Executive Summary
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- วันที่ 16 พ.ค. 61 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี
- GDP ไตรมาส 1 ปี 61 (เบืองต้น) ของญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาส 1 ปี 61 ของมาเลเซีย ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 61 ของสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 ของสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 ของจีน ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 61 ของสิงคโปร์ ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน เม.ย. 61 มีจำนวน 3.09 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 9.4 ต่อปี แต่หดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล ส่วนหนึ่งชะลอตัวจากเทศกาลอีสเตอร์และปัญหาการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากจีน ลาว รัสเซีย และไต้หวัน เป็นหลัก ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เดือน เม.ย. 61 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวน 1.57 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -3.7 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่งเวลาเดียวกันของปีก่อน
วันที่ 16 พ.ค. 61 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเดิมต่อเนื่องมากว่า 3 ปีติดต่อกัน โดยเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอี้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทำให้คณะกรรมการฯ เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการหดตัวของยอดค้าปลีกในห้างสรรพสินค้าและร้านขายอุปกรณ์กีฬา งานอดิเรก หนังสือ และดนตรี ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 61 หดตัวร้อยละ -3.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากยอดสร้างคอนโดมิเนียมที่หดตัวจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 61 ที่หดตัวร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยที่ยอดใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดมิเนียมหดตัวมากที่สุดที่ร้อยละ -7.4 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้นในหมวดพลังงานและเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของผลผลิตหมวดยานยนต์และเหล็ก ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 เนื่องจากยอดขายหมวดสินค้าโภคภัณฑ์ขยายตัวชะลอลง
GDP ไตรมาส 1 ปี 61 (เบืองต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรวมขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.2 และการบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการชะลอลงครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของผลผลิตเหล็กและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาทุกหมวดสินค้ายกเว้นเสื้อผ้าและการรักษาพยาบาลปรับตัวลดลง
อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 8.5 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าและอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปี โดยอัตราการว่างงานของเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลีและสเปนต่างทยอยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 8.8 11.0 และ 16.1 ของกำลังแรงงานรวม ตามลำดับ
อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.0
อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 9.1 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นเดียวกัน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 61 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.50 ต่อปี เป็นการประกาศขึ้นครั้งแรกในรอบ 32 เดือน
GDP ไตรมาส 1 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน โดยการบริโภคภาครัฐ การลงทุนและการส่งออกขยายตัวชะลอลง
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้ากลุ่มปิโตรเลียมที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่า การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.3 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 6.0 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนคนที่ หางาน Part Time มีมากขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ -0.7 ในเดือนก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 4.6 ชะลอลงจากร้อยละ 7.1 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน เม.ย. 61 ขาดดุล 13.7 พันล้านรูปี ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5
อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าและอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 43 ปี
ดัชนี SET ปรับสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนในช่วงต้นสัปดาห์และปรับลดลงช่วงกลางสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 17 พ.ค. 61 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,751.20 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 14 - 17 พ.ค. 61 ที่ 61,720 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และแรงขายของนักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ โดยการปรับตัวของดัชนีฯ สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์หลักอื่นๆ เช่น Dow Jones (สหรัฐฯ) CSI300 (จีน) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี ทำให้นักลงทุนคาดการณ์เงินไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14 -17 พ.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 736.43 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้น 2-13 bps สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอื่นๆ ในภูมิภาค อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตามการปรับขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 14 - 17 พ.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 10,155.09 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 17 พ.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 32.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.30 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินเยน ยูโร และริงกิต อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักหลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.41
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th