Executive Summary
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 60 คิดเป็น 1.74 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 60 หดตัวเล็กน้อยที่ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 60 มีจำนวน 3.01 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.0
- GDP จีน ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม
- การส่งออกของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 15.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน มี.ค. 60 เกินดุล 614.7 พันล้านเยน
- การส่งออกของสหภาพยุโรป เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.3 ทำให้ดุลการค้าเดือน ก.พ. 60 เกินดุล 17.8 พันล้านยูโร
- มูลค่าการส่งออกของอินโดนีเซีย เดือน มี.ค. 60 ขยายตัว ร้อยละ 23.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 18.2 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัตราการว่างงานของมาเลเซีย เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อกำลังแรงงานรวม
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ในเดือน ก.พ. 60 คิดเป็น 1.74 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก เป็น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 60 หดตัวเล็กน้อยที่ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -0.6 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 60 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อไตรมาส หลังปรับผลทางฤดูกาล
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 60 มีจำนวน 3.01 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี จากรัสเซีย กลุ่ม CLMV และเกาหลี ในขณะที่จีนและมาเลเซียยังคงหดตัว ทั้งนี้ ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ปี 60 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 9.19 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน มี.ค. 60 เพิ่มขึ้นเพียง 9.8 หมื่นตำแหน่ง โดยการจ้างงานในภาคค้าปลีกลดลงถึง 3 หมื่นตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่รายได้ภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยต่อเนื่องที่ 892.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ผลจากราคาหมวดขนส่งที่ชะลอลงเล็กน้อย ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตในเกือบทุกหมวดที่เร่งขึ้น
GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และอยู่เหนือเป้าหมายของทางการจีนสำหรับปี 60 ที่ร้อยละ 6.5 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากช่วงสิ้นปี 59 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี
การส่งออก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปี และขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 11.3 การนำเข้า เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 15.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน มี.ค. 60 เกินดุล 614.7 พันล้านเยน ลดลงจาก 813.5 พันล้านเยนในเดือนก่อน สอดคล้องกับดัชนีPMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 (เบืองต้น) ที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.8 จุด สูงสุดในรอบ 2 เดือน จากยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่ปรับเพิ่มขึ้น
การส่งออก เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.8 ด้านการนำเข้า เดือน ก.พ. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเดือน ก.พ. 60 เกินดุล 17.8 พันล้านยูโร อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ -3.6 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ -5.0 จุด
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 23.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 เนื่องจากดัชนีหมวดอุตสาหกรรม หมวดเหมืองแร่ และหมวดน้ำมันและก๊าซขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 22.0 40.0 และ 19.5 ตามลำดับ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 โดยดัชนีหมวดน้ำมันและก๊าซในเดือนนี้ยังคงขยายตัวในระดับสูงแต่ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 45.7 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 20 เม.ย. 60 ธนาคารกลางของอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบายที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี
อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าในหมวดค่ารักษาพยาบาลและการคมนาคมขนส่งขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.6 และ 23.0 ตามลำดับ และดัชนีราคาหมวดการสื่อสารที่หดตัวชะลอลงทีร้อยละ -0.2
การส่งออก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 18.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 21.6 เนื่องจากดัชนีหมวดน้ำมัน หมวดที่มิใช่น้ำมัน และหมวดสินค้าในประเทศขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 66.7 12.3 และ 28.7 ตามลำดับ การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 18.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 เนื่องจากดัชนีหมวดเชื้อเพลิงธรรมชาติ หมวดเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 110.5 และ 25.8 ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าด้านยอดค้ายานพาหนะใหม่ เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.7
อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือสินค้าประเภทยาสูบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลง โดย ณ วันที่ 20 เม.ย. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,566.28 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 36,101 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ จากความกังวลของนักลงทุนประเด็นความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี หลังจากที่ทั้งฝ่ายสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ ยังมีท่าทีที่ไม่ชัดเจนว่าจะจัดการกับความขัดแย้งในครั้งนี้ได้อย่างไร โดยระหว่างวันที่ 17 - 20 เม.ย. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 3,208.52 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับลดลง 1-5 bps โดยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 ปีที่มีการประมูลในสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้สนใจถึง 2.00 เท่าของวงเงินประมูล และในระหว่างวันที่ 17 - 20 เม.ย. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 4,946 ล้านบาท ผลจากการครบอายุของพันธบัตรถึง 11,120 ล้านบาท
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 20 เม.ย. 60 เงินบาทปิดที่ 34.31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.63 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับทิศทางของค่าเงินสกุลหลักและเงินสกุลภูมิภาคแทบทุกสกุล ไม่ว่าจะเป็นเงินเยน ยูโร ริงกิตมาเลเซีย วอนเกาหลี เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ในขณะที่เงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินหยวนอ่อนค่าลงเล็กน้อย จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.57
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th