Executive Summary
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 41.7 ของ GDP
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 68.4
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
- GDP ของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 3 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 61 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงาน
- มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 15.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนำเข้าของจีน เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 21.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน ก.ย. 61 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,781.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.7 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 108.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน คิดเป็นร้อยละ 87.0 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 96.1 ของยอดหนี้สาธารณะ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ต.ค. 61 ปรับตัวลดลงจากระดับ 69.4 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 68.4 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อำนาจซื้อลดน้อยลง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังมีราคาต่ำ นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยลดน้อยลงและสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่มีเริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในปัจจุบันชะลอตัวลงและความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลง
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนต.ค. 61 มีจำนวน 153,478 คัน คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 12.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้งในเขต กทม. ร้อยละ 3.9 และเขตภูมิภาคขยายตัวร้อยละ 1.2 ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 หดตัวที่ร้อยละ -3.3
ผู้มีงานทำเดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 9.5 แสนคน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังหักผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบจากเดือนก่อนหน้า หากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผู้มีงานทำภาคเกษตรมีการขยายตัวร้อยละ 3.7 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 และภาคบริการขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด มีจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน หดตัวที่ร้อยละ -20.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังหักผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -4.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ต.ค. 61 เพิ่มขึ้น 2.5 แสนตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า จากการจ้างงานในหมวดการผลิตสินค้า การศึกษาและสุขภาพ นันทนาการ และการก่อสร้าง ที่ปรับเพิ่มขึ้นมากนอกจากนี้ อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เดือน ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 62.9 ของประชากรวัยแรงงาน อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 61 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงาน ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยภาคเอกชนปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 937.74 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ (ISM) เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 60.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย
ดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน เนื่องจากอุปสงค์ลดลงส่งผลให้ดัชนี PMI รวมปรับลดลงที่ระดับ 50.5 จุดมูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 15.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ชะลอลงเล็กน้อยขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 21.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 61 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากการบริโภคภายในประเทศที่และสินค้าคงคลังที่ลดลง ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวจากเดือนก่อนโดยยอดขายอาหารและเครื่องดื่มและสินค้าในครัวเรือนหดตัว
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากการชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน ขณะที่การบริโภคภาครัฐเร่งตัวขึ้น ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 61 อยู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ระดับ 54.0 จุด โดยหมวดการผลิตและยอดการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าโดยระดับราคาสินค้าทุกหมวดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ระดับราคาหมวดการสื่อสาร และการศึกษาทรงตัว มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 26.1 โดยการนำเข้าธัญพืชและอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้นส่งผลให้ขาดดุลการค้าในเดือน ก.ย. 61 ที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.9 จุด จากอัตราการเติบโตของธุรกิจใหม่ที่เร่งขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 52.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อน จากดัชนีย่อยหมวดคำสั่งซื้อที่ชะลอลง สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคบริการที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 53.7 จุด จากดัชนีย่อยหมวดการเปิดธุรกิจใหม่ที่ชะลอลง ทำให้ดัชนี PMI รวม เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ 53.1 จุด ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากยอดขายหมวดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่หดตัว
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นแตะระดับ 48.6 จุด แต่ยังคงต่ำกว่า 50 จุดสะท้อนภาคการผลิตที่หดตัว โดยยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่และการผลิตยังคงหดตัว
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง และสินแร่และเชื้อเพลิง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -2.7 ชะลอลงจากเดือนก่อน จากหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง และสินแร่และเชื้อเพลิงที่หดตัวส่งผลให้เกินดุลการค้า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 61 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 52.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขาย และอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI รวมเดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ 52.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.6 จุด โดยการผลิตสินค้า ยอดการสั่งซื้อ และอัตราการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาเครื่องนุ่งห่มลดลง มูลค่าการส่งออกเดือน ต.ค. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้น มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกันที่ร้อยละ 17.6 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.9 จุด
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อน จากดัชนีย่อยหมวดการจ้างงานที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 15 เดือน
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) Nikkei225 (ญี่ปุ่น) และ IDX (อินโดนีเซีย) เป็นต้น โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ที่ผลออกมาเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ด้านดัชนี SET ณ วันที่ 8 พ.ย. 61 ปิดที่ระดับ 1,681.73 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 5-8 พ.ย. 61 ที่ 44,274 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ-จีน ในประเด็นนโยบายกีดกันทางการค้าว่าจะสามารถเจรจาตกลงกันสำเร็จหรือไม่ โดย ณ ปัจจุบันคาดว่าผู้นำของทั้งสองประเทศจะเจรจากันในการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา ในช่วงปลายเดือนนี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 8 พ.ย. 61 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 3,981 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 0-5 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 5 - 8 พ.ย. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 296 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 8 พ.ย. 61 เงินบาทปิดที่ 32.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.55 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ เล็กน้อย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.05
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th