เอกสารแนบ
“เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2560 ได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 10.4 ต่อปี ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากการ บริโภคและการลงทุนโดยเฉพาะจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยด้านการผลิต พบว่าดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ยังคง เติบโตได้ดี”
1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดี สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกรกฎาคม 2560 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันที่ร้อยละ 10.0 ต่อปี สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือนกรกฎาคม 2560 หดตัว ที่ร้อยละ -2.3 ต่อปี ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -15.6 ต่อปี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 62.2 เนื่องจากความกังวลปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะราคายางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพด เลี้ยงสัตว์
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน 2558 2559 2560 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy) -19.1 -6.5 38.7 13.9 15.6 10.0 22.6 %qoq_SA / %mom_SA 19.1 1.2 7.7 -6.1 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -0.2 5.5 3.2 8.3 -2.6 n.a. 5.8 %qoq_SA / %mom_SA 2.9 5.3 -8.5 n.a. ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy) 2.2 2.2 0.3 3.2 2.1 1.6 1.7 %qoq_SA / %mom_SA 4.7 1.3 -5.9 -1.4 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.) -9.7 -0.5 16.8 17.7 9.2 -2.3 14.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 64.7 62.2 64.2 64.4 63.4 62.2 64.0
2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้นจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัว ต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนกรกฎาคม 2560 กลับมา ขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.0 ต่อเดือน จากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 25.5 ต่อปี ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายใน ประเทศในเดือนกรกฎาคม 2560 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนกรกฎาคม 2560 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการ เพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นร้อยละ 9.4
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน 2558 2559 2560 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy) -1.0 -2.0 5.3 2.2 -0.5 5.8 6.0 %qoq_SA / %mom_SA 10.7 0.7 -5.8 0.0 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy) -2.2 -4.0 1.2 9.9 7.2 7.8 5.7 %qoq_SA / %mom_SA 2.4 0.8 -4.1 2.3 เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy) -0.4 -1.6 0.5 -1.6 1.3 -0.5 -0.5 %qoq_SA / %mom_SA 3.3 -4.4 4.4 -2.7 - ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง -5.1 -2.7 2.0 -1.0 -0.7 1.7 0.6 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy) 8.7 -2.5 -9.7 -8.4 21.3 25.5 -5.3 %qoq_SA / %mom_SA -2.3 1.6 11.6 -10.6
3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนกรกฎาคม 2560 เบิกจ่ายได้จำนวน 256.8 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน จำนวน 251.7 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายประจำ 227.0 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 24.7 พันล้านบาท
เครื่องชี้ภาคการคลัง FY 2559 FY2560 (พันล้านบาท) กรอบวงเงิน Q1/FY60 Q2/FY60 Q3/FY60 ก.ค. FYTD งปม. 2560 รายจ่ายรัฐบาลรวม 2,807.40 3,199.20 969.1 636.6 651.8 256.8 2,514.20 (%y-o-y) 7.9 8.8 -6.4 -3.8 39.4 3.3 รายจ่ายปีปัจจุบัน 2,578.90 2,923.00 876.1 576.7 624.8 251.7 2,329.30 (%y-o-y) 8.4 8.5 -4.6 -2.2 42.9 4.6 รายจ่ายประจำ 2,214.10 2,340.40 783.9 477.8 541.2 227 2,030.00 (%y-o-y) 5.1 6.0 -6.1 0.7 47.5 4.6 รายจ่ายลงทุน 364.9 582.6 92.2 98.8 83.5 24.7 299.2 (%y-o-y) 34.4 35.4 3.9 -17.7 11.2 4.3 รายจ่ายปีก่อน 228.5 276.0 93.0 59.9 27.0 5.0 185.0
4. อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยการมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนกรกฎาคม 2560 มีมูลค่า 18.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี ทั้งนี้ หมวดสินค้าสำคัญที่สนับสนุนการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2560 ได้แก่ เกษตรกรรม ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสำคัญ ขณะที่ประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ จีน CLMV และสหรัฐอเมริกา เป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2560 มีมูลค่า 19.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี โดยกลุ่มสินค้าที่สนับสนุนการขยายตัวของการนำเข้า ได้แก่ วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน เชื้อเพลิง และสินค้า อุปโภคบริโภค เป็นสำคัญ ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าที่ฟื้นตัวและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม 2560 ขาดดุลจำนวน -0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ 2558 2559 2560 (สัดส่วนการส่งออกปี 58 >> 59 ) Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy) -5.8 0.5 4.9 10.9 11.7 10.5 8.2 1.สหรัฐฯ (11.2% >> 11.4%) 0.7 1.8 7.4 7.0 8.2 11.6 7.8 2.จีน (11.1% >> 11.1%) -5.4 0.3 36.5 26.0 29.9 29.2 30.9 3.ญี่ปุ่น (9.4% >> 9.5%) -7.6 2.1 -2.5 20.1 26.5 9.1 8.1 4.สหภาพยุโรป (9.3% >> 9.3%) -5.7 1.0 9.2 5.5 5.9 8.3 7.5 5.มาเลเซีย (4.8% >> 4.5%) -20.2 -5.5 -3.6 7.5 19.0 4.2 2.0 6.ฮ่องกง (5.5% >> 5.3%) -6.2 -3.0 6.3 13.0 9.6 -4.1 7.6 7.ตะวันออกกลาง (4.8% >> 4.2%) -10.1 -12.2 -19.7 4.6 9.8 17.8 -5.4 8.ทวีปออสเตรเลีย (5.3% >> 5.6%) 5.2 5.6 -0.4 -2.0 -9.6 -11.3 -2.8 9.สิงคโปร์ (4.1% >> 3.8%) -16.2 -6.0 -20.2 34.0 23.2 13.6 3.8 10.อินโดนีเซีย (3.7% >> 3.8%) -17.7 4.5 -9.3 22.1 48.9 3.1 4.9 11.แอฟริกา (3.2% >> 2.9%) -20.3 -8.5 -0.4 2.9 7.2 36.0 5.6 12.เวียดนาม (4.2% >> 4.4%) 13.0 5.8 23.4 26.0 27.2 31.3 25.7 13.ฟิลิปปินส์ (2.8% >> 3.0%) 2.2 6.8 0.6 6.2 9.2 17.8 5.1 14.อินเดีย (2.5% >> 2.4%) -5.6 -2.6 18.3 13.3 11.0 18.0 16.0 15.เกาหลีใต้ (1.9% >> 1.9%) -9.2 -0.7 24.2 24.2 29.7 16.7 23.1 16.ไต้หวัน (1.6% >> 1.6%) -12.0 -4.5 15.9 22.1 23.7 19.6 19.3 PS.อาเซียน-9 (25.7% >> 25.4%) -7.2 -0.7 0.0 15.0 20.1 12.3 7.8 PS.อาเซียน-5 (15.3% >> 15.0%) -15.1 -1.1 -8.9 17.2 24.6 8.8 3.8 PS.อินโดจีน-4 (10.4% >> 10.3%) 7.7 0.0 15.3 11.8 13.8 17.6 14.1
5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านการผลิตได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรใน เดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีของผลผลิตทั้ง 3 หมวด ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญขยายตัวร้อยละ 20.4 โดยผลผลิตที่ขยายตัวดี ได้แก่ มันสำปะหลัง กลุ่มไม้ผล ได้แก่ ลำไย เงาะ และมังคุด ตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมทั้งผลผลิตข้าวเปลือกที่ ได้รับอานิสงส์จากการเหลื่อมเดือนเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวตั้งแต่ฤดูกาลก่อนหน้า หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 5.2 หมวดประมงขยายตัวร้อยละ 16.4 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -15.6 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวของราคาในหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ซึ่งปัจจัยหลักมาจากราคาข้าวขาวที่หดตัวตามการแข่งขันด้านราคาของประเทศเวียดนาม รวมถึงราคา ข้าวโพดที่ราคาลดลงตามการใช้ข้าวสาลีเพื่อทดแทนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และราคาปาล์มน้ำมันที่มีอุปสงค์ต่ำตามปริมาณสต๊อกที่สูงของประเทศผู้นำเข้าเป็นสำคัญ สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2560 มีจำนวน 3.0 ล้านคน ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี แต่แผ่วลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการเหลื่อมเดือนของ เทศกาลฮารีรายอของชาวมุสลิม อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากประเทศจีน ลาว กัมพูชา เกาหลี อินเดีย เวียดนาม และรัสเซีย เป็นหลัก ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2560 มีรายได้ จากการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ 1.56 แสนล้านบาท ขยายตัว 6.2 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 83.9 ปรับตัวลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 84.7 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับกำลังซื้อภายในประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ส่วนภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดภาวะน้ำท่วม ประกอบกับมีความกังวลด้าน การขาดแคลนแรงงานจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการแข็งค่าของค่าเงินบาท
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน 2558 2559 2560 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy) -4.5 -1.9 5.5 19.2 14.4 15.4 11.7 %qoq_SA / %mom_SA -0.8 5.7 6.3 0.8 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 85.8 85.9 87 85.5 84.7 83.9 85.9 นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy) 20.7 8.9 1.7 7.6 11.4 4.8 4.5 %qoq_SA / %mom_SA 14.1 5.4 4.8 -1.7
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.17 ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักจากการปรับเพิ่มราคาค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ประกอบกับปัจจัยฐานสูงเกี่ยวกับราคาผักและผลไม้ในช่วงปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2560 อยู่ที่ ระดับร้อยละ 41.5 ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 190.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 3.5 เท่าเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ 2558 2559 2560 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD ภายในประเทศ เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -0.9 0.2 1.3 0.1 -0.05 0.17 0.6 เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy) 1.1 0.7 0.7 0.5 0.4 0.5 0.5 อัตราการว่างงาน (yoy%) 0.9 1.0 1.2 1.2 1.1 1.2 1.2 หนี้สาธารณะ/GDP 43.9 41.2 42.3 41.5 -41.5 n.a. 41.5 ภายนอกประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $) 32.1 46.4 15.2 8.3 4.3 n.a. 23.5 ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $) 156.5 171.9 180.9 185.6 185.6 190.4 190.4 ฐานะสุทธิ Forward (พันล้าน $) 11.7 25.8 26.6 30.8 31.3 30.8 30.8 ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า) 3.0 3.2 3.4 3.5 3.5 n.a. 3.5
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง