Executive Summary
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 60 มีจำนวน 165,663 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 14.9
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,059.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.0 ของ GDP
- อัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.3 แสนคน
- GDP สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 4 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลการค้าของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. 60 ขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ 48.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน ก.พ. 60 กลับมาหดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวสูงถึงร้อยละ 38.1 ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 60 ขาดดุล 9.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราเงินเฟ้อของไต้หวัน เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกของอินโดนีเซีย เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของฟิลิปปินส์ เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 22.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 60 มีจำนวน 165,663 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.2 ขยายตัวทั้งในเขต กทม. ที่ร้อยละ 10.6 และในเขตภูมิภาคที่ร้อยละ 16.3 เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ 2 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวได้ร้อยละ 3.4
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,059.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.0 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 137.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน (คิดเป็นร้อยละ 96.6 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 94.7 ของยอดหนี้สาธารณะ)
การจ้างงานเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ 37.7 ล้านคน ลดลง 1.9 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลง 4.9 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนการจ้างงานลดลงเช่นกันที่ 9.8 หมื่นคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.0 ขณะที่การจ้างงานภาคบริการมีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นที่ 4.0 แสนคน ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.3 แสนคน
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 57.6 จุด ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 4 เดือน จากดัชนีย่อยหมวดกิจกรรมทางธุรกิจ คำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น ดุลการค้าเดือน ม.ค. 60 ขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ 48.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการนำเข้าที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 9.1
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 60 กลับมาหดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.1 ในเดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 38.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานต่ำผิดปกติ ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 60 ขาดดุล 9.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าครั้งแรกในรอบ 3 ปี อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.5 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาอาหารที่ปรับลดลงมากช่วงหลังเทศกาลตรุษจีนในเดือน ม.ค. 60
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 โดยที่ยอดค้าปลีกในทุกหมวดสินค้าชะลอลง ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 55.5 จุด สูงสุดในรอบเกือบ 6 ปีส่งผลให้ดัชนี PMI รวม เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 56.0 สูงสุดในรอบเกือบ 6 ปีเช่นกัน ด้าน GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับตัวเลขเบื้องต้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ และเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 60 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบียนโยบายทั้ง 3 ประเภท และยังคงวงเงินมาตรการ QE ที่เดือนละ 8 หมื่นล้านยูโรไปจนถึงเดือน มี.ค. 60 และจะลดขนาดมาตรการ QE เหลือเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโรในเดือน เม.ย.-ธ.ค. 60
GDP ไตรมาส 4 ปี 59 (ตัวเลขสมบูรณ์) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า จากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนรวมที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ทั้งปี 59 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากร้อยละ 1.2 ในปี 58
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดอาหารซึ่งมีสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของตะกร้าเงินเฟ้อที่หดตัวครั้งแรกในรอบ 42 เดือน มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 27.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 42.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานต่ำ ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 60 เกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเท่ากับเดือนก่อนหน้า และนับเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค. 59 เป็นเดือนที่สองติดต่อกันเนื่องจากยอดขายสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราเท่ากันกับเดือนก่อนหน้า เป็นสำคัญ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าในหมวดอาหาร และหมวดที่อยู่อาศัย ก๊าซ และพลังงาน มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 22.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการนำเข้าสินค้าในหมวดอุปกรณ์การขนส่งและอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 28.6 และ 2.4 ตามลำดับ และสินค้าในหมวดเครื่องจักรไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์เคมีที่หดตัวร้อยละ -12.2 และ -10.2 ตามลำดับ
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ระดับ 53.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.5 จุด
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 60 ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบียนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 9 มี.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,549.24 จุด หลังตลอดทั้งสัปดาห์ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงทดสอบแนวต้านระดับ 1,550 ต่อเนื่อง ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 43,857.91 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ตามการคาดการณ์ของตลาดว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันที่ 14-15 มี.ค. 60 นี้ ตลอดจนราคาน้ำมันในตลาดโลกกลับมาต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลอีกครั้ง จากปริมาณการผลิตและการสำรองน้ำมันของสหรัฐฯ ที่เพิ่มมากขึ้น กดดันให้ราคาปรับตัวลง โดยระหว่างวันที่ 6 - 9 มี.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -5,786.34 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น 1-8 bps สอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติออกจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดอื่นๆ ในภูมิภาค และค่าเงินบาทที่อ่อนลง ตามการคาดการณ์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีความเป็นได้ไปสูงขึ้นหลังตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) ล่าสุดปรับดีขึ้นกว่าคาด และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในระหว่างวันที่ 6 - 9 มี.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -14,263.78 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 9 มี.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 35.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.97 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับทิศทางของค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค เช่น เยน ริงกิต วอน สิงคโปร์ดอลลาร์ และหยวน ในขณะที่มีเพียงเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้น จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.63 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th