รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 18 - 22 ธันวาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 5, 2018 15:43 —กระทรวงการคลัง

Fiscal Policy Office

For 18 - 22 Dec 2017

22 December 2017

Executive Summary

Indicators this week
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ย. 60 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 87.0
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย.60 ขยายตัวร้อยละ 34.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ย. 60 หดตัว ร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย. 60 หดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.7
  • ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.20 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ย. 60 มีมูลค่า 21,434.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่ร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 จากการขยายตัวดี ทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าเกษตรกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 20.2 ตามการขยายตัวดีของข้าวและยางพาราเป็นสำคัญ รวมทั้งหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.3 ตามการขยายตัวดีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 2.0 ตามการกลับมาขยายตัวของสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และ น้ำตาลทรายเป็นสำคัญ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 11 เดือนของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 10.0

มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ย. 60 มีมูลค่า 19,671.7 mล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.5 จากการขยายตัวทุกหมวดสินค้าหลัก cโดยเฉพาะหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงที่ร้อยละ 20.6 รวมถึงหมวดสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวในระดับสูงเช่นกันที่ร้อยละ 14.5 ประกอบกับหมวดสินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.7 Maและ 15.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ สินค้ายานยนต์กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งที่ร้อยละ 5.5 ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในช่วง 11 เดือนของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 14.5 ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน พ.ย. 60 เกินดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปีและขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในช่วง 11 เดือนแรกของปี 60 ยังคงขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี

Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 87.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 85.9 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯที่เพิ่มขึ้นได้รับปัจจัยทั้งจากยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ซึ่งในเดือน พ.ย. พบว่า อุปสงค์ภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากการเพิ่มขึ้นของดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายภายในประเทศ อันเป็นผลมาจากมาตรการช็อปช่วยชาติ และการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นอกจากนี้ผู้ประกอบการมีการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับจำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ นอกจากนี้ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 102.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 103.3 ในเดือน ต.ค. จากความกังวลของผู้ประกอบการเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย. 60 มีจำนวน 31,435 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 34.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ซึ่งถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ตั้งแต่ต้นปี เป็นผลมาจากจากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และเศรษฐกิจภาพรวมที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ร้อยละ 21.7 ต่อปี

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 60 มีจำนวน 46,647 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปี และขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 11.0 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทำให้ 11 เดือนแรกของปี 60 การจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ย. 60 หดตัวร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -4.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรพบว่าหมวดประมงและหมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ -21.5 และร้อยละ -7.0 ตามลำดับ ขณะที่หมวดพืชผลสำคัญขยายตัวร้อยละ 0.9 โดยสินค้าสำคัญที่ผลผลิตหดตัว ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา สับปะรด สุกร และไข่ไก่

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย. 60 หดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยเป็นการหดตัวของราคาในหมวด ปศุสัตว์ร้อยละ -9.4 และหมวดพืชผลสำคัญร้อยละ -4.2 ในขณะที่ราคาในหมวดประมงขยายตัวร้อยละ 3.5 โดยสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ราคาสุกรจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการ ราคาปาล์มน้ำมันจากภาวะการค้ายังชะลอตัวและสต็อกน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูง ราคายางพาราจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นและภาวะการค้ายังชะลอตัวต่อเนื่อง และราคาไข่ไก่จากผลผลิตไข่ไก่ออก สู่ตลาดมาก ส่วนสินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และกุ้งขาว แวนนาไม

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7

Eurozone: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 0.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 0.1 จุด

Japan: mixed signal

ด้านการส่งออก เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 16.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า การนำเข้า เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 17.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และเกินดุลการค้าใน เดือน พ.ย. 60 ที่ 113 พันล้านเยน อัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน พ.ย. 2560 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.1

Taiwan: mixed signal

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน พ.ย. 2560 ธนาคารกลางไต้หวัน มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.375

Malaysia: worsening economic trend

อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 60 (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน

Singapore: mixed signal

ด้านการส่งออก เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าขณะที่ การนำเข้า เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 28.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า และเกินดุลการค้าใน เดือน พ.ย. 60 ที่ 4.4 พันล้านดอลล่าร์สิงคโปร์

Australia: worsening economic trend

ยอดขายยานพาหนะใหม่ เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 2.6

Hong Kong: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3 เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในเดือนก่อนหน้า

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยดัชนี SET ณ วันที่ 21 ธ.ค. 60 ปิดที่ระดับ 1,736.91 ตรงข้ามกับดัชนี MSCI AC Asia Pacific Index ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 18 - 21 ธ.ค. 60 ที่ 48,869 ล้านบาทต่อวัน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 18 - 21 ธ.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -2,016 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับลดลง 1-3 bps จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในสัปดาห์นี้ มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ที่มีนักลงทุนสนใจถึง 2.11 เท่าของวงเงินประมูล ระหว่างวันที่ 18 - 21 ธ.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 6,894 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.02 โดย ณ วันที่ 21 ธ.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 32.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้โดยรวมแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.39

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ