Executive Summary
- เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 86.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.5 ในเดือนก่อนหน้า
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,166.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.3 ของ GDP
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 2.83 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 25,493 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีของก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 37,774 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 60 คิดเป็น 1.78 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน เม.ย. 60 หดตัวที่ร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.7 แสนคน
- GDP ฮ่องกง ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP มาเลเซีย ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.0 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ตามการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและราคาสินค้าในตลาดโลก นอกจากนี้ การลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 9.7 สำหรับในด้านการผลิต ได้รับอานิสงส์จากสาขาเกษตรกรรมที่ขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 7.7 จากการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตสินค้าเกษตรกรรมและราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี สนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นแรงกระตุ้นในการจับจ่ายใช้สอย ส่งผลให้สาขาการค้าส่ง ค้าปลีก ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.9
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 86.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.5 ในเดือนก่อนหน้า จากปัจจัยด้านวันหยุดยาวหลายวันในเดือนเม.ย. ที่ส่งผลต่อภาคการผลิต รวมทั้งจากความกังวลด้านต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับปกติที่ 100.0 จากระดับ 99.0 ในเดือนก่อนหน้า จากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และการฟื้นตัวของภาคการส่งออก
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน มี.ค. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,166.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.3 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 76.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน (คิดเป็นร้อยละ 96.9 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นหนี้ในประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 94.9 ของยอดหนี้สาธารณะ)
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 2.83 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวน 1.40 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจากฮ่องกง รัสเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ในขณะที่จีนยังคงหดตัว ส่งผลให้ 4 เดือนแรกปี 60 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 12.02 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศแล้วประมาณ 6.21 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 25,493 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีของก่อน ขยายตัวชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 40.9 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -6.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลเนื่องจาก ในเดือนนี้เริ่มไม่ได้รับผลจากปัจจัยฐานที่ต่ำจากการชะลอซื้อรถยนต์หลังปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในปี 59 ทั้งนี้ ใน 4 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวที่ร้อยละ 34.6
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 37,774 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี และคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 10.8 ต่อปี แต่คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -27.1 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 60 การจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 ต่อปี
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 60 คิดเป็น 1.78 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน เม.ย. 60 หดตัวที่ร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -2.6 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี
การจ้างงานเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ 37.1 ล้านคน ลดลง 1.4 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลง 1.1 ล้านคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -11.4 ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรกรรมมีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 6.9 แสนคน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 รวมถึงการจ้างงานภาคบริการที่มีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน 2.9 แสนคน ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.7 แสนคน
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน เม.ย.60 เพิ่มขึ้น 2.11 แสนตำแหน่ง เพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นเพียง 7.9 หมื่นตำแหน่ง จากภาคนันทนาการ การศึกษาและสาธารณสุข และภาคบริการทางธุรกิจเป็นหลักขณะที่อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังอยู่ที่ร้อยละ 62.9 ของประชากรวัยแรงงาน ลดลงจากเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงานรวม ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายรถยนต์ชะลอตัวลงมาก อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน ผลจากราคาหมวดขนส่ง
การส่งออก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงมากจากเดือนก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนเช่นกัน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงมากจากเดือนก่อน ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 10.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาส 4 ปี 60 แต่หากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวจากไตรมาสก่อนต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ที่ร้อยละ 0.5
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวด ขณะที่ยอดขายยานพาหนะใหม่ เดือน เม.ย. 60 หดตัวร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายยานพาหนะประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลหดตัวสูง อัตราว่างงาน เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.9 ต่อกำลังแรงงานรวม
GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อน
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน การส่งออกและการนำเข้า เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.1 และ 13.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้เกินดุลการค้า 30.9 พันล้านยูโร
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงมากจากเดือนก่อน ดุลการค้า เดือน เม.ย. 60 ขาดดุล 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 23.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เกินดุล 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากหมวดอะไหล่และส่วนประกอบและหมวดอาหาร การส่งออกและนำเข้า เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.6 และ 10.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ชะลอลงจากเดือนก่อนทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน จากการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนที่เร่งขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 3.3 ต่อกำลังแรงงานรวม อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน
GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนที่ชะลอลง การส่งออกและนำเข้า เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 21.0 และ 24.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว การส่งออกและนำเข้าเดือน เม.ย. 60 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.2 และ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออกและนำเข้า เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 25.5 และ 14.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1.4 หมื่นล้านปอนด์ ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยหมวดสินค้าทุนขยายตัวสูง ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์และแกว่งตัวในกรอบแคบ โดย ณ วันที่ 18 พ.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,545.88 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 45,984.30 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศ โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ส่งผลกระทบต่อหลักทรัพย์ในกลุ่มดังกล่าว ขณะที่ตลาดยังคงจับตามองปัจจัยการเมืองในสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงและอาจนำไปสู่การถอดถอนประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 พ.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 1,393.88 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงเล็กน้อยทุกช่วงอายุ ประมาณ 1-7 bps เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ส่วนหนึ่งจากการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 20 ปี ที่มีผู้สนใจประมูลถึง 1.56 1.10 และ 1.63 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ โดยระหว่างวันที่ 15 - 18 พ.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,199.58 ล้านบาท
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 18 พ.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 34.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.80 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับเงินสกุลหลักและสกุลภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าในอัตราที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ 0.32
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th