Executive Summary
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มิ.ย. 61 ขยายตัว ร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 61 หดตัวร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. 61 ปี งปม. 61 เบิกจ่ายได้ 302.5 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 ต่อปี
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนมิ.ย. 61 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 44.3 พันล้านบาท
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมิ.ย. 61 ได้จำนวน 255.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ต่อปี
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน มิ.ย. 61 ขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี
- GDP ของเกาหลีใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. 61 อยู่ที่ 6.89 แสนหลังต่อปี คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล)
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น)ของญี่ปุ่น เดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 51.6 จุด
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหภาพยุโรป เดือน ก.ค. 61 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ -0.6 จุด
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน มิ.ย 61 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ขยายตัวร้อยละ 12.9 0.7 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ โดยสินค้าสำคัญมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือก กลุ่มไม้ผล มันสำปะหลัง ยางพารา สับปะรด ปาล์มน้ำมัน ไก่เนื้อ ไข่ไก่ ข้าวโพด และกุ้งขาวแวนนาไม
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย. 61 หดตัวร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ -6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน มิ.ย. 61 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดประมง หมวดพืชผลสำคัญ และหมวดปศุสัตว์ หดตัวร้อยละ -18.8 -1.4 และร้อยละ -8.4 ตามลำดับ โดยสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพาราจากปริมาณยางออกสู่ตลาดมากขึ้น สุกรจากความต้องการบริโภคชะลอตัวลง ส่วนสินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพด ทุเรียน มังคุด และไข่ไก่
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย. 61 ปี งปม. 61 เบิกจ่ายได้ 302.5 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 ต่อปีโดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 286.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.8 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 249.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 36.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 56,788 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 26,378 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 6,551 ล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 61 สามารถเบิกจ่ายได้ 2,166.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 71.0 ของวงเงินงบประมาณ (3,050.0 พันล้านบาท)
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน มิ.ย. 61 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 44.3 พันล้านบาทและเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 39.4 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 83.7 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 426.8 พันล้านบาท
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมิ.ย. 61 ได้จำนวน 255.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีฐานบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ต่อปี ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 1,832.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของประมาณการเอกสารงปม.
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน มิ.ย. 61 มีมูลค่า 68,617 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่าเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายในประเทศขยายตัวร้อยละ 4.5 และเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวได้ร้อยละ 6.0 เร่งขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ร้อยละ 4.2
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 6 เดือนแรกของปี 61 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว ร้อยละ 15.0 ต่อปี
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายบ้านใหม่ เดือน พ.ค. 61 อยู่ที่ 6.89 แสนหลังต่อปี คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดขายในภาคใต้ที่ขยายตัวมากที่สุดที่ร้อยละ 17.9 จากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีราคากลางบ้าน เดือน พ.ค. 61 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากดัชนีราคากลางบ้านในภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่ขยายตัวสูงที่สุดที่ร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อนหน้า ด้านยอดขายบ้านมือสอง เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ 5.4 ล้านหลังต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากยอดขายบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมที่หดตัว ทั้งนี้ ราคากลางบ้านมือสองอยู่ที่ 276,900 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.5 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 51.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.0 จุดจากราคาปัจจัยการผลิตที่ปรับสูงขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 61 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ -0.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและอยู่ในแดนลบเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 61 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.ค. 61 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 54.4 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด ถึงแม้ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ทั้งยอดคำสั่งซื้อใหม่และปริมาณผลผลิตต่างขยายตัวชะลอลงส่งผลให้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือรวม เดือน ก.ค. 61 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 54.3 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยผลผลิตหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 61 หดตัวร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 2 ปีกว่า โดยยอดค้าส่งหดตัวถึงร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนและอัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าในเกือบทุกหมวดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 101.0 ลดลง 4.5 จุดจากเดือนก่อนหน้า ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 2 ปี 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และเข้ากรอบอัตราเงินเฟ้อที่กำหนดไว้ร้อยละ 2-3 เป็นไตรมาสแรกในรอบปีกว่า โดยราคาสินค้าในหมวดสุราและบุหรี่ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รองลงมาเป็นราคาในหมวดขนส่งที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 เดือน ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ร้อยละ 0.4 จากราคาเครื่องนุ่งห่ม อาหารและการขนส่งที่ปรับเพิ่มขึ้น
ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 25 ก.ค. 61 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,690.08 จุด สูงสุดในรอบเดือนกว่า ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 23-25 ก.ค. 61 ที่ 54,301 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อสุทธินักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ โดยการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนี SET ในสัปดาห์นี้สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ อาทิ DJIA (สหรัฐฯ) KLCI (มาเลเซีย) และ STI (สิงคโปร์) อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ปี 61 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จะทยอยออกมาในสัปดาห์หน้า และประเด็นความไม่แน่นอนด้านการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนว่าจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23-25 ก.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 2,589.96 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับลดลง 0-7 bps โดยในสัปดาห์นี้การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน มีผู้สนใจ 1.39 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 23-25 ก.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 244.30 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 25 ก.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 33.37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงร้อยละ -0.09 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ริงกิต วอน และหยวน ขณะที่เงินเยน ยูโร และดอลลาร์สิงคโปร์ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักหลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.05
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th