รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 6, 2017 15:46 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. 60 ปี งปม. 60 เบิกจ่ายได้ 211.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -2.1 ต่อปี
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 60 ได้จำนวน 224.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปี
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 60 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 52.0 พันล้านบาท
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,369.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.3 ของ GDP
  • ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ย. 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ก.ย. 60 มีมูลค่า 63,341 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.3 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 60 เท่ากับ 106.8 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 60 ของสหรัฐฯ (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 ของสหราชอาณาจักร (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)
Economic Indicators: This Week

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. 60 ปี งปม. 60 เบิกจ่ายได้ 211.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -2.1 ต่อปีโดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 199.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.8 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 149.2 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.0 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 50.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 13,492 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 8,033 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 5,975 ล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณ 2560 สามารถเบิกจ่ายได้ 2,686.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 91.9 ของวงเงินงบประมาณ (2,923.0 พันล้านบาท)

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 60 ได้จำนวน 224.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปี โดยการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่ภาษีฐานการบริโภคลดลงร้อยละ -0.7 ต่อปี ทำให้ในปีงบประมาณ 2560 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 2,350.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.8 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 7.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของประมาณการเอกสารงบปม.

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 60 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 52.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 66.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 118.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ ดุลเงินงบประมาณของปีงบประมาณ 60 ขาดดุลทั้งสิ้น -541.7 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 71.3 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -470.5 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 552.9 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้เกินดุล 82.5 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 523.8 พันล้านบาท

Economic Indicators: This Week

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,369.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.3 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 94.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน คิดเป็นร้อยละ 96.5 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 95.3 ของยอดหนี้สาธารณะ

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ย. 60 ขยายตัวที่ ร้อยละ 3.2 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า หดตัวร้อยละ -4.0 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในไตรมาส 3 ของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 9.8 ต่อไตรมาส หลังปรับผลทางฤดูกาล

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ก.ย. 60 มีมูลค่า 63,341 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ 5.6 ต่อเดือน หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยแบ่งเป็นมูลค่าการจัดเก็บภาษีจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี สอดคล้องกับการนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี ขยายตัวได้ดีขึ้นจาก ไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.3 ต่อปี และขยายตัว ร้อยละ 2.2 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ของปี 60 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 12.3 ต่อปี

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 เช่นกัน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยหมวดการผลิตที่ขยายตัว อาทิ การผลิตในหมวดยานยนต์ อาหาร ยางและพลาสติก และฮาร์ดดิสไดร์ฟ โดยได้รับอานิสงส์จากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ รวมถึงการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ดี หมวดการปั่น การทอ และหมวดเครื่องนุ่งห่มมีการผลิตหดตัวในเดือน ก.ย. 60 เนื่องจากมีการนำเข้ามีต้นทุนที่ถูกกว่า ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 60 การผลิตขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 60 เท่ากับ 106.8 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นร้อยละ 18.7 ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของ ปี 60 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านยอดขายบ้านมือสอง เดือน ก.ย. 60 หดตัวร้อยละ -4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหดตัวต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 125.9 จุด สูงสุดในรอบ 16 ปีกว่าขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) ของ ISM เดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 58.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 60.8 จุด เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 60 ธนาคารกลางสหรัฐประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.00-1.25 ต่อปี

Eurozone: improving economic trend

เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 60 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปีCCI เดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ระดับ -1.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -1.2 จุด GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ซึ่งเร่งขึ้นจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 60 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)

Japan: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือนกันยายน 60 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือกนก่อนหน้า อัตราการว่างงาน เดือนกันยายน 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนกันยายน 60 ขายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากที่ระดับ 52.9 จุด

China: improving economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม Caixin เดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 51.0 ทรงตัวจากเดือนก่อน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมแบบทางการ เดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 51.6 ลดลงจากที่ระดับ 52.4 เดือนก่อน

UK: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ซึ่งชะลอลงจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 60 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)

Indonesia: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.4 จุด อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน

Vietnam: mixed signal

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 17.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

Malaysia: worsening economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.9 จุด

Singapore: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อน ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 14.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า

South Korea: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือนกันยายน 60 ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือกนก่อนหน้าผลผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราเงินเฟ้อ เดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.1

Australia ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.2 จุด แต่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ต.ค. ปี 60 อยู่ที่ระดับ 51.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีหมวดที่หดตัวคือสินค้าครัวเรือนและเสื้อผ้ารองเท้า

Taiwan: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เร่งขึนจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.1 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 53.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.2

Hong Kong: mixed signal

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 50.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.2 ยอดค้าปลีก เดือนกันยายน 60 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือกนก่อนหน้า

India: worsening economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. ปี 60 อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นและปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาสวนทางกับดัชนี MSCI AC Asia Pacific Index ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ดัชนี SET ณ วันที่ 2 พ.ย. 60 ปิดที่ระดับ 1,701.93 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. 60 ที่ 62,986 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 6,228 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 1-4 bps ในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 12,510 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.28 โดย ณ วันที่ 2 พ.ย. 60 เงินบาทปิดที่ 33.11 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ ยกเว้นเงินเยนและยูโรที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.29

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ