รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 24 - 28 เมษายน 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 2, 2017 14:42 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 60 กลับมาขยายตัวอีกครังที่ร้อยละ 9.2 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวในระดับสูงและเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 19.3
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 60 ปีงปม. 60 พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -47.0 พันล้านบาท
  • การเบิกจ่ายงบประมาณรวม เบิกจ่ายได้ทังสิน 223.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -13.8 ต่อปี
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 163.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -11.8 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค. 60 หดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับตัวเพิ่มขึนจากระดับ 86.2 ในเดือนก่อนหน้า
  • ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มี.ค. 60 หดตัวที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 60 มีจำนวน 33,482 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 40.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีของก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 60 มีจำนวน 51,319 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี
  • GDP ไต้หวันไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP เกาหลีใต้ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี
Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 60 มีมูลค่า 20,887.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดในรอบ 4 ปี กลับมาขยายตัวอีกครังที่ร้อยละ 9.2 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.8 จากการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าเชื้อเพลิงที่ ร้อยละ 44.9 รวมถึงสินค้าเกษตรกรรมที่ขยายตัวในระดับสูงเช่นกันที่ร้อยละ 21.8 ตามการขยายตัวดีของสินค้ายางพารา เป็นสำคัญ นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว อีกครั้งที่ร้อยละ 8.7 ตามการขยายตัวดีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ อย่างไรก็ตาม สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรยังคงหดตัวที่ร้อยละ -7.9 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 และปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 1.1 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9

มูลค่าการนำเข้าในเดือน มี.ค. 60 มีมูลค่า 19,270.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวในระดับสูงและเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 19.3 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.4 จากการขยายตัวดีในเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 71.9 และ 21.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ สินค้าทุน และสินค้ายานยนต์ขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 11.7 และ 4.9 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคกลับมาหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -3.5 ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.1 และปริมาณการนำเข้าสินค้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 6.3 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.8 ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน มี.ค. 60 เกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 60 ปีงปม. 60 พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -47.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 18.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -28.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ ดุลเงินงบประมาณในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 60 ขาดดุลจำนวน -576.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -18.8 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -595.3 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 295.6 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุล -299.7 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 141.6 พันล้านบาท

Economic Indicators: This Week

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมี.ค. 60 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทั้งสิน 223.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -13.8 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 204.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -9.1 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 153.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -14.7 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 51.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 14.9 พันล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 6.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 60 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,452.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 53.2 ของวงเงินงบประมาณ (2,733.0 ล้านล้านบาท)

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมี.ค. 60 ได้จำนวน 163.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -11.8 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ต่อปี ขณะที่ภาษีฐานการบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปี ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 1,039.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -3.6 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 6.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7 ของประมาณการเอกสารงบปม.

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน มี.ค. 60 มีมูลค่า 63,205 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล โดยมูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายภายในประเทศกลับมาหดตัวที่ร้อยละ -2.2 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 16.1 ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริงขยายตัวที่ร้อยละ 3.4

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มี.ค. 60 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -9.8 ต่อปี แต่ขยายตัวได้ร้อยละ 4.2 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 60 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -10.1 ต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.1 ต่อไตรมาส หลังขจัดผลทางฤดูกาล

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญขยายตัวร้อยละ 28.2 จากผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากในเดือนนี้ รวมทั้งผลผลิตฤดูกาลใหม่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 1.7 และหมวดประมงสะท้อนจากผลผลิตกุ้งขาวไดนาไม ขยายตัวร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 60 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวได้ร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 โดยขยายตัวได้ในหมวดพืชผลสำคัญ (ร้อยละ 12.0) จากราคายางพารา และราคาปาล์มน้ำมันเป็นสำคัญ ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และหมวดประมง (ร้อยละ 18.0) ตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ราคาในหมวดปศุสัตว์หดตัว (ร้อยละ -7.9) ตามต้นทุนราคาอาหารสัตว์ที่ถูกลง ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 60 ดัชนีราคาผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวได้ร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค. 60 หดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.1 โดยหดตัวจากการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก จากการผลิตเพื่อส่งออกไปตะวันออกกลางลดลงตามการกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษ ขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตขยายตัว อาทิ การผลิตฮาร์ดิสก์ไดรฟ์ ที่มีการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองการจัดงานคอมมาร์ต และการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียม จากที่มีการปิดซ่อมแซมโรงกลั่นก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรกของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับตัวเพิ่มขึนจากระดับ 86.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งผลิตสินค้าเพื่อรองรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเพื่อชดเชยวันทำงานในเดือนเมษายนที่น้อยกว่าปกติ กอปรกับราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นในหลายสินค้าช่วยส่งผลดีต่อบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 99.0 จาก 100.9 ในเดือนก่อนหน้า จากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และประเด็นด้านความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ระดับ 87.0 และ 100.1 ตามลำดับ โดยมีทิศทางลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มี.ค. 60 หดตัวที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศหดตัวที่ร้อยละ -0.8 และคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -7.2 ต่อไตรมาสหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 60 มีจำนวน 33,482 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 40.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีของก่อน ขยายตัวชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 49.8 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล อันเป็นผลจากการที่ค่ายรถยนต์ได้เปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ในต้นปีที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยฐานที่ต่ำจากการชะลอการซื้อรถยนต์หลังมีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ในช่วงต้นปี 59 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวที่ร้อยละ 23.5

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 60 มีจำนวน 51,319 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปีและคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามการขยายตัวของยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปี หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 60 การจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อไตรมาสหลังขจัดผลทางฤดูกาล

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

ยอดขายบ้านมือสอง เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ 5.08 ล้านหลัง (annual rate) หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อน จากยอดขายทั้งบ้านเดี่ยวและคอนโดมีเนียมที่ขยายตัวดี ขณะที่ราคากลางบ้านมือสองอยู่ที่หลังละ 2.36 แสนดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.6 จากราคาทั้งบ้านเดี่ยวและคอนโดมีเนียมที่เพิ่มขึ้นมาก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 120.3 จุด ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 18 ปีที่ 124.9 จุด (ตัวเลขปรับปรุง) โดยดัชนีสถานการณ์ปัจจุบันและดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจปรับลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง

Japan: improving economic trend

ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 60 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 60 ทรงตัวที่ร้อยละ 2.8 ของกำลังแรงงานรวม เป็นเดือนที่ 2 อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 ชะลอลงอยู่ที่ ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อน ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวเร่งขึนที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบกว่า 2 ปี

Eurozone: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 56.8 สูงสุดในรอบ 6 ปี และดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 56.2 สูงสุดในรอบ 6 ปี สอดคล้องกับดัชนี PMI รวม เดือน เม.ย. ที่อยู่ที่ระดับ 56.7 สูงสุดในรอบ 6 ปีเช่นกัน เนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจใหม่และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ -3.6 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -5.0 จุด และเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 60 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้ง 3 ประเภท และยังคงวงเงินมาตรการ QE ที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโรจนถึงเดือน ธ.ค. 60

UK: worsening economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยที่ยอดค้าปลีกในเกือบทุกหมวดชะลอตัวลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 60 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ -7.0 จุด จากระดับ -6.0 จุดในเดือนก่อนหน้า

Hong Kong: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ -0.1 ในเดือนก่อน การส่งออก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 16.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.2 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง

Taiwan: improving economic trend

GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปี 59 ที่ร้อยละ 1.5 มาก ส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานต่ำ อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 60 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม เป็นเดือนที่ 5 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในเดือนก่อน

South Korea: improving economic trend

GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และชะลอลงเล็กน้อยจากอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปี 59 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.8 หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อน ผลจากการบริโภคและส่งออกที่ดีขึ้น ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

Singapore: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 32 เดือน ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เท่ากับเดือนก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 จากช่วงก่อนหน้าที่หดตัว

Australia: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 1 ปี 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 60 สินค้าในหมวดสุราและบุหรี่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

India: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 6.5 ในเดือนก่อน

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงเล็กน้อยและแกว่งตัวในกรอบแคบ โดย ณ วันที่ 27 เม.ย. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,566.77 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายค่อนข้างเบาบาง เฉลี่ยทั้งสัปดาห์เพียง 39,999.52 ล้านบาท จากแรงขายของนักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ โดยที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ โดยนักลงทุนจับตามองประเด็น 1) ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรปและญี่ปุ่น 2) แผนปฏิรูปภาษีของทรัมป์3) ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ GDP สหรัฐฯ ที่จะประกาศคืนวันที่ 28 เม.ย. 60 และ 4) ประเด็นเพดานหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ทังนี ระหว่างวันที่ 24 - 27 เม.ย. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 132.19 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลงเล็กน้อยในพันธบัตรระยะสัน และเพิ่มขึน 1-14 bps ในพันธบัตรระยะปานกลางถึงยาว โดยการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันและพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล 1.68 และ 1.13 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ และในระหว่างวันที่ 24 - 27 เม.ย. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,953.95 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการครบอายุของพันธบัตรถึง 1,300 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังจากแข็งค่าขึนต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 27 เม.ย. 60 เงินบาทปิดที่ 34.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.40 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับเงินเยนที่อ่อนค่าลงถึงร้อยละ 2.08 จากสัปดาห์ก่อน ในขณะที่เงินสกุลในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้น ทั้งริงกิต วอน ดอลลาร์ สิงคโปร์ รวมทั้งดอลลาร์สหรัฐ จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ 0.39

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ