Executive Summary
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ของสหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง)
- GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ของมาเลเซีย ขยายตัว ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ของสิงคโปร์ ขยายตัว ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง)
- ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 61 ขยายตัว ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. 61 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปี
- ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีน เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 7 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่งเวลาเดียวกันของปีก่อน
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายปลีกน้ำมันที่ขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 21.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตในหมวดพลังงาน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าคงทน ที่ขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 9.6 5.9 และ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 61 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตเกือบทุกหมวดที่หดตัวลง ขณะที่ผลผลิตหมวดโลหะที่มิใช่เหล็กและเซรามิกขยายตัวชะลอลง มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกเกือบทุกหมวดสินค้าที่ชะลอลง ยกเว้นหมวดสินแร่และเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้น ด้านมูลค่านำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 14.6 เนื่องจากการนำเข้าสินค้าในทุกหมวดสินค้าขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 231.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่ผลผลิตหมวดเหมืองแร่และการผลิตไฟฟ้าชะลอตัวลง ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 โดยยอดขายสินค้าที่ชะลอตัวลงได้แก่ สินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่ม เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.2
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตอุตสาหกรรมของภาคการผลิตขยายตัวเร่งขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.3 หมื่นล้านยูโร
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงต่ำสุดในรอบ 6 ปี โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาลดลงและ Part Time หดตัวจากเดือนก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 19.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 31.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 61 ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 5.50 ต่อปี เป็นการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการกระชุมครั้งก่อนในเดือน มิ.ย. 61
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 61 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) จากมูลค่าการส่งออกที่ชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 5.8 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่หดตัวลง มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 18.0 ในเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 28.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 19.5 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 61 ขาดดุล 18.0 พันล้านรูปี
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) หรือขยายตัวร้อยละ 1.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 13.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 22.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 16 ส.ค. 61 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,680.96 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค. 61 ที่ 55,285 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายสุทธิของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ โดยการปรับลดลงของดัชนี SET ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น CSI300 (จีน) และ HangSeng (ฮ่องกง) เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเรื่องวิกฤตค่าเงินลีร่าตุรกี ทั้งนี้ สำหรับในสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามประเด็นการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจากที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากอีกฝ่ายสำหรับสินค้านำเข้าที่ 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 61 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -7,204.69 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับลดลง 0-2 bps โดยในสัปดาห์นี้การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 30 ปี มีผู้สนใจ 1.39 และ 1.63 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 14-16 ส.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 13,650.39 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 16 ส.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 33.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงร้อยละ -0.28 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.51
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th