Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.79 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.63
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี
- หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 60 อยู่ที่ 11.98 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 77.5 ต่อ GDP
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. 61 เกินดุล 6,157.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 66.8
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 61 หดตัว ร้อยละ -2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 59.3 จุด
- ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร ในเดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด
- มูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้ เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.79 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.42 โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันที่อยู่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ -0.09 โดยการลดลงมีที่มาสำคัญจากการลดลงของราคาอาหารสดและราคาน้ำมันขายปลีก เป็นสำคัญ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.63 เท่ากับเดือนก่อนหน้า
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 61 เท่ากับ 104.6 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ต่อปี หมวดซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ต่อปี และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 61 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 107.5 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 61 มียอดคงค้าง 17.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจทรงตัวที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 61 มียอดคงค้าง 19.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 60 อยู่ที่ 11.98 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 77.5 ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 77.3 ในไตรมาสก่อนหน้า (ตัวเลขปรับปรุง) โดยระดับหนี้ครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเร่งขึ้นของสินเชื่อเกือบทุกประเภท อย่างไรก็ตาม ภาพรวมคุณภาพสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากสัดส่วน NPL ซึ่งปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้ครัวเรือนกู้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ หนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ร้อยละ 64.1 ต่อ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. 61 เกินดุล 6,157.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 5,210.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้า (ตามระบบ BOP) ที่เกินดุล 2,288.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากมูลค่าการส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและการนำเข้าที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 3,868.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม รายรับจากภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 2 เดือนแรกของปี 61 เกินดุล 11,367.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 61 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 66.2 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 66.8 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นอีกครั้งจากเดือน ก.พ. ที่ปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองไทย และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ตลอดจนราคาพืชผลทางการเกษตรโดยส่วนใหญ่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้กำลังซื้อทั่วไปขยายตัวในระดับต่ำ นอกจากนี้ ยังกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 61 มีจำนวน 176,764 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า หดตัวร้อยละ -0.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวในเขต กทม. ร้อยละ 0.2 ในขณะที่เขตภูมิภาคหดตัวร้อยละ -3.9 จากราคายางพาราที่ลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้รายได้เกษตรกรและกำลังซื้อในระดับฐานรากยังคงตกต่ำ ส่งผลให้ในไตรมาสแรกของปี 61 ปริมาณรถจักรยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 59.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 60.8 จุด จากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกและการจ้างงานที่ลดลงเป็นหลัก และดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 58.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าจากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับลดลงมากที่สุด ด้านยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายรถบรรทุกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ก.พ. 61 ขยายตัวร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 56.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 58.6 จุด จากการชะลอตัวของผลผลิตและการตั้งธุรกิจใหม่ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ลดลง อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 61 อยู่ที่ร้อยละ 8.5 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.6 จากการลดลงของอัตราการว่างงานในฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน มี.ค. 61 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 51.0 จุด จาก 51.6 ในเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ขยายตัวชะลอลงขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.3 จุด จาก 54.2 จุดจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากค่ำสั่งซื้อสินค้าใหม่เริ่มชะลอลงและราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ทำให้ดัชนี PMI รวม (Caixin) ในเดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับ 51.8 จุด ลดลงจากที่ระดับ 53.3 จุด
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.2 จุด จากดัชนีหมวดผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ขยายตัวชะลอลง ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการลดลงต่ำสุดในรอบ 17 เดือนที่ระดับ 50.9 จุด ผลจากธุรกิจใหม่ที่ลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.7 จุด จากการขยายตัวชะลอลงของผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่ โดยดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของเมียนมา ฟิลิปปินส์ มาเลเซียปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ของเวียดนาม อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ปรับตัวลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นและยอดจ้างงานใหม่ที่ขยายตัวชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหาร
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 61 หดตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของมูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่ม ด้านมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของมูลค่านำเข้าสัตว์และเชื้อเพลิงธรรมชาติส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากยอดขายหมวดเครื่องดื่มและยาสูบที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 61 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยัง EU ขยายตัวได้ในระดับสูง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.0 ทำให้ในเดือน มี.ค. 61 เกินดุลการค้า 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 49.1 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยดัชนีหมวดผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ปรับตัวลดลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนหน้า จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.0 จุด จากดัชนีหมวดผลผลิตและการจ้างงานที่ลดลง
ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายหมวดเครื่องใช้ภายในครัวเรือน อาหาร และเครื่องนุ่งห่มขยายตัวได้ดี ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 61 ขยายตัวตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากหมวดสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าวัตถุดิบที่ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.4 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าผลจากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวดีส่งผลให้เกินดุลการค้า 1.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 61 ขยายตัวเร่งขึนที่ร้อยละ 29.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้วยอานิสงส์จากเทศกาลตรุษจีน โดยยอดขายหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าขยายในระดับสูง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.0 จุด ผลจากการขยายตัวของผลผลิต ยอดคำสั่งซื้อและการจ้างงาน
ดัชนี SET ปรับลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 4 เม.ย. 61 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,724.98 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 2-4 เม.ย. 61 ที่ 65,251 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติ โดยการปรับตัวลดลงของดัชนี SET สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย อาทิ HSI (ฮ่องกง) CSI300 (จีน) STI (สิงคโปร์) และ PSEi (ฟิลิปปินส์) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ยังคงต้องติดตามว่าการเพิ่มภาษีนำเข้าของรายการสินค้าที่ทั้งสองประเทศได้ประกาศไปนั้น จะมีผลบังคับใช้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2-4 เม.ย. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 1,359.08 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 1-3 bps โดยในสัปดาห์นี้ การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 91 วันและ 364 วัน มีผู้สนใจ 0.97 และ 2.55 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 2-4 เม.ย. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,064.72 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 4 เม.ย. 61 เงินบาทปิดที่ 31.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงร้อยละ -0.03 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ เยน ยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.20
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th