รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม ปี 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 28, 2018 14:17 —กระทรวงการคลัง

“เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2561 ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือน ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวสูงสุดในรอบ 70 เดือน และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวสูงสุดในรอบ 65 เดือน ขณะที่สถานการณ์การส่งออกกลับมาขยายตัวโดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า สำหรับเศรษฐกิจไทยด้านการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเป็นสำคัญ ขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวเล็กน้อย”

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคมปี 2561 ว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2561 ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือน ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวสูงสุดในรอบ 70 เดือน และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวสูงสุด 65 เดือน ขณะที่สถานการณ์การส่งออกกลับมาขยายตัวโดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า สำหรับเศรษฐกิจไทยด้านการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเป็นสำคัญ ขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวต่างชาติยังคงหดตัวเล็กน้อย” โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัว สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 14.1 ต่อปี และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนตุลาคม 2561 กลับมาขยายตัวขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้งในเขต กทม. ร้อยละ 3.9 ต่อปี และเขตภูมิภาคร้อยละ 1.2 ต่อปี นอกจากนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ระดับ 68.4 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีจากทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและการลงทุนในหมวดก่อสร้าง โดยปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 36.0 ต่อปี คิดเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 70 เดือน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 16.8 ต่อปี นอกจากนี้ ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 14.9 ต่อปี และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 65 เดือน ตามการขยายตัวของโครงการก่อสร้างพื้นฐานภาครัฐ สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนตุลาคม 2561 เท่ากับ 108.1 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้นร้อยละ 2.0

อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2561 มีมูลค่า 21.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี โดยการส่งออกขยายตัวในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น CLMV เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 22.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนตุลาคม 2561 ขาดดุลจำนวน 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนตุลาคม 2561 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนตุลาคมขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 0.4 และ 1.6 ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 92.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน โดยค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสำคัญ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปลายปี และการปรับลดลงของราคาน้ำมันนอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2561 มีจำนวน 2.71 ล้านคน หดตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี จากการหดตัวต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวชาวจีน เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 22.4 ต่อปี นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง ลาว กัมพูชา และญี่ปุ่น ขยายตัวได้ดีเช่นกัน ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เดือนตุลาคม 2561 มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศ มูลค่า 141,061 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าหมวดอาหารสดลดลง เนื่องจากเป็นฤดูที่สินค้าผักและผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 201.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.1 เท่า

“เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2561 ได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือน ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวสูงสุดในรอบ 70 เดือน และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวสูงสุด 65 เดือน ขณะที่สถานการณ์การส่งออกกลับมาขยายตัวโดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า สำหรับเศรษฐกิจไทยด้านการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมเป็นสำคัญ ขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวต่างชาติยังคงหดตัวเล็กน้อย”

1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนตุลาคม 2561 ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 14.1 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อเดือน และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัวขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 12.1 ต่อเดือน ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้งในเขต กทม. ร้อยละ 3.9 ต่อปี และเขตภูมิภาคร้อยละ 1.2 ต่อปี ส่งผลให้ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 หดตัวร้อยละ -3.3 ต่อปี สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 9.2 ต่อเดือน อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 68.4 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 69.4 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ราคาพืชผลทางการเกษตรต่ำ นักท่องเที่ยวจีนลดลงและสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่รุนแรงส่งผลให้ในในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 68.0

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีจากทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและการลงทุนในหใวดก่อสร้าง โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 36.0 ต่อปี คิดเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 70 เดือน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า คงตัวร้อยละ 0.0 ต่อเดือน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 16.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.9 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนตุลาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 65 เดือน ตามการขยายตัวของโครงการก่อสร้างพื้นฐานภาครัฐ และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อเดือน ส่งผลให้ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนตุลาคม 2561 เท่ากับ 108.1 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กสูงขึ้นร้อยละ 2.0 ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนตุลาคม 2561 เบิกจ่ายได้จำนวน 468.3 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 447.8 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายประจำ 422.3 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 25.5 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 20.5 พันล้านบาท

4. อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2561 มีมูลค่า 21.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี โดยการส่งออกขยายตัวในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น CLMV เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 22.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนตุลาคม 2561 เกินดุลขาดดุลจำนวน 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนตุลาคม 2561 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนตุลาคมขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 0.4 และ 1.6 ตามลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 92.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน โดยค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสำคัญ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปลายปี และการปรับลดลงของราคาน้ำมันนอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2561 มีจำนวน 2.71 ล้านคน หดตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ 0.1 ต่อเดือน จากการหดตัวต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวชาวจีน เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย ที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 22.4 ต่อปี นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง ลาว กัมพูชา และญี่ปุ่น ขยายตัวได้ดีเช่นกัน ทั้งนี้ ส่งผลทำให้เดือนตุลาคม 2561 มีรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศ มูลค่า 141,061 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าหมวดอาหารสดลดลง เนื่องจากเป็นฤดูที่สินค้าผักและผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.8 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกันยายน 2561 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 201.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.1 เท่า

ฉบับที่ 71 /2561

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2561

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ