รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 5 - 9 มิถุนายน 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 12, 2017 15:53 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 64.3
  • จีดีพีของออสเตรเลียขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • จีดีพีของญี่ปุ่น(ตัวเลขปรับปรุงขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • จีดีพีของสหภาพยุโรปขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกของสหรัฐ เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.9 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 47.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • การส่งออกของจีน เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 14.6 ดุลการค้าเกินดุล 40.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนี PMI ภาคบริการของอังกฤษ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด
Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 64.3 ลดลงจากระดับ 65.4 ในเดือนก่อน ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดยังขยายตัวได้ต่ำ

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 47.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน พ.ค. 60 เพิ่มขึ้น 1.38 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงเล็กน้อย และอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงาน เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 62.7 ของประชากรวัยแรงงาน ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคบริการ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 56.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อใหม่และหมวดราคาที่ปรับลดลงมาก

Japan: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 60 เพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ระดับ 53.0 จุด จากระดับ 52.2 จุด ในเดือนก่อน บ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการติดต่อกัน 8 เดือน GDP ไตรมาส 1 ปี 60 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ชะลอลงจากร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อน

Eurozone: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 56.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 56.4 จุด ส่งผลให้ดัชนี PMI รวม เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 56.8 จุด เท่ากับเดือนก่อน ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ได้แก่ การส่งออกและการลงทุน เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 60 ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี

China: mixed signal

การส่งออก เดือน พ.ค.60 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึนจากร้อยละ 4.2 ในเดือนก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่การนำเข้าเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 14.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยได้รับอานิสงค์จากการนำเข้าเหล็กและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น ดุลการค้าเกินดุล 40.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น

UK: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.8 จุด ขณะที่ดัชนี PMI ภาคก่อสร้าง เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 56.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด

India

ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 52.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นของธุรกิจใหม่และอุปสงค์ภาคบริการที่สูงขึ้น เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 60 ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 6.25 ต่อปี

Taiwan: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อน มูลค่าส่งออกเดือน พ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ในขณะที่ การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.2 ชะลอตัวจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ASEAN: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด ชะลอลงลงจากเดือนก่อน แต่ยังมากกว่าระดับ 50.0 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

Malaysia: mixed signal

การส่งออก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 20.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า

Philippines: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากราคาสินค้าเกือบทุกหมวด การส่งออกเดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกสินค้าหลัก เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัว ในขณะที่การนำเข้าหดตัวครั้งแรกในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ -0.1 ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน อัตราการว่างงาน ไตรมาส 2 ปี 60 อยู่ที่ระดับ 5.7 ต่อกำลังแรงงานรวม

Australia: mixed signal

GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 การส่งออก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 19.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะตัวลงจากร้อยละ 34.8 ในเดือนก่อน และต่ำสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากการส่งออกถ่านหินชะลอลง ในขณะที่การนำเข้า เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากร้อยละ 12.6 ในเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET เคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดย ณ วันที่ 8 มิ.ย. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,570.28 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 42,902.25 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยนักลงทุนจับตามองสถานการณ์ในตะวันออกกลางโดยเฉพาะประเด้นชาติอาหรับที่ตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ ว่าจะส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกต่อไปหรือไม่ ทังนี ระหว่างวันที่ 5 - 8 มิ.ย. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 32.78 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ ประมาณ 1-11 bps โดยพันธบัตรระยะกลางที่ปรับลดลงสูงสุด ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 วันและพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปีมีนักลงทุนสนใจถึง 5.57 เท่า และ 1.97 ของวงเงินประมูล ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันที่ 5 มิ.ย. - 8 มิ.ย. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 10.55 พันล้านบาท หลังจากที่ไหลเข้ามามากในช่วงก่อนหน้านี้

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 8 มิ.ย. 60 เงินบาทปิดที่ 34.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.23 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับเงินสกุลหลัก ได้แก่ เงินเยน ยูโร ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ในขณะที่เงินวอนอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่แข็งค่าในอัตราที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ 0.18

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ