Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 61 เกินดุล 752.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 41.3 ของ GDP
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 69.4
- อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
- ยอดขายรถยนต์ในประเทศของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกของสหภาพยุโรป เดือน ส.ค. 61 ขยายตัว ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 สูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาในอัตราที่ชะลอลง โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าหมวดอาหารสดลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูของผักและผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาดในปริมาณมาก ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 61 เท่ากับ 108.9 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้นร้อยละ 2.7 ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 61 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.2
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 61 เกินดุล 752.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,086.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้า (ตามระบบ BOP) ที่เกินดุลเพียง 603.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวสูง และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลเพียง 148.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทข้ามชาติที่ยังมีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 8 เดือนแรกของปี 61 เกินดุล 23,566.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน ส.ค. 61 มีจำนวนทั้งสิน 6,672.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.3 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 115.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน คิดเป็นร้อยละ 96.9 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 96.2 ของยอดหนี้สาธารณะ
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 61 มีจำนวน 153,662 คัน คิดเป็นการหดตัว ร้อยละ -10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -9.6 ซึ่งเป็นการหดตัวทั้งในเขต กทม. ร้อยละ -12.2 และเขตภูมิภาคหดตัวร้อยละ -10.3 ส่งผลให้ใน ไตรมาสที่ 3 ปี 61 หดตัวที่ร้อยละ -3.8
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.ย. 61 ปรับตัวลดลงจากระดับ 70.2 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 69.4 ปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภครู้สึกว่าราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อำนาจซื้อลดน้อยลง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังมีราคาต่ำ นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ลดน้อยลงและสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่มีเริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในปัจจุบันชะลอตัวลง และความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลง
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 61 มียอดคงค้าง 17.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราที่ทรงตัว เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.6
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 61 มียอดคงค้าง 19.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.1
ผู้มีงานทำเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ 37.9 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7 แสนคน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังหักผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบจากเดือนก่อนหน้า หากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผู้มีงานทำภาคเกษตรมีการขยายตัวร้อยละ 3.7 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 และภาคบริการหดตัวที่ร้อยละ -1.6 ส่งผลให้ใน ไตรมาสที่ 3 ปี 61 ผู้มีงานทำขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากขจัดผลทาง ฤดูกาลขยายตัวคงที่ร้อยละ 0.0 จากเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด มีจำนวนผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน หดตัวที่ร้อยละ -15.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ ไตรมาสที่ 3 ปี 61 อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเดือนก่อนหน้า จากยอดขายรถยนต์นั่งที่หดตัวถึงร้อยละ -19.8 ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 59.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 61.3 จุด จากดัชนีหมวดราคา การขนส่ง และการสั่งซื้อใหม่ ที่ปรับลดลงมาก ดัชนีฯ ภาคบริการ (ISM) เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 61.6 จุด สูงสุดในรอบ 13 ปีกว่า จากดัชนีหมวดการจ้างงาน กิจกรรมทางธุรกิจ และการนำเข้า ที่ปรับเพิ่มขึ้นมากเป็นสามอันดับแรก
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ 53.2 จุด จากดัชนีหมวดการส่งออกที่ชะลอลง ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนจากดัชนีย่อยหมวดการจ้างงานใหม่ ทำให้ดัชนี PMI รวม เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 54.1 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.2 โดยอัตราการว่างงานของเยอรมนีและสเปนทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงานของฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและอัตราการว่างงานของอิตาลีลดลงค่อนข้างมาก ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากการค้าปลีกทางอินเตอร์เน็ตที่ชะลอตัวลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม(Caixin) เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.6 จุด โดยดัชนีหมวดการผลิตชะลอตัวลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 43.5 จุด ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 61 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 52.5 จุด จากดัชนีหมวดกิจกรรมทางธุรกิจขยายตัวชะลอลง ขณะที่การจ้างงานขยายตัวต่อเนื่อง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีฯ ของฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนามและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีฯ ของสิงคโปร์ปรับลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.7 จุด ดัชนี PMI ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.5 จุด ส่งผลให้ดัชนี PMI รวมอยู่ที่ระดับ 51.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มและหมวดเครื่องนุ่งห่มขยายตัวดี ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องที่ระดับ 47.9 จุด โดยดัชนีย่อยหมวดการผลิตและยอดสั่งซื้อสินค้าปรับตัวลดลง
มูลค่าส่งออก เดือน ก.ย. 61 หดตัวถึงร้อยละ -8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวในเดือนก่อน โดยมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ หดตัวถึงร้อยละ -11.8 ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -2.1 จากที่ขยายตัวในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 9.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 51.3 จุด เกินระดับ 50 จุดครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดยดัชนีหมวดการผลิตและความเชื่อมั่นธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยยอดขายหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า4 จากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด ลดลงจากระดับ 53.0 จุด ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีหมวดการผลิตลดลงครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ค. 59
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน จากราคาอาหารที่ลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 122.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยความเชื่อมั่นด้านรายได้ปรับตัวดีขึ้น
อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 61 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเกือบทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 61 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.5 จุด จากหมวดค่าจ้าง และยอดสั่งซื้อที่เร่งขึ้น มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าเชื้อเพลิง สินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าโภคภัณฑ์ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 12.8 จากหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนที่เร่งตัวขึ้น ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.0 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเครื่องจักรและเชื้อเพลิงมูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของการนำเข้าสัตว์เครื่องดื่มและเชื้อเพลิง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี SET ปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนสวนทางกับตลาดหลักทรัพย์ DJIA (สหรัฐฯ) แต่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค เช่น STI (สิงคโปร์) KLCI (มาเลเซีย) และ PSEi (ฟิลิปปินส์) เป็นต้น เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณบวกต่อเนื่อง ทำให้เงินไหลเข้าสหรัฐฯ โดยดัชนี SET ณ วันที่ 4 ต.ค. 61 ปิดที่ระดับ 1,729.40 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 1-4 ต.ค. 61 ที่ 60,029 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ สำหรับในสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามการประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 ปี 61 ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งนักลงทุนส่วนมากคาดว่าผลประกอบการดังกล่าวมีแนวโน้มออกมาในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 - 4 ต.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -8,774.84 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-13 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 1-4 ต.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,652.62 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 4 ต.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 32.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.56 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิเงินเยน ยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินวอนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 0.23
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th