Executive Summary
- มูลค่าการส่งออกในเดือน ม.ค. 60 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 8.8 ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เช่นกันที่ร้อยละ 5.2
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ม.ค. 60 ได้จำนวน 171.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนม.ค. 60 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 255.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.9
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ม.ค. 60 ปีงปม.60 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -93.1 พันล้านบาท
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.3
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ม.ค. 60 หดตัวที่ร้อยละ -1.5
- ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ม.ค. 60 เกินดุล 5,008.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.4
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 60 เท่ากับ 104.5
- สหรัฐฯ ไตรมาส 4 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัว ร้อยละ 1.9
- GDP ออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.4
- GDP อินเดีย ไตรมาส 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 7.0
มูลค่าการส่งออกในเดือน ม.ค. 60 มีมูลค่า 17,099.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 8.8 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.7 และปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 5.0 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน ม.ค. 60 มีมูลค่า 16,273.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เช่นกันที่ร้อยละ 5.2 ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าขยายตัวที่ ร้อยละ 8.3 ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าหดตัวที่ร้อยละ -2.9 ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ม.ค. 60 เกินดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ม.ค. 60 ได้จำนวน 171.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ต่อปี แต่ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 12.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ -6.6 ของประมาณการเอกสารงบปม. จากการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี และภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ -1.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ภาษีฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 724.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -2.7 ต่อปี แต่สูงกว่าประมาณการ 15.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.2 ของประมาณการเอกสารงบปม.
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ม.ค. 60 มีมูลค่า 64,497 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.2 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายภายในประเทศหดตัวร้อยละ -4.9 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 16.8 เนื่องจากปัจจัยฐานที่ต่ำในเดือน ม.ค. 59 ที่มีการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ต่ำลง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ม.ค. 60 หดตัวที่ร้อยละ -6.0 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่า หดตัวที่ร้อยละ -9.1 ต่อเดือน
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนม.ค. 60 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 255.0 พันล้านบาท ลดลง ร้อยละ -1.9 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 229.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.7 ต่อปี โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 211.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.4 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 18.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -7.2 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 59.9 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 25.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 60 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,105.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 40.5 ของวงเงินงบประมาณ (2,733.0 ล้านล้านบาท)
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ม.ค. 60 ปีงปม.60 พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -93.1 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 21.4 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -71.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ ดุลเงินงบประมาณในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 60 ขาดดุลจำนวน -508.7 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 83.1 พันล้านบาท
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน ม.ค. 60 เกินดุล 5,008.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 3,719.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้าที่เกินดุล 1,890.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการส่งออก (ตามระบบ BOP) ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากอุปสงค์ต่างประเทศในหลายสินค้าปรับดีขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แผงกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ยางล้อรถยนต์ สมาร์ทโฟน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง นอกจากนี้ ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ยังเกินดุลสูงถึง 3,117.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามรายรับภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามปัจจัยฤดูกาล ประกอบกับเทศกาลตรุษจีนส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนเร่งขึ้น
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 60 เท่ากับ 104.5 ขยายตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้น ของดัชนีราคาสินค้าหมวดต่าง ๆ โดยเฉพาะ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นร้อยละ 14.1 ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 60 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.0 และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออกพบว่า หดตัวร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี อาทิ แผงวงจรรวม จากความต้องการในกลุ่มรถยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ อุตสาหกรรมในกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็ก เนื่องจากราคาที่อยู่ในระดับสูง สามารถแข่งขันได้ทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการหดตัวได้แก่ การผลิตในหมวดเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ ตามการชะลอการนำเข้าเพื่อรอการปรับลดภาษี และการผลิตเครื่องปรับอากาศที่ปรับลดลงตามการปรับเปลี่ยนไปผลิตผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ แทน
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ม.ค. 60 หดตัวที่ร้อยละ -1.5 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าหดตัวกว่าร้อยละ -11.9 ต่อเดือน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ราคาสินค้าประเภทสัตว์น้ำ และราคาอาหารสำเร็จรูป ได้มีการปรับเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกัน ขณะที่ราคาสินค้าประเภทผักผลไม้และเนื้อสัตว์มีการปรับตัวลดลง จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย รวมถึงราคาค่าไฟฟ้าที่มีการปรับลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเดือน ก.พ. ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 0.6
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 60 มียอดคงค้าง 16.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวอย่างทรงตัว และเมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ด้านสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 60 มียอดคงค้าง 17.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากในเดือนก่อนหน้า
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาส 4 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เท่ากับตัวเลขเบื้องต้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 114.8 จุด สูงสุดในรอบกว่า 15 ปี จากดัชนีสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคตที่ปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 57.7 จุด สูงสุดในรอบ 2.5 ปี จากดัชนีหมวดย่อยทุกหมวดที่เร่งตัวขึ้น ยกเว้นหมวดการจัดส่งสินค้าที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ -6.2 จุด (ตัวเลขจริง) เท่ากับตัวเลขเบื้องต้น แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -4.8 จุดด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 55.4 จุด (ตัวเลขปรับปรุง) ลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขเบื้องต้นที่อยู่ที่ระดับ 55.5 จุด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากราคาในหมวดพลังงานปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านอัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 9.6 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 53.3 จุด สูงสุดในรอบ 35 เดือน และดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ก.พ. 60 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 51.3 จุด อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 60 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของกำลังงานรวม
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (NBS) เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ 51.6 จุด และ 54.2 จุด ตามลำดับ สะท้อนภาคการผลิตที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 59 เศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 2.5 ด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 59.3 จุด สูงสุดในรอบ 6 ปีกว่าขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 49.0 จุด ด้านการส่งออกและนำเข้า เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 36.7 และ 12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 451.0 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
GDP ไตรมาส 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงน้อยกว่าตลาดคาดผลกระทบของการยกเลิกธนบัตร 2 ชนิด ในเดือน พ.ย. 59 ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ 50.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
มูลค่าส่งออกและนำเข้าเดือน ม.ค. 60 กลับมาหดตัวร้อยละ -1.2 และ -2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ด้านยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 60 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 23 ที่ร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าส่งออกและนำเข้า เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20.2 และ 23.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากทุกหมวดที่ขยายตัวดีขึ้นด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 เพิ่มเล็กน้อยอยู่ที่ 49.2 จุดและอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 เร่งขึนเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 54.5 จุด
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน ก.ย. 59 เนื่องจากดัชนีของประเทศส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นไทยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าหมวดอาหาร พลังงาน และการขนส่ง
มูลค่าส่งออกและนำเข้า เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.6 และ 16.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.7 พันล้านริงกิต
อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน ยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. 60 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ -6.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากความกังวลด้านราคาอาหารและน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งเงินปอนด์อ่อนค่าด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 54.6 จุด อยู่เหนือระดับ 50 จุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ดัชนี PMI ภาคก่อสร้าง เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 52.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด
ดัชนี SET ปรับตัวลดลง โดย ณ วันที่ 2 มี.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,569.94 จุด หลังช่วงต้นสัปดาห์ดัชนีฯ แกว่งตัวในกรอบแคบที่ต่ำกว่าสัปดาห์ก่อนและเริ่มปรับขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 40,275.71 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติ ในขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศเข้าซื้อค่อนข้างมาก โดยซื้อสุทธิถึง 6,418.29 ล้านบาท ทั้งนี้ นักลงทุนติดตามผลการแถลงนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ และคาดการว่า Fed อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. 60 โดยระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 2 มี.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -3,253.98 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางปรับเพิ่มขึ้น 2-6 bps ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลง 1 bps สอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติซึ่งในระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 2 มี.ค. 60 ที่มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -13,018.84 ล้านบาท ตามความคาดหมายว่า Fed อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ หลังเจ้าหน้าระดับสูงของ Fed ส่วนใหญ่ออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ย และยอดรับสวัสดิการว่างงานออกมาต่ำกว่าคาด
เงินบาทค่อนข้างทรงตัว โดย ณ วันที่ 2 มี.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 35.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นเดียวกับเงินริงกิต ในขณะที่ค่าเงินวอนและสิงคโปร์ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และเงินเยนและยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อย จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.25 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th