Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.36 ต่อปี
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.68 ต่อปี
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ย. 61 เกินดุล 1,632.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 41.82 ของ GDP
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 66.3
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.36 ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอลง โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาจากราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งเป็นสำคัญขณะที่ราคาผัก ผลไม้ และน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.07 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.71
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 61 เท่ากับ 107.2 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดกระเบื้องสูงขึ้นร้อยละ 3.5 จากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กลดลงร้อยละ 0.3 เป็นการติดลบครั้งแรกรอบ 17 เดือน จากการบริโภคเหล็กทรงยาวลดลง ทำให้ในปี 61 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 2.6
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย. 61 เกินดุล 1,632.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,887.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้า (ตามระบบ BOP) ที่เกินดุล 664.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการส่งออก ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 968.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัว ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 11 เดือนแรกของปี 61 เกินดุล 29,327.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 61 มียอดคงค้าง 18.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่ทรงตัวที่ร้อยละ 5.8
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 61 มียอดคงค้าง 19.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.4
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 61 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,808.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.82 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 46.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน คิดเป็นร้อยละ 87.61 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 96.2 ของยอดหนี้สาธารณะ
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ธ.ค. 61 ปรับตัวลดลงจากระดับ 67.5 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 66.3 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยมีปัจจัยลบจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 และปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 61 และปี 62 , ภาคการส่งออกในเดือน พ.ย. 61 ที่ลดลงร้อยละ -0.95, ราคาพืชผลเกษตรทรงตัวในระดับต่ำ, ความกังวลเรื่องสงครามการค้า, นักท่องเที่ยวจีนมีจำนวนน้อยลง และผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกระจุกตัว ขณะที่ปัจจัยบวก ได้แก่ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง, มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งช็อปช่วยชาติ เที่ยวเพื่อชาติ และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 61 มีจำนวน 149,670 คัน คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัด ผลทางฤดูกาล โดยเป็นการหดตัวในเขต กทม. ร้อยละ -3.5 และเขตภูมิภาคขยายตัวร้อยละ 7.5 ส่งผลให้ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสที่ 4 และในปี 61 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 และ -2.9 ตามลำดับ
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 54.1 จุด เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีกว่า จากดัชนีฯ หมวดย่อยในเกือบทุกหมวดที่ปรับตัวลดลง เช่น หมวดการสั่งซื้อใหม่ หมวดคำสั่งซื้อคงค้าง และหมวดการผลิต เป็นต้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน ธ.ค. 61 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด ต่ำสุดในรอบ 34 เดือน เนื่องจากทุกหมวดดัชนีย่อยที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีฯ ที่จัดทำโดย Caixin เดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับ 53.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) อยู่ที่ระดับ 53.9 จุด เพิ่มขึ้นจากระดับ 53.8 จุดในเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดกิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดัชนี PMI รวม (Caixin) ในเดือนเดียวกันอยู่ที่ระดับ 52.2 จุดเพิ่มขึ้นจากระดับ 51.9 จุด ในเดือนก่อน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (ปรับปรุง) เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 52.6 จุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด จากดัชนีย่อยหมวดผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด และเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 59 จากดัชนีย่อยหมวดการจ้างงานใหม่ที่ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าหมวดการสื่อสาร สุขภาพ และการขนส่งหดตัว มูลค่าส่งออก เดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าส่งออกไปจีนหดตัวถึงร้อยละ -13.9 ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.9 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 59.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีย่อยหมวดความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยยอดขายหมวดสินค้าคงทนและเครื่องประดับหดตัวลงถึงร้อยละ -2.1 และ -3.9 ตามลำดับ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 48.0 จุด จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น ขณะที่ดัชนีย่อยหมวดยอดคำสั่งซื้อใหม่โดยเฉพาะจากจีนลดลง และความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 47.7 จุดจากระดับ 48.4 จุดในเดือนก่อน โดยดัชนีย่อยหมวดผลผลิต คำสั่งซื้อใหม่ และยอดส่งออกลดลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 6.0 โดยระดับราคาในหมวดอาหารและขนส่งลดลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยระดับราคาในหมวดอาหารลดลงขณะที่ราคาหมวดอื่นๆ ทรงตัว และราคาหมวดการขนส่งเพิ่มขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดในรอบ 10 เดือน จากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่งขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.4 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทำให้เกินดุลการค้า 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 ส่งผลให้ทั้งปี 61 GDP สิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 3.3
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.0 จุด โดยดัชนีย่อยหมวดต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่หมวดผลผลิตขยายตัวเร่งขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 54.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด และสูงสุดในรอบ 6 เดือน จากดัชนีย่อยหมวดการจ้างงานใหม่และคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่เพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง
ดัชนี SET โดยรวมในสัปดาห์นี้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) FTSE100 (UK) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น จากหลักทรัพย์ในหลายหมวดธุรกิจที่ค่อนข้างทรงตัว อาทิ หมวดบริการธุรกิจ หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดการแพทย์ ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 3 ม.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,560.03 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 2-3 ม.ค. 62 ที่เพียง 35,723 ล้านบาทต่อวัน โดยที่นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีนเรื่องการค้าระหว่างประเทศในช่วงสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2-3 ม.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -4,796 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับลดลง 1-9 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 2-3 ม.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,320 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 3 ม.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 32.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.18 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ที่แข็งค่าขึ้น อาทิ เยน ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.98
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th