รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 22, 2018 13:52 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนก.ย. 61 คิดเป็น 1.77 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
  • GDP ของญี่ปุ่น ไตรมาส 3 ปี 61 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ของสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 3 ปี 61 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีน เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกของจีน เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าส่งออกของสิงคโปร์ เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 20.4 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 19.8
  • เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 61 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี
Economic Indicators: This Week

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 61 คิดเป็น 1.77 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 10 เดือนแรกของปี 61 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัว ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในหมวดการคมนาคมขนส่งและที่อยู่อาศัย สอดคล้องกับยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 61 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายหมวดปั๊มน้ำมันและหมวดค้าปลีกแบบไม่มีหน้าร้านขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.4 และ 13.9 ตามลำดับ

China: mixed signal

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตภาคเหมืองแร่และภาคการผลิตขยายตัวเร่งขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายหมวดเครื่องนุ่งห่มชะลอลง

Japan: worsening economic trend

GDP ไตรมาส 3 ปี 61 (เบื้องต้น) ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาสที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรวมขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.1 และการบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.5 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการชะลอลงในหมวดเครื่องมือสื่อสารและเหล็ก

Eurozone: worsening economic trend

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากดัชนีของทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ที่ลดลง มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวจากเดือนก่อนหน้าจากมูลค่าการส่งออกลดลงของสินค้าในหมวดอาหาร วัตถุดิบ และสินค้าอุตสาหกรรมขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากมูลค่าการนำเข้าลดลงของสินค้าในหมวดอาหาร วัตถุดิบ และสินค้าอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน และเกินดุลการค้าใน เดือน ก.ย. 61 ที่ 13.1 พันล้านยูโร

UK: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 61 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากการลดลงของหมวดสินค้าโภคภัณฑ์และเชื้อเพลิงขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 61 หดตัวร้อยละ -10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทำให้ขาดดุลการค้าในเดือน ก.ย. 61 ที่ 9.3 พันล้านปอนด์ อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหารลดลง

Australia: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาและ Part Time เพิ่มขึ้น

Philippines: improving economic trend

เมื่อวันที่ 16 พ .ย .61 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี ถือเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องและสูงที่สุดในรอบ 9 ปี

South Korea: improving economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของอัตรากำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่อยู่ที่ร้อยละ 4.0

Malaysia: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 12.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 จากยอดขายร้านทั่วไป (Non-Specialised Stores) และการขายที่ไม่มีหน้าร้าน ขณะที่ยอดขายอาหารและเครื่องดื่มชะลอตัวเล็กน้อย GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 6.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากการส่งออกที่ชะลอลง

Singapore: improving economic trend

ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 61 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มูลค่าส่งออกเดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 20.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนจากสินค้าทุกประเภทที่ขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 19.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.0 จากสินค้าถ่านหิน เครื่องดื่ม และอาหารที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

Indonesia: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ขยายตัวเร่งขึ้น มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 23.7 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.2 จากการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 15 พ .ย .61 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี เป็นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค. 61 และเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี

India: worsening economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวชะลอลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.1 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดอาหารที่หดตัวลง มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ -2.3 ในเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 10.5 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ก.ย. 61 ขาดดุล 17.1 พันล้านรูปี

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) Nikkei225 (ญี่ปุ่น) และ TWSE (ไต้หวัน) เป็นต้น โดยความเคลื่อนไหวของ SET ในสัปดาห์นี้มีปัจจัยสำคัญมาจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 3 ปี 61 ที่ประกาศออกมาไม่เป็นไปตามคาด ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากในช่วงต้นสัปดาห์ โดยดัชนี SET ณ วันที่ 15 พ.ย. 61 ปิดที่ระดับ 1,638.83 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 12-15 พ.ย. 61 ที่ 41,154 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามการประชุม EU Summit ในวันที่ 25 พ.ย. 61 ซึ่งคาดว่าสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรจะสามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้นสำหรับกรณี Brexit ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 12-15 พ.ย. 61 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -5,433 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นและระยะกลางส่วนมากปรับลดลง 0-3 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 1-4 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 12-15 พ.ย. 61 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 4,895 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 15 พ.ย. 61 เงินบาทปิดที่ 32.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.14 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อาทิ ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.14

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ