Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.68
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 60 เกินดุล 3,856 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ธ.ค. 60 ขยายตัว ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก รวมภายในประเทศเดือน ธ.ค. 60 หดตัวร้อยละ -8.8 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 60 ขยายตัว ร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 60 หดตัวร้อยละ -10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,371.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.8 ของ GDP
- GDP ไตรมาส 4 ปี 60 (เบืองต้น) ของสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 4 ปี 60 (เบืองต้น) ของยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 4 ปี 60 (เบืองต้น) ของไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.68 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการปรับตัวลดลงของราคาอาหารสด ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ และไข่และผลิตภัณฑ์นม ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ มีระดับทรงตัว มีเพียงราคาน้ำมันขายปลีกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.58 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 60 มียอดคงค้าง 17.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น และเมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าทั้งสินเชื่อเพื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นในอัตราที่เท่ากันที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 60 มียอดคงค้าง 18.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 60 เกินดุล 3,856 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 5,285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้า (ตามระบบ BOP) ที่เกินดุล 1,544 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน จากมูลค่าการส่งออกที่ชะลอลงเล็กน้อยขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 2,312 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากรายรับจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี ส่งผลให้ทั้งปี 60 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 49,279 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ธ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเมื่อกำจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวลดลงร้อยละ -2.6 จากเดือนก่อนหน้า ทำให้ MPI ไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดการผลิตสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีการขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ น้ำมันพืช และน้ำมันปิโตรเลียม ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวมทั้งปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ธ.ค. 60 หดตัวร้อยละ -8.8 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า หดตัวร้อยละ -11.7 ต่อเดือน ทั้งนี้ ปี 60 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ทำให้ในไตรมาส 4/60 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน ธ.ค. 60 หมวดพืชผลสำคัญและหมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 9.5 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ขณะที่หมวดประมงหดตัวร้อยละ -15.8 โดยสินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน กลุ่มผลไม้ ข้าวเปลือก ยางพารา สุกร ไก่ และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าสำคัญที่ผลผลิตหดตัว ได้แก่ มันสำปะหลัง และกุ้งขาวแวนนาไม
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 60 หดตัวร้อยละ -10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทำให้ในไตรมาส 4/60 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยราคาสินค้าในเดือน ธ.ค. 60 หดตัวในทุกหมวด ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญหดตัว ร้อยละ -11.5 หมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ -8.1 และหมวดประมงหดตัว ร้อยละ -5.3 โดยสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ราคาปาล์มน้ำมันจากภาวะการค้ายังชะลอตัวและสต็อกน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูง ราคายางพาราจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นและภาวะการค้ายังชะลอตัวต่อเนื่อง ราคาสุกรจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการ และราคาไข่ไก่จากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมาก ส่วนสินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวเปลือก ข้าวโพด และไก่
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 60 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,371.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.8 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 45.9พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน คิดเป็นร้อยละ 97.6 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 95.4 ของยอดหนี้สาธารณะ
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาส 4 ปี 60 (เบืองต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทำให้ทั้งปี 60 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนม.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 125.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยจากดัชนีการคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคตที่ปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 59.1 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากคำสั่งซื้อสินค้าใหม่และการจ้างงานที่ชะลอตัวลง เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 61 (เวลาสหรัฐฯ) FOMC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 - 1.50 ต่อปี โดยอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน ม.ค. 61 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.3 จุด ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลง ขณะที่ดัชนีฯ ที่จัดทำโดย Caixin เดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายในซูเปอร์มาร์เก็ตหดตัว
GDP ไตรมาส 4 ปี 60 (เบืองต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ทำให้ทั้งปี 60 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.5 สูงสุดในรอบ 10 ปี อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 61 (เบืองต้น) อยู่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยหากไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 8.7 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอัตราการว่างงานในแรงงานเยาวชนลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 17.9 ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 (ตัวเลขสมบูรณ์) อยู่ที่ระดับ 59.6 จุด เท่ากับตัวเลขเบื้องต้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 ลดลงอยู่ที่ระดับ 55.3 จุด จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 56.2 จุด เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อชะลอตัวลง
อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 60 ขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปีที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภค ยานยนต์ และน้ำมันขยายตัวได้ดี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวของผลผลิตโลหะประดิษฐ์ และอุปกรณ์ขนส่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี 4 เดือนที่44.70 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ 54.8 จุด จากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อสนค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความเชื่อมั่นของธุรกิจที่ดีขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยราคาหมวดอาหารหดตัว ขณะที่ราคาหมวดสาธารณสุขเร่งตัวขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 61ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายในกรุงฮานอยเร่งขึ้นมาก ขณะที่ยอดขายในนครโฮจิมินห์ชะลอลงเล็กน้อย ดุลการค้า เดือน ม.ค. 60 ขาดดุล 300 ล้านดอลาร์สหรัฐ จากการส่งออกและนำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นถึงร้อยละ 33.1 และ 47.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 เพิ่มขึนมาอยู่ที่ระดับ 53.4 จุด
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด สูงขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังบ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 61 อยู่ทีร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากราคาหมวดที่อยู่อาศัยและขนส่งที่ลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด ลดลงมากจากเดือนก่อน ผลกระทบจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าโดยยอดขายยานยนต์หดตัว มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าชิปหน่วยความจำและคอมพิวเตอร์ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20.9 ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ม.ค. 61 เกินดุล 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.7 จุด จากระดับ 49.9 จุดในเดือนก่อน แสดงถึงเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มขยายตัว
GDP ไตรมาส 4 ปี 60 (เบืองต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 60 GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.9 จุด จากระดับ 56.6 ในเดือนก่อน จากการผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวดี
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.4 จุด จากดัชนีหมวดผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ชะลอตัวลง
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 4 ปี 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 60 เฉลี่ยที่ร้อยละ 1.9
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ วันที่ 1 ก.พ. 61 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,833.60 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ 60,342.27 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งสวนทางกับดัชนีหลักทรัพย์ในประเทศอื่นๆ ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากช่วงต้นสัปดาห์อย่างมาก โดยดัชนี SET ได้รับแรงซื้อจากนักลงทุนในประเทศ ทั้งนักลงทุนทั่วไป สถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขณะที่ระหว่างวันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 4,284.29 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น 1-9 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-3 ปีปรับตัวลดลง ทำให้เกิดการหักงอ (Kink) ในระยะดังกล่าว โดยผลการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 182 วัน มีผู้สนใจประมูลถึง 1.65 เท่าและ 2.15 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 15,851.95 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 1 ก.พ. 61 เงินบาทปิดที่ 31.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.18 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ตามการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับเงินยูโร ริงกิต และหยวน ขณะที่เงินเยน วอน และดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นในอัตราที่สูงกว่าเงินสกุลอื่นๆ ยกเว้นเงินเยน ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.17
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th