Executive Summary
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 61 คิดเป็น 1.75 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 ของสิงคโปร์ (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนำเข้าของจีน เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 15.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของสหราชอาณาจักร เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 20.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนำเข้าของสหราชอาณาจักร เดือน ส.ค. 61 หดตัวร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 61 คิดเป็น 1.75 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 9 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัว ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ย. 61 เพิ่มขึ้น 1.34 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า จากการจ้างงานในหมวดบริการทางธุรกิจและวิชาการที่เพิ่มขึ้นมากถึง 5.4 หมื่นตำแหน่ง ขณะที่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เดือน ก.ย. 61 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 62.7 ของประชากรวัยแรงงาน ส่งผลให้อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 952.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาในหมวดการคมนาคมขนส่งและหมวดที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลง ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าที่ชะลอลงเกือบทุกหมวด ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ชะลอลง และขาดดุลการค้าที่ 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.0 โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฮ่องกงขยายตัวเร่งขึ้นในระดับสูงขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 15.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.4 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด โดยดัชนีหมวดยอดสั่งซื้อสินค้าและธุรกิจใหม่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนี PMI รวมปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 52.1 จุดจากที่ระดับ 52.0 จุดในเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 20.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นอย่างมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ขยายตัวอย่างมากตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 61 หดตัวร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าเบ็ดเตล็ดที่หดตัว ทำให้ขาดดุลการค้าใน เดือน ต.ค. 61 ที่ -1.0 หมื่นล้านปอนด์ ขาดดุลมาโดยตลอดตั้งแต่เก็บข้อมูลในระบบปัจจุบันตั้งแต่ปี 39
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2
มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้นขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 13.9 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าน้ำมันและส่วนประกอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยยอดขายหมวดอาหารและเครื่องใช้ ไฟฟ้าขยายตัวเร่งขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้นขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 61 หดตัวร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่านำเข้าสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์การขนส่งหดตัวลง ส่งผลให้ขาดดุลการค้าลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ -3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 อยู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 51.5 จุด จากอัตราการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในภาคอุตสาหกรรม
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 (ตัวเลขเบืองต้น) ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ด้านยอดค้าปลีกเดือน ส.ค. 61 หดตัวร้อยละ -0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวในอัตราที่น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.7 จากยอดขายของในห้างสรรพสินค้าที่เร่งตัวขึ้น
ดัชนี SET โดยรวมปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) CSI300 (จีน) FTSE100 (UK) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจจีนส่งสัญญาณชะลอลง ประกอบกับที่ธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยดัชนี SET ณ วันที่ 11 ต.ค. 61 ปิดที่ระดับ 1,682.89 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 8-11 ต.ค. 61 ที่ 60,476 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติ สำหรับในสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามการรายงานของกระทรวงการ คลังสหรัฐฯ ในวันที่ 15 ต.ค. 61 ว่าด้วยเรื่อง Currency manipulator ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันต่อตลาดทุนในต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 - 11 ต.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -19,364.58 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสันและระยะกลางปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวส่วนมากปรับลดลง 0-1 bps สอดคล้องกับที่สัปดาห์นี้การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20.42 ปี มีผู้สนใจ 2.53 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 8-11 ต.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -2,459.66 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 11 ต.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 32.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.95 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิเงินริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินเยนและยูโรแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงที่ร้อยละ -1.06
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th