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-5 bps โดยการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลถึง 3.86 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14 - 16 ก.พ. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,755.43 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 16 ก.พ. 60 เงินบาทปิดที่ 35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.05 จากสัปดาห์ก่อน เช่นเดียวกับเงินวอนและเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน แต่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเงินสกุลอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่อ่อนค่าลง โดยเฉพาะเงินเยนที่อ่อนค่าลงร้อยละ 1.42 จากสัปดาห์ก่อน จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.28 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th