Executive Summary
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 60 เท่ากับ 105.7 ขยายตัวร้อยละ 3.2
- อัตราการว่างงานในเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทังหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.3 แสนคน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 60 เกินดุล 2,768 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ส.ค.60 อยู่ที่ระดับ 62.4
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 60 มียอดคงค้าง 16.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 60 มียอดคงค้าง 18.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากปีก่อนหน้า
- การส่งออกของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- การส่งออกของจีน เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 60 เท่ากับ 105.7ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นร้อยละ 16.1 ทั้งนี้ 8 เดือนแรกของ ปี 60 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี
การจ้างงานเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน ลดลง 8.6 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลง 6.3 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -4.9 รวมถึงการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานลดลงเช่นกัน 1.3 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.5 นอกจากนี้ การจ้างงานภาคบริการมีจำนวนการจ้างงานลดลงเช่นกัน 9.9 หมื่นคน คิดเป็นการหดตัวอีกครั้งที่ร้อยละ -0.6 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทังหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.3 แสนคน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 60 เกินดุล 2,768 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 4,283 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้าที่เกินดุล 1,344 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนจากมูลค่าการส่งออกและนำเข้า (ตามระบบ BOP) ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 1,424 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกปี 60 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 26,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ส.ค.60 อยู่ที่ระดับ 62.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 62.2 ในเดือนก่อน เป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคคาดหวังว่าเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับการลงทุนของภาครัฐที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี อยู่ที่ระดับ 63.8 ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปี 59 ที่อยู่ที่ระดับ 62.2
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 60 มียอดคงค้าง 16.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น และเมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ด้านสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 60 มียอดคงค้าง 18.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าหรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.5 ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Global Economic Indicators: This Week
การส่งออก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ด้านการนำเข้า เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 60 ขาดดุลอยู่ที่ 7.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ส.ค. 60 เพิ่มขึ้น 1.56 แสนคน จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 58.8 จุดปรับตัวสูงขึ้นจากที่ระดับ 56.3 จุดในเดือนก่อนหน้า ยอดขายรถยนต์นั่งในประเทศ เดือน ส.ค. 60 หดตัวร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายรถบรรทุกหดตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.4 จุด ด้านดัชนี PMI รวม เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 55.7 จุด ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 3.1 ในเดือนก่อน และลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.28 จากเดือนก่อนหน้า GDP ไตรมาส 3 ปี 60 (คาดการณ์) ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้าเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 60 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ซึ่งชะลอลงจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การขยายตัวชะลอลง ได้แก่ การบริโภคภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอลง
การส่งออก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าด้านการนำเข้า เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเกินดุลการค้า เดือน ส.ค. 60 ที่ 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.6 จุด อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 121.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 123.4 จุด
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.3 จุดการส่งออก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 30.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 21.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลการค้า 1.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐและเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 60 ธนาคารกลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.0 จุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยที่อัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับในหมวดอื่น ๆ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
การส่งออก เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าด้านการนำเข้า เดือน ส.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 14.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าและเกินดุลการค้า เดือน ส.ค. 60 ที่ 7.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่2 ขยายตัวร้อยละ 0.8 จากปีก่อนหน้า ขยายตัวเพิ่มจากไตรมาสที่แล้ว การส่งออก เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 19.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ด้านการนำเข้า เดือน ก.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 60 เกินดุลอยู่ที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ส.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด
ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะดัชนีหุ้นในสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ในช่วงต้นสัปดาห์ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากประเด็นการขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ กรณีภัยพิบัติเฮอริเคนในสหรัฐฯ รวมถึงความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 7 ก.ย. 60 ปิดที่ระดับ 1,632.66 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 4-7 ก.ย. 60 ที่ 51,840 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ ทังนี ระหว่างวันที่ 4-7 ก.ย. 60 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 1,847 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุลดลง 1-8 bps โดยที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยาวลดลงมากที่สุด ซึ่งในสัปดาห์นี้มีการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน และ 364 วัน มีนักลงทุนสนใจถึง 2.29 เท่า และ 6.22 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ รวมถึงการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20.59 ปีที่มีนักลงทุนสนใจถึง 3.38 เท่าของวงเงินประมูล ทังนีระหว่างวันที่ 4-7 ก.ย. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 48,557 ล้านบาท
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 7 ก.ย. 60 เงินบาทปิดที่ 33.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ ที่แข็งค่าขึ้นเช่นกัน ยกเว้นวอน อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ 0.52
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th