Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 66.1
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 61 หดตัวร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 61 เท่ากับ 107.5 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 60 ของญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 60 ของออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 60 ของยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง)
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ ISM ของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 59.5 จุด
- ดุลการค้าของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. 61 ขาดดุล 5.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
- ดัชนี PMI ภาคบริการของยูโรโซน เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 56.2 จุด
- มูลค่าส่งออกของจีน เดือน ก.พ. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 42.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) ของจีน เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 54.4 จุด
- ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 54.5 จุด
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของเกาหลีใต้ เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.พ. 61 ปรับตัวลดลงจากระดับ 67.0 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ66.1 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดยมีปัจจัยลบจากความกังวลเสถียรภาพทางการเมืองที่กังวลการเลือกตั้งเลื่อนออกไปเป็นเดือน ก.พ. 62 ราคาพืชผลทางการเกษตรบางรายการยังทรงตัวในระดับต่ำ และค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปี 61 อยู่ที่ระดับ 66.6 ยังคงสูงกว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมของปี 60 ที่อยู่ระดับ 64.0
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 61 มีจำนวน 156,814 คัน คิดเป็นการหดตัว ร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า หดตัวร้อยละ -2.4 ซึ่งเป็นการหดตัวทั้งในเขต กทม. ร้อยละ -2.5 และในเขตภูมิภาคร้อยละ -6.2 จากรายได้ภาคเกษตรที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณรถจักรยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -1.0
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 61 เท่ากับ 107.5 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นร้อยละ 8.3 ต่อปี ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 61 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.8
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ ของ ISM เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 59.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 59.9 จุด ผลจากดัชนีย่อยหมวดการนำเข้า ราคา และการจ้างงานที่ปรับลดลงมาก ยอดขายรถยนต์ เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ 12.9 ล้านคันต่อปี คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ -1.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการหดตัวของยอดขายรถยนต์นั่ง ดุลการค้า เดือน ม.ค. 61 ขาดดุล 5.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากมูลค่าส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่านำเข้าเร่งตัวขึ้น
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 56.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากจำนวนธุรกิจใหม่ลดลงทำให้ ดัชนี PMI รวม เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 57.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง จากผลผลิตที่ขยายตัวดีขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลง GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากการชะลอตัวลงของการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชน เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 61 ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคงการเข้าซื้อสินทรัพย์จนถึง ก.ย. 61 เป็นอย่างน้อย
ดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 54.4 จุด ลดลงจากระดับ 54.7 จุดในเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดธุรกิจใหม่และราคาวัตถุดิบที่ลดลง ทำให้ดัชนี PMI รวม (Caixin) ในเดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับ 53.3 จุด ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีในเดือนก่อน มูลค่าส่งออกเดือน ก.พ. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 42.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังเกือบทุกตลาดที่เร่งตัวขึ้น ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.7 จากการหดตัวของการนำเข้าจากฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ อินเดีย และญี่ปุ่น ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 61 เกินดุลเพิ่มขึ้นที่ 3.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า จากการบริโภคที่ขยายตัว และการส่งออกเป็นปัจจัยหนุนหลัก ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ทั้งปี 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ด้านดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด ลดลงจาก 51.9 จุดในเดือนก่อน จากหมวดผลผลิตและธุรกิจใหม่ที่ชะลอลง ส่งผลให้ดัชนี PMI รวม เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 61 ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี
ดัชนี PMI เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 51.7 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด จากดัชนีหมวดผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์จากจีน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อน ยอดค้าส่งค้าปลีก เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.02 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ผลจากยอดค้าส่งที่ขยายตัวถึงร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ยอดค้าปลีกหดตัวร้อยละ -6.4 มูลค่าส่งออก เดือน ก.พ. 61 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวถึงร้อยละ 15.3 ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.9 ชะลอลงมากจากเดือนก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกีปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยการส่งออกเครื่องจักรขยายตัวสูงสุดและมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทำให้ดุลการค้าเกินดุล 9.7 พันล้านริงกิต
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และยาสูบ อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออกและนำเข้า เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.5 และ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 20.4 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในทุกภาค
ดัชนี PMI รวม เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.6 จุด เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ระดับ 54.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.0 จุด ส่งสัญญาณการขยายตัวของผลผลิตที่สูงสุดในรอบ 4 เดือน
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากการบริโภคที่ขยายตัวดีขณะที่การลงทุนชะลอตัวลง ส่งผลให้ GDP ทั้งปี 60 ขยายตัวร้อยละ 2.3 ด้านยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการขยายตัวของยอดค้าปลีกเกือบทุกหมวดยกเว้นหมวดห้างสรรพสินค้า ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 61 ขยายตัวตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่กลับมาขยายตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.1 ผลจากสินค้าทุน เชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 0.7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ดัชนี SET ปรับตัวลดลง โดยดัชนี SET ณ วันที่ 9 มี.ค. 61 ปิดที่ระดับ 1,778.90 จุด ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีในภูมิภาค อาทิ ดัชนี JCI อินโดนีเซีย และดัชนี PSEi ฟิลิปปินส์ ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศ โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 5 - 8 มี.ค. 61 ที่ 73,307 ล้านบาทต่อวัน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการจัดเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมของสหรัฐฯ ตลอดจนปัจจัยการเมืองของสหรัฐฯ ภายหลังหัวหน้าที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศลาออก จากแรงซื้อของนักลงทุนทั่วไป นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 8 มี.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 6,668 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับลดลงเล็กน้อย 0 - 1 bps ขณะที่ระยะกลางและระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 - 6 bps โดยผลการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 50 ปี มีนักลงทุนสนใจถึง 1.80 และ 1.34 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 5 - 8 มี.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 10,569 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดย ณ วันที่ 8 มี.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 31.31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ที่แข็งค่าขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าในอัตราที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ โดยเฉลี่ย ยกเว้นเงินหยวนและวอน ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.08
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th