Executive Summary
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ค. 61 ปี งปม. 61 ลดลงร้อยละ -17.0 ต่อปี
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ค. 61 ได้จำนวน 194.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.8 ต่อปี
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ค. 61 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -32.0 พันล้านบาท
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 61 หดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี
- GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ปรับปรุงครังที่ 2)
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ค. 61 ปี งปม. 61 เบิกจ่ายได้ 213.0 พันล้านบาทลดลงร้อยละ -17.0 ต่อปีโดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 202.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -19.5 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 177.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -22.0 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 25.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.4 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 241,422 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 203,795 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 159,380 ล้านบาท และงบรายจ่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ 72,217 ล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 61 สามารถเบิกจ่ายได้ 2,549.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 77.7 ของวงเงินงบประมาณ (3,050.0 พันล้านบาท)
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ค. 61 ได้จำนวน 194.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีฐานบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 ต่อปี และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ต่อปี ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 1,832.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของประมาณการเอกสารงปม.
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ก.ค. 61 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -32.0 พันล้านบาทและเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -13.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -45.2 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 404.8 พันล้านบาท
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน ก.ค. 61 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญ และหมวดประมง ร้อยละ 11.4 และ 8.8 ตามลำดับ ขณะที่หมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ -0.4 โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ยางพารา สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ เงาะ มังคุด สุกร และไข่ไก่
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 61 หดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน ก.ค. 61 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในหมวดประมงและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ -9.5 และ -6.0 ตามลำดับ ขณะที่หมวดพืชผลสำคัญขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเนื่องจากตลาดมีความต้องการข้าวในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เนื่องจากโรงงานอาหารสัตว์มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และไข่ไก่เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ออกสู่ตลาดน้อย และสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพาราจากปริมาณยางออกสู่ตลาดมากขึ้นและภาวะการค้าชะลอตัว สุกรจากความต้องการบริโภคชะลอตัวลง และกุ้งขาวแวนนาไมเนื่องจากราคาในตลาดโลกปรับลดลงตามอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและการลดลงของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่หันไปนำเข้าจากประเทศอื่น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนก.ค. 61 พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือนติดต่อกัน และหากกำจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -0.6 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ หมวดอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของ MPI ในเดือน ก.ค. ได้แก่ หมวดยานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 เป็นการขยายตัวทั้งการผลิตจำหน่ายในประเทศและภาคส่งออก หมวดน้ำมันปิโตเลียมที่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.2 จากการขยายตัวตามความต้องการใช้ทั้งภาคการขนส่งและภาคอุตสาหกรรม และในหมวดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ขยายตัวที่ร้อยละ 9.1 จากการผลิตอาร์ดิสไดร์ฟ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ อัตรากำลังการผลิตเดือน ก.ค. อยู่ที่ร้อยละ 67.2 ของกำลังการผลิตรวม หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยหมวดอุตสาหกรรมที่ใช้อัตรากำลังการผลิตสูง อาทิ หมวดยานยนต์ หมวดหมวดปิโตรเลียม และหมวดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี โดยชนิดเหล็กที่มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ลวดเหล็กแรงดึงสูง และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อเดือน ทำให้ 7 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 3.2
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ปรับปรุงครังที่ 2) หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากภาคการบริโภค การลงทุน และการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 5.7 และ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 133.4 จุด สูงสุดในรอบ 17 ปีกว่า จากดัชนีสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับ 172.2 จุด สูงสุดในรอบ 17 ปีเช่นกัน และดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคตที่อยู่ที่ระดับ 107.6 จุด สูงสุดในรอบ 6 เดือน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 43.5 จุด ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 43.6 จุด ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ทั่วไปที่หดตัวร้อยละ -3.9 และ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกอุปกรณ์การขนส่งที่หดตัวถึงร้อยละ -4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากการนำเข้าสินค้าในหมวดแร่เชื้อเพลิงและเคมีภัณฑ์ที่ขยายตัวสูง ส่งผลให้ขาดดุลการค้าในเดือน ก.ค. 61 ที่ 2.3 แสนล้านเยน
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยการส่งออกในหมวดวัตถุดิบยกเว้นน้ำมันขยายตัวถึงร้อยละ 54.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ -1.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -0.6 จุด และอยู่ในแดนลบเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 82.6 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 82.4 จุด ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 99.2 จุด ลดลงจากระดับ 101.0 จุดในเดือนก่อนหน้า ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีกว่า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับลดลง ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดซ่อมบำรุงอุปกรณ์การขนส่ง ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดค้าปลีกในภาคบริการที่ขยายตัวเร่งขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากมูลค่าการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนที่ขยายตัวชะลอลงขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากมูลค่าการนำเข้าเหล็กที่ลดลง และขาดดุลการค้าใน เดือน ส.ค. 61 ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 29 ส.ค. 61 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,722.26 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 27-29 ส.ค. 61 ที่ 45,293 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อสุทธิของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ โดยการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนี SET ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) Nikkei (ญี่ปุ่น) STOXX600 (ยุโรป) เป็นต้น สำหรับปลายสัปดาห์นี้ยังคงต้องติดตามการเจรจาข้อตกลงการค้า NAFTA ระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดาว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้หรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 27-29 ส.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -2,642.39 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสันและระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 0-8 bps ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะกลางปรับลดลง 0-5 bps โดยในสัปดาห์นี้การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 364 วัน มีผู้สนใจ 3.30 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 27-29 ส.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 21,471.01 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 29 ส.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 32.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.15 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินยูโร วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินเยนและ ริงกิตอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.24
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th