Executive Summary
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ค. 61 ปี งปม. 61 หดตัวลดลงร้อยละ -9.6 ต่อปี
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ค. 61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนพ.ค. 61 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 7.9 พันล้านบาท
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ค. 61 ขยายตัว ร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ค. 61 ขยายตัว ร้อยละ 9.1 ต่อปี
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน พ.ค. 61 ขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ค. 61 ขยายตัวที่ ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศ เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 40.8 ของ GDP
- GDP ของสหรัฐฯ ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (ปรับปรุงครังที่ 3) ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ค. 61 ปี งปม. 61 เบิกจ่ายได้ 189.6 พันล้านบาทลดลงร้อยละ -9.6 ต่อปีโดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 172.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -14.7 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 142.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -16.6 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 29.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -3.7 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 20,989 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 5,925 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 4,201 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 1,869 ล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 61 สามารถเบิกจ่ายได้ 1,879.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 61.6 ของวงเงินงบประมาณ (3,050.0 พันล้านบาท)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ค. 61 ได้จำนวน 275.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีฐานบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปี ทำให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 1,571.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 4.0 ของประมาณการเอกสารงปม.
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ค. 61 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 7.9 พันล้านบาทและเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 4.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 12.5 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 317.2 พันล้านบาท
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน พ.ค 61 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดประมง หมวดพืชผลสำคัญ และหมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 22.6 22.3 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ โดยสินค้าสำคัญมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือก กลุ่มไม้ผล มันสำปะหลัง ยางพารา สับปะรด ปาล์มน้ำมัน ไก่เนื้อ ไข่ไก่ ข้าวโพด และกุ้งขาวแวนนาไม
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยในเดือน พ.ค. 61 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดประมง หมวดพืชผลสำคัญ และหมวดปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ -25.9 -2.8 และร้อยละ -8.5 ตามลำดับ โดยสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพาราจากภาวะการค้ายังชะลอตัวต่อเนื่อง ปาล์มน้ำมันจากผลผลิตออกสู่ตลาดต่อเนื่อง สับปะรดจากปริมาณผลผลิตออกกระจุกตัวและมีปริมาณมากกว่าความต้องการของตลาด และสุกรจากปริมาณผลผลิตมากกว่าความต้องการ ส่วนสินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพด เงาะ ทุเรียน และไข่ไก่
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ต่อปี และหดตัวร้อยละ -0.1 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 5 เดือนแรกของปี 61 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 15.4 ต่อปี
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน พ.ค. 61 ขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 1.6 แบ่งเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายในประเทศขยายตัวร้อยละ 2.6 และเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 61 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริงขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ต่อปี
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ค. 61 พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากกำจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวของ MPI เป็นการขยายตัว 13 เดือนติดต่อกัน โดยหมวดอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของ MPI ในเดือน พ.ค. ได้แก่ หมวดยานยนต์ ที่มีรถรุ่นใหม่ออกวางขายในตลาด ซึ่งยอดขายขยายตัวทั้งในประเทศและภาคการส่งออก หมวดอาหาร จากน้ำตาลทรายที่ผลผลิตมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และหมวดคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบจาก ฮาร์ดิสไดร์ฟ โดยได้รับปัจจัยจากบริษัทแม่ที่ปิดฐานการผลิตในประเทศสิงคโปร์และจีน จึงทำให้การผลิตในไทยขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยจากการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นส่งผลต่อความต้องการฮาร์ดิสไดร์ฟ นอกจากนี้ อัตรากำลังการผลิตเดือน พ.ค. อยู่ที่ร้อยละ 69.9 ของกำลังการผลิตรวม ขยายตัวในเกือบทุกสาขาการผลิตจากเดือนก่อนหน้าที่ใช้อัตรากำลังการผลิตอยู่ที่ 60.9
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี โดยชนิดเหล็กที่มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ท่อเหล็กกล้าและเหล็กลวด และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ทำให้ 5 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 2.3
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 61 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,497.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.8 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 32.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน คิดเป็นร้อยละ 97.8 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 95.8 ของยอดหนี้สาธารณะ
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 61 (ปรับปรุงครังที่ 3) ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวสูง ด้านยอดขายบ้านใหม่ เดือน พ.ค. 61 อยู่ที่ 6.89 แสนหลังต่อปี คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ผลจากยอดขายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ที่ขยายตัวสูง ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดคำสั่งซื้อหลายหมวดที่ชะลอลง เช่น เครื่องจักรใหม่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนประกอบ เป็นต้น และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 126.4 จุด ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีย่อยหมวดสถานการณ์ปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคตที่ปรับตัวลดลง
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยยอดค้าปลีกในหมวดสินค้าทั่วไปและยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -1.2 และ -4.9 ตามลำดับ ขณะที่หมวดเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภค และยานพาหนะหดตัวร้อยละ -2.5 -4.1 และ -2.8 ตามลำดับ ด้านอัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตอุตสาหกรรมเกือบทุกหมวด
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ระดับ -0.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดย่อยด้านการออมและด้านเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด
ดัชนีราคาบ้าน เดือน มิ.ย. 61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากการส่งออกสินค้าหมวดสินแร่ และน้ำมันเชื้อเพลิงที่เร่งตัวขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 28.1 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35.2 จากการนำเข้าน้ำมันดิบที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ดุลการค้าขาดดุล 1.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลมากกว่าเดือนก่อนเล็กน้อยยอดขายรถยนต์ เดือน พ.ค. 61 มีจำนวน 100,468 คัน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 14.1
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากผลผลิตแร่และหินที่หดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -5.5 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยทั้งยอดค้าปลีกและค้าส่งขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 61 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 83.9 จุด นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 60
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าหมวดอุปกรณ์เครื่องจักรกลและการขนส่งที่ขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 16.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 105.5 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 107.9 จุด ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตหมวดก่อสร้างและอุปกรณ์ขนส่งที่ขยายตัวชะลอลง ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.7 จากสินค้าหมวดอุปกรณ์โทรคมนาคมขยายตัวชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.1 จากราคาหมวดขนส่งและเบ็ดเตล็ดที่ปรับเพิ่มขึ้น ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 จากผลผลิตหมวดอาหารและเครื่องหนังที่เร่งตัว
มูลค่าส่งออก เดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดน้ำมันดิบที่หดตัว และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวชะลอลง ด้านมูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากการนำเข้าสินค้าหมวดรถยนต์และเคมีภัณฑ์ที่หดตัว ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 จากราคาหมวดอาหารและขนส่งที่ขยายตัวเร่งขึ้นขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากการเร่งขึ้นของยอดค้าปลีกในหมวดการค้า โรงแรมและภัตตาคาร และบริการ ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนจากหมวดอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และวัสดุก่อสร้าง ที่เร่งตัวขึ้น
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 28 มิ.ย. 61 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,599.54 จุด ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 25-28 มิ.ย. 61 ที่ 50,512 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ โดยการปรับตัวลดลงของดัชนี SET ในสัปดาห์นี้สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ อาทิ DJIA (สหรัฐฯ) STOXX600 (เยอรมนี) CSI300 (จีน) Nikkei225 (ญี่ปุ่น) และ KLCI (มาเลเซีย) โดยสาเหตุหลักมาจากความกังวลผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงเงื่อนไขการกีดกันการลงทุนของจีนในสหรัฐฯ ที่จะมีการประกาศในวันที่ 30 มิ.ย. 61 นี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ) ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25-28 มิ.ย. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -6,282.67 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง 4-11 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 25-28 มิ.ย. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,688.84 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 28 มิ.ย. 61 เงินบาทปิดที่ 33.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงร้อยละ -0.45 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลหลักหลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 0.11
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th