Executive Summary
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ค. 60 มีจำนวน 3.01 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.8
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 60 กลับมาหดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 2 ปี 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP มาเลเซีย ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของสหราชอาณาจักร เดือน มิ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อกำลังแรงงานรวม
- การส่งออกของสิงคโปร์ เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 15.9 ทำให้เกินดุลการค้าที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ค. 60 มีจำนวน 3.01 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่อปี แผ่วลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยหดตัวร้อยละ -1.7 ต่อเดือน ส่วนหนึ่งเนื่องจากการเหลื่อมเดือนของเทศกาลฮารีรายอของชาวมุสลิม อย่างไรก็ดี ในเดือน ก.ค. 60 มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวน 1.56 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจากจีน อินเดีย รัสเซีย และเกาหลี เป็นหลัก ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 60 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศทั้งสิ้น 20.41 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศแล้ว 1.03 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 60 กลับมาหดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัว ร้อยละ -2.7 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปี
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีส่วนสำคัญมาจากยอดค้าปลีกในหมวดยานยนต์และส่วนประกอบที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดพลังงานขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจาก ร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า การส่งออก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือนก่อนหน้า การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 15.5 ในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4.0 แสนล้านเยน
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ทรงตัวจากเดือนก่อน ด้านการส่งออก เดือน มิ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเกินดุลการค้าใน เดือน มิ.ย. 60 ที่ 2.7 หมื่นล้านยูโร
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อน อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อกำลังแรงงานรวม ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
การส่งออก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้เกินดุลการค้าที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
การส่งออก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 41.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัวในเดือนก่อน การนำเข้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 54.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัวในเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ด้านอัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 60 ทรงตัวที่ระดับ 3.4 ต่อกำลังแรงงานรวม
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 60 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม
อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้ายานพาหนะใหม่ เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 56.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.0 จุด และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือภาคบริการ เดือน ก.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 56.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.8 จุด
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนในเดือนก่อนหน้าและต่ำสุดในรอบ 7 เดือนผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากเดือนก่อน
ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางกับตลาดหุ้น Dow Jones ที่ปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 17 ส.ค. 60 ปิดที่ระดับ 1,568.95 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 40,535 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 17 ส.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติซือหลักทรัพย์สุทธิ 817 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-10 bps โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 10 bps สอดคล้องกับกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 15 ส.ค. - 17 ส.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -11,821 ล้านบาท
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาททรงตัว โดย ณ วันที่ 17 ส.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 33.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน ขณะที่เงินสกุลหลักอื่น ๆ โดยมากแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อาทิ เยน ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน อย่างไรก็ตาม ยูโรและวอนอ่อนค่าลงมากกว่าที่เงินสกุลอื่นแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.06
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th