Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.6
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน ก.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 40.9 ของ GDP
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย โดยรวมในเดือน ส.ค. 61 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 69.1 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 70.2
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 61 เกินดุล 1,086.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานในเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
- GDP ของออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของเกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 61 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดในหมวดเนื้อสัตว์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันขายปลีกยังปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลก จึงส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดเชื้อเพลิงปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ทรงตัวในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 61 เท่ากับ 109.2 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดซีเมนต์ที่สูงขึ้นร้อยละ 2.1 ดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้นร้อยละ 9.1 ทั้งนี้ 8 เดือนแรกของปี 61 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.4
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 61 เกินดุล 1,086.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 4,083.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้า (ตามระบบ BOP) ที่เกินดุลเพียง 857.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวสูง และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลเพียง 228.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทข้ามชาติ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 7 เดือนแรกของปี 61 เกินดุล 22,451.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน ก.ค. 61 มีจำนวนทั้งสิน 6,557.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.9 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 25.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน คิดเป็นร้อยละ 97.5 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 96.1 ของยอดหนี้สาธารณะ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ส.ค. 61 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 69.1 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 70.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 44 เดือน นับตั้งแต่มกราคม 2558 เป็นต้นมา โดยเป็นผลมาจากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัว ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัว ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต นอกจากนี้ ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้กำลังซื้อในหลายจังหวัดทั่วประเทศปรับตัวดีขึ้น
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 61 มียอดคงค้าง 17.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวชะลอลง เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่ทรงตัวที่ร้อยละ 5.5
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 61 มียอดคงค้าง 19.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ทรงตัวที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.9
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนส.ค. 61 มีจำนวน 171,490 คัน คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัวได้ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ซึ่งเป็นการขยายตัวทในเขต กทม. ร้อยละ 3.6 ในขณะที่เขตภูมิภาคหดตัวร้อยละ 4.0 ส่วนหนึ่งเป็น ผลจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผู้มีงานทำเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ 38.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.9 แสนคน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังจากหักผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบจากเดือนก่อนหน้า หากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผู้มีงานทำภาคเกษตรมีจำนวนเพิ่มขึ้น 1.1 แสนคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.9 ผู้มีงานทำภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้น 6.8 หมื่นคน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 และภาคบริการที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นที่ 5.1 แสนคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 26 เดือน นับตั้งแต่มิ.ย. 59 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด มีจำนวนผู้ว่างงาน 4.0 แสนคน ลดลงจำนวน 2.3 หมื่นคน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.3
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซือ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 61.3 จุดสูงสุดในรอบ 8 ปี จากดัชนีทุกหมวดที่เพิ่มขึ้น และดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 58.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดการสั่งซื้อสินค้าใหม่และกิจกรรมทางธุรกิจเป็นหลัก ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกสินค้าทุนและอาหารที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.9 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากทุกหมวดที่เร่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้ขาดดุลการค้า 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลสูงสุดตั้งแต่ปี 51
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 61 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 52.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยผลผลิตเพิ่มขึ้นท่ามกลางดัชนีย่อยหมวดยอดคำสั่งซื้อใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด สูงสุดในรอบ 4 เดือนจากดัชนีหมวดธุรกิจใหม่ที่ขยายตัวเร่งขึ้น
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 23 ไตรมาสที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการลงทุนภาคเอกชนและการนำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้น ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวทรงตัวที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายหมวดร้านอาหารขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่ห้างสรรพสินค้าหดตัวลง มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 16.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.8 จากหมวดอาหารที่เร่งตัวขึ้น ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 61 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 56.7 จุด จากหมวดผลผลิต ยอดขายสินค้า และยอดสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ต่ำสุดในรอบ 8 เดือนจากดัชนีเกือบทุกหมวดที่ลดลง เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 61 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 25
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.3 จุด ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.2 จุด ส่งผลให้ดัชนี PMI รวมอยู่ที่ระดับ 51.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 61 ธนาคารกลางอินเดียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 54.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.1 จุดจากดัชนีหมวดยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี ด้านดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 54.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากดัชนีย่อยหมวดการทำธุรกิจใหม่ที่ขยายตัวแข็งแกร่ง ทำให้ดัชนีฯ รวม อยู่ที่ระดับ 54.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.3
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 61 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า โดยการบริโภคขยายตัวชะลอลง การลงทุนหดตัว ขณะที่การส่งออกขยายตัวเร่งขึ้น อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยราคาสินค้าหมวดที่พักอาศัยหดตัว
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 61 (Caixin) ปรับตัวลดลงที่ระดับ 50.6 จุด ต่ำสุดในรอบ 14 เดือน โดยดัชนีหมวดคำสั่งซื้อใหม่และหมวดธุรกิจใหม่ขยายตัวในอัตราชะลอลง ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด โดยดัชนีหมวดต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ดัชนี PMI รวมปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 52.0 จุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยระดับราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีย่อยหมวดการสร้างงานที่ลดลงเกือบถึงจุดชะงักงัน ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 54.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากดัชนีย่อยหมวดกิจกรรมทางธุรกิจและงานใหม่ที่เพิ่มขึ้น และดัชนีฯ ภาคก่อสร้างอยู่ที่ระดับ 52.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีย่อยหมวดปริมาณผลผลิตที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ทำให้ดัชนี PMI รวมอยู่ที่ระดับ 54.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.5 จุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 61 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยระดับราคาในหมวดอาหารลดลงขณะที่หมวดการศึกษาและการคมนาคมเพิ่มขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่งขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าทำให้เกินดุลการค้า 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 61 ธนาคารกลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมากในช่วงกลางสัปดาห์ต่ำกว่าระดับ 1,700 จุด ก่อนจะปรับสูงขึ้นเล็กน้อยช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค อาทิ CSI300 (จีน) ฮั่งเส็ง(ฮ่องกง) และ KLCI (มาเลเซีย) โดยดัชนี SET ณ วันที่ 6 ก.ย. 61 ปิดที่ระดับ 1,693.94 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 3-6 ก.ย. 61 ค่อนข้างเบาบางที่ 49,048 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลวิกฤติค่าเงินในตลาดเกิดใหม่หลายประเทศ อาทิ ตุรกีและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3-6 ก.ย. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -6,815 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเกือบทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-7 bps สอดคล้องกับกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกสุทธิ อย่างไรก็ตาม การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20.59 ปี มีผู้สนใจ 3.49 และ 1.91 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 3-6 ก.ย. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -2,305.99 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพันธบัตรที่ครบอายุ
เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 6 ก.ย. 61 เงินบาทปิดที่ 32.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.32 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ เกือบทุกสกุลที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ยกเว้นเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าในระดับใกล้เคียงกับเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.09
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th