รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 7, 2018 14:16 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
Indicators this week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มี.ค. 61 หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.07
  • อัตราเงินเฟ้อพืนฐานในเดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.64
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 61 หดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มี.ค. 61 เกินดุล 5,751.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 67.8
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (เบืองต้น) ของสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (เบืองต้น) ของยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (เบืองต้น) ของสหราชอาณาจักร ขยายตัว ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเมื่อกำจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบจากเดือนก่อนหน้า โดยหมวดการผลิตสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีการขยายตัวในหลายหมวดสินค้า ได้แก่ การผลิตหมวดยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตปิโตรเลียม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ การผลิตเครื่องประดับ เนื่องจากต่างประเทศยังคงชะลอการสั่งซื้อจากการระมัดระวังการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย หมวดการทอผ้า เนื่องจากมีสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางซึ่งอยู่ระหว่างร่วมกำหนดลดโควต้าการส่งออกในการประชุมไตรภาคีระหว่างประเทศไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นต้น

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน มี.ค. 61 หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี โดยชนิดเหล็กที่มียอดจำหน่ายลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เหล็กเส้นข้ออ้อย และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาส 1 ปี 61 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหดตัวร้อยละ -3.1

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.07 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.79 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีก ราคาค่าไฟฟ้า ราคาผักและผลไม้ และราคาอาหารสำเร็จรูป ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีทิศทางทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.64 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานในช่วง 4 เดือนแรกอยู่ที่ร้อยละ 0.74 และ 0.62 ตามลำดับ โดยคาดว่าในช่วงต่อไป อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้มีอัตราเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 1.2 (ประมาณการ ณ เดือน เม.ย.61)

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย. 61 เท่ากับ 107.2 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปี หมวดซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปี

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 61 มีจำนวน 132,286 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัว ร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวในเขต กทม. ร้อยละ 0.2 ในขณะที่เขตภูมิภาคหดตัวร้อยละ -4.0 ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณรถจักรยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี

Economic Indicators: This Week

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 61 มียอดคงค้าง 17.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.5 และ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 61 มียอดคงค้าง 19.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากทั้งในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.4 และ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มี.ค. 61 เกินดุล 5,751.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 6,157.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 2,736.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม รายรับจากภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดี ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุล 3,015.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากมูลค่าการส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 61 เกินดุล 17,119.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน เม.ย. 61 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 66.8 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 67.8 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 และสูงสุดในรอบ 38 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2561 ส่งผลให้กำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ผลกระทบจากค่าเงินบาท และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (เบืองต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า ผลจากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเป็นหลัก มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.8 สูงสุดในรอบ 4 เดือน โดยการส่งออกไปอินโดนีเซียขยายตัวสูง ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าจากฮ่องกงที่หดตัวสูงสุด ทำให้ขาดดุลการค้า 6.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 57.3 จุด ต่ำสุดในรอบ 9 เดือนโดยดัชนีฯ ในหมวดการผลิตลดลงมากที่สุด ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 56.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยหมวดคำสั่งซื้อคงค้างลดลงมากที่สุด ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1-2 พ.ค. 61 ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ (9-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50-1.75 ต่อปี

Eurozone: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (เบืองต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดย GDP ฝรั่งเศสขยายตัวชะลอลงขณะที่ GDP อิตาลีและสเปนขยายตัวคงที่ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 (เบืองต้น) ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 56.2 จุด จากดัชนีย่อยหมวดการจ้างงานที่ชะลอลงและดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน เม.ย. 61 (เบืองต้น) ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.0 จุด ส่งผลให้ดัชนี PMI รวม เดือน เม.ย. 61 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือนที่ 55.2 จุดอัตราการว่างงานเดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 8.5 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าโดยอัตราการว่างงานของเยอรมนี ฝรั่งเศสและสเปนลดลง

China: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน เม.ย. 61 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 51.4 จุด จากหมวดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่และคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ลดลง ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ (NBS) ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 54.8 จุด จากหมวดธุรกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้น ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน เม.ย. 61 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 51.1 จุด จากหมวดการผลิตที่สูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ ดัชนีฯ ภาคบริการ (Caixin) ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.9 จุด จากหมวดกิจกรรมธุรกิจและหมวดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดัชนีฯ รวม (Caixin) ในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.3 จุด

Japan: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด จากหมวดผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 52.5 จุด ผลจากธุรกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้นและแรงงานในภาคบริการเพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 43.4 จุด สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 44.4 จุด

Taiwan: worsening economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เม.ย. 61 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 54.8 จุด จากระดับ 55.3 จุดในเดือนก่อน โดยหมวดการผลิตและการจ้างงานใหม่ขยายตัวในระดับต่ำ

South Korea: worsening economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 หดตัวร้อยละ -4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -6.8 จากการขยายตัวของผลผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากยอดขายอาหารที่ชะลอลงมูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 61 หดตัวร้อยละ -1.5 ลดลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกอุปกรณ์ขนส่งที่หดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ผลจากหมวดอาหารที่ขยายตัวดีส่งผลให้เกินดุลการค้า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ขยายตัวเร่งขึ้น ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 48.4 จุด โดยหมวดผลผลิตและหมวดความเชื่อมั่นธุรกิจปรับตัวลดลง

Vietnam: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกโทรศัพท์และส่วนประกอบที่หดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดเครื่องจักรและส่วนประกอบที่หดตัวเพิ่มขึ้นทำให้ดุลการค้าเกินดุล 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากราคาอาหารและขนส่งที่เพิ่มขึ้น

Philippines: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากราคาทั้งหมวดอาหารและไม่ใช่อาหารที่ปรับเพิ่มขึ้น

India: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย 61 อยู่ที่ระดับ 51.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.0 จากหมวดผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่ขยายตัวเร่งขึ้น

Hong Kong: worsening economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.1 จุด เนื่องจากหมวดผลผลิต ธุรกิจใหม่ และการจ้างงานปรับตัวลดลง

UK: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (เบืองต้น) ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า จากภาคการผลิตที่ชะลอตัว ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 53.9 จุด ต่ำที่สุดในรอบ 17 เดือน จากหมวดปริมาณผลผลิตที่ชะลอลง ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 52.8 จุด จากหมวดกิจกรรมภาคบริการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดัชนี PMI รวม อยู่ที่ 53.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.5 จุด

Australia: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดสินค้าวัตถุดิบและอาหารที่หดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 8.3 จากหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัว ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดย ณ วันที่ 3 พ.ค. 61 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,790.80 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 30 เม.ย. - 3 พ.ค. 61 ที่ 54,303 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนี SET ในสัปดาห์นี้มาจากแรงซื้อที่เพิ่มขึ้นในหมวดกระดาษและวัสดุการพิมพ์ พลังงานและสาธารณูปโภค และบริการรับเหมาก่อสร้าง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 30 เม.ย. - 3 พ.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 7,108.54 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสันและระยะกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-5 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง 1-3 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 30 เม.ย.-3 พ.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 14,491.25 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 3 พ.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 31.69 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงร้อยละ -0.31 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ เยน ยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.15

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ