“เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศที่สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปทานที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกจากต่างประเทศที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้าและจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน”
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วย นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง และนายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายนปี 2561 ว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศที่สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปทานที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกจากต่างประเทศที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้าและจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน” โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกันยายน 2561 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.6 ต่อปี เป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 นับตั้งแต่มกราคม 2560 ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 69.2 ปรับตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากราคาพืชผลเกษตรในบางรายการยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากระดับ 67.5 มาอยู่ที่ระดับ 69.6
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนหน้า แต่ยังเป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 23.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาส 3 ของปี 2561 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวได้ร้อยละ 22.8 สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ทำให้ในไตรมาส 3 ปี 2561 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.8 เช่นกัน สำหรับดัชนีวัสดุก่อสร้างในเดือนกันยายน 2561 เท่ากับ 108.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ทำให้ในไตรมาส 3 ปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 ขณะที่ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ เดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 9.7 และในไตรมาส 3 ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนกันยายน 2561 พบว่า ดัชนีผลผลิตด้านเกษตรกรรมยังขยายตัวต่อเนื่องแม้จะไม่มากนัก โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี เป็นการขยายตัวได้ดีในผลผลิตไข่ไก่ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 91.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และสถานการณ์ค่าเงินบาท ส่งผลให้ดัชนี TISI ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ระดับ 92.4 นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกันยายน 2561 มีจำนวน 2.66 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 40.1 ต่อปี นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 37 เดือน ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่น ยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง ลาว และไต้หวัน เป็นต้น ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยมีจำนวน 9.06 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 มูลค่า 474.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 และ 0.7 ต่อปีตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.32 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 204.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า
“เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ของปี 2561 มีการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนยังคงส่งสัญญาณบวกจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศที่สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับด้านอุปทานที่สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน ส่วนเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง สามารถรองรับความผันผวนจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกจากต่างประเทศที่ต้องติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้าและจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน”
1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกันยายน 2561 ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 15.6 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อเดือน และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนกันยายน 2561 หดตัวร้อยละ -10.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -9.6 ต่อเดือน โดยหดตัวจากในเขต กทม. ร้อยละ -9.6 ต่อปี และเขตภูมิภาคร้อยละ -10.3 ต่อปี ส่งผลให้ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 หดตัวร้อยละ -3.7 ต่อปี สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -7.6 ต่อเดือน นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 69.4 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 70.2 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 69.6
2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อเดือน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 13.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวตัวร้อยละ 4.7 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนกันยายน 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อเดือน ส่งผลให้ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 8.8 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนกันยายน 2561 เท่ากับ 108.9 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นสำคัญ ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี
3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนกันยายน 2561 เบิกจ่ายได้จำนวน 278.6 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 256.3 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายประจำ 207.2 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 49.1 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 22.3 พันล้านบาท ทำให้ในปีงบประมาณ 2561 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 2,792.1 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 2,411.8 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 380.3 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 215.1 พันล้านบาท
4. อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าหดตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนกันยายน 2561 มีมูลค่า 20.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน ในตลาดสำคัญ เช่น จีน และออสเตรเลีย เป็นต้น สินค้าที่หดตัวรุนแรงมากในเดือนนี้คือ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปซึ่งหดตัวร้อยละ 4.4 สำหรับ อย่างไรก็ตามด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนกันยายนที่มีมูลค่า 20.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2561 เกินดุลขาดดุลจำนวน 487 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 3.0
5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนกันยายน 2561 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ขณะที่ดัชนีผลผลิตด้านเกษตรกรรมก็ยังขยายตัวต่อเนื่องแม้จะไม่มากนัก โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนกันยายนขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี เป็นการขยายตัวได้ดีในผลผลิตไข่ไก่ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปีทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 91.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และสถานการณ์ค่าเงินบาท ส่งผลให้ดัชนี TISI ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ระดับ 92.4 นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกันยายน 2561 มีจำนวน 2.66 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อเดือน โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวมาเลเซีย เป็นสำคัญ นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดในรอบ 37 เดือน ในขณะที่ นักท่องเที่ยวประเทศอื่น ยังคงขยายตัวได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง ลาว และไต้หวัน เป็นต้น ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยมีจำนวน 9.06 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 มูลค่า 474,565 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 และ 0.7 ต่อปีตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.7 แสนคน ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.32 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนกันยายน 2561 อยู่ที่ระดับ 204.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า
ฉบับที่ 66 /2561
วันที่ 29 ตุลาคม 2561
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง