Executive Summary
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 61 มีจำนวน 2.66 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 91.5
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของจีน ในไตรมาสที่ 3 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีน เดือน ก.ย. 61 ขยายตัว ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกของจีน เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 61 ขยายตัว ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 61 มีจำนวน 2.66 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี แต่หดตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล จากการขยายตัวต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เป็นสำคัญนอกจากนี้ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดีเช่นกัน ได้แก่ ฮ่องกง ลาว และไต้หวัน เป็นต้น ส่งผลทำให้เดือน ก.ย. 61 มีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศมูลค่า 140,140 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวจีนหดตัวร้อยละ -14.9 ต่อปี เนื่องจากความวิตกต่อกรณีเรือล่มที่ภูเก็ต
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 91.5 ปรับลดลงจากระดับ 92.5 ในเดือน ส.ค. โดยการลดลงของค่าดัชนีเกิดจากปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง รวมถึงข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ อย่างไรก็ดี ค่าดัชนีในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ระดับ 92.4 จากระดับ 90.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (TISI (E)) อยู่ที่ระดับ 106.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 105.6 ในเดือน ส.ค. เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 61 อุปสงค์ของสินค้าทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 61 มีจำนวน 34,086 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่าหดตัวร้อยละ -3.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 นับตั้งแต่มกราคม ปี 60 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ของปี 61 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 61 มีจำนวน 54,620 คัน คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว ร้อยละ 2.6 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทำให้ 9 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 21.1 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดค้าปลีกที่ชะลอลงในเกือบทุกหมวด ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตที่ขยายตัวเร่งขึ้นในหมวดสินค้าไม่คงทน เชื้อเพลิง และสินค้าวัตถุดิบ ด้านยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -5.3 จากเดือนก่อนหน้า จากยอดสร้างบ้านทุกประเภทที่หดตัวจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.ย. 61 ที่หดตัวร้อยละ -0.6 จากเดือนก่อนหน้า จากยอดใบอนุญาตฯ ประเภทคอนโดมีเนียมที่หดตัวถึงร้อยละ -9.3 จากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาอาหารและยาสูบที่ปรับตัวสูงขึ้น GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 และเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบเกือบ 10 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 52 จากภาคการผลิตที่ชะลอตัวลง ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.1 จากการชะลอตัวของภาคการผลิต ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.0 จากยอดขายสินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ส่วนตัว และเครื่องใช้ในครัวเรือนขยายตัวเร่งขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากการส่งออกสินค้าหมวดเคมีภัณฑ์ที่ขยายตัวชะลอลงขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน จากการนำเข้าสินค้าหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่งที่ขยายตัวชะลอลง และเกินดุลการค้าใน เดือน ส.ค. 61 ที่ 1.2 หมื่นล้านยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 1.7 หมื่นล้านยูโร อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากระดับราคาสินค้าหมวดอาหารตามฤดูกาลที่ปรับเพิ่มขึ้น
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 61 ทรงตัวเท่ากับสองเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากครึ่งปีแรก
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าเกือบทุกหมวดที่หดตัว ขณะที่การส่งออกสินแร่และเชื้อเพลิงขยายตัวเร่งขึ้น ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าสินค้าเกือบทุกหมวดที่หดตัวลง ขณะที่แร่เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรชะลอลง ส่งผลให้เกินดุลการค้าในเดือน ก.ย. 61 ที่ 1.4 แสนล้านเยน ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีราคาหมวดอาหารที่ขยายตัวชะลอลง
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 61 ธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี
มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยการส่งออกหมวดสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซชะลอตัวจากเดือนก่อนค่อนข้างมากขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 14.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดสินค้าเกือบทุกประเภท ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ก.ย. 61 กลับมาเกินดุล 227 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาลดลง และ Part Time หดตัวลง
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 19.3 ในเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.5 ชะลอลงจากร้อยละ 25.4 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 61 ขาดดุล 13.9 พันล้านรูปีด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากราคาอาหารที่ปรับลดลง ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากยอดขายเชื้อเพลิงรถยนต์และอาหารที่ขยายตัวชะลอลง
ดัชนี SET โดยรวมปรับลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน สวนทางกับตลาดหลักทรัพย์ DJIA (สหรัฐฯ) ที่ปรับสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน แต่สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค เช่น CSI300 (จีน) HSI (ฮ่องกง) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดที่ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง ส่งผลต่อการไหลออกของ เงินทุน โดยดัชนี SET ณ วันที่ 18 ต.ค. 61 ปิดที่ระดับ 1,682.91 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 16-18 ต.ค. 61 ที่เพียง 45,896 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนนักลงทุนต่างชาติ สำหรับในช่วงสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 ของสหรัฐฯ ซึ่งจะรายงานในวันที่ 26 ต.ค. 61 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16-18 ต.ค. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -9,409.28 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-6 bps ขณะที่อัตราฯ ระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง 1-7 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 16-18 ต.ค. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,694.86 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 18 ต.ค. 61 เงินบาทปิดที่ 32.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.98 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ริงกิต วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่เงินเยน ยูโร และหยวนอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 0.99
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th