Fiscal Policy Office
For 4 - 8 Dec 2017
8 December 2017
Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 65.2
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 60 เท่ากับ 106.6 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 3 ปี 60 ของออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- การส่งออกของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- การนำเข้าของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 60.1 จุด
- ดัชนี PMI ภาคบริการของสหภาพยุโรป เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ ระดับ 56.2 จุด
- การส่งออกของจีน เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- การนำเข้าของจีน เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 18.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนี PMI ภาคบริการของสหราชอาณาจักร เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด
- ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 65.2 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 64.1 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ประกอบกับผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันและเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองในอนาคตน่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ราคาพืชผลทางการเกษตรโดยส่วนใหญ่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้กำลังซื้อทั่วไปในหลายจังหวัดทั่วประเทศขยายตัวในระดับต่ำและไม่คล่องตัว
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 60 เท่ากับ 106.6 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นร้อยละ 14.7 ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของ ปี 60 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี
Global Economic Indicators: This Week
การส่งออก เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านการนำเข้า เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 9 เดือน โดยที่การนำเข้าจากสิงคโปร์ขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 48.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าจากไทยขยายตัวร้อยยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ในเดือน ต.ค. 60 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าที่ 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 57.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 60.1 จุด
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 60.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.5 จุด ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 56.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.0 จุด ด้านดัชนี PMI รวม เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 57.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 51.9 จุด ด้านการส่งออก เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า การนำเข้า เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 18.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 60 เกินดุล 40.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.6 จุด
GDP ไตรมาส 3 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า การส่งออก เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า การนำเข้า เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ต.ค. 60 ขาดดุล 9.6 ร้อยล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.1 จุด อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 122.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 120.7 จุด
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 52.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.6 จุด สูงสุดในรอบ 43 เดือน ด้านการส่งออก เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 18.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าขณะที่ การนำเข้า เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 20.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า และเกินดุลการค้าใน เดือน ต.ค. 60 ที่ 11.8 หมื่นล้านริงกิต
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.6 จุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 60 ธนาคารกลางอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 6.00 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 50.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 51.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์และปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์สอดคล้องกับดัชนี MSCI AC Asia Pacific Index ดัชนี SET ณ วันที่ 7 ธ.ค. 60 ปิดที่ระดับ 1,703.37 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 4 - 7 ธ.ค. 60 ที่ 50,909 ล้านบาทต่อวัน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 ธ.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 4,590 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้น 1-3 bps โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว สอดคล้องกับกระแสเงินทุนไหลออกของนักลงทุนต่างชาติในวันที่ 7 ธ.ค. 60 ที่ไหลออกสุทธิ 5,935 ล้านบาท ซึ่งโดยมากมาจากพันธบัตรที่หมดอายุ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 ธ.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,784 ล้านบาท
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 0.02 โดย ณ วันที่ 7 ธ.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 32.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.23
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th