Executive Summary
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -1.4 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของจีน ในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (ตัวเลขปรับปรุง) ในเดือนพ.ย. 61 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของอินโดนีเซีย เดือน ธ.ค. 61 หดตัวที่ร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของสิงคโปร์ เดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -15.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -1.4 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -6.2 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในไตรมาส 4 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีและหดตัวร้อยละ -0.5 ต่อไตรมาสหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทำให้ทั้งปี 61 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 4.9
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากราคาในหมวดการคมนาคมที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ชะลอลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9
ผลผลิตอุตสาหกรรม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน พ.ย. 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตหมวดโลหะที่มิใช่เหล็กและธุรกิจที่ใช้เครื่องจักรชะลอตัวลง ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีราคาหมวดอาหารที่หดตัวลงร้อยละ -1.1
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกที่ชะลอลงในเกือบทุกหมวด เช่น น้ำมันจากสัตว์และพืช อาหาร และสารเคมี เป็นต้น ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการชะลอตัวในเกือบทุกหมวด โดยที่การนำเข้าวัตถุดิบหดตัวมากที่สุดที่ร้อยละ -3.2 ก่อน ทำให้เกินดุลการค้าเดือน พ.ย. 61 ที่ 1.9 หมื่นล้านยูโร ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 61 หดตัวร้อยละ -2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการผลิตหมวดถ่านหินและลิกไนท์ที่หดตัวถึงร้อยละ -83.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 ในเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฮ่องกงที่หดตัวลงขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนเดียวกันหดตัวร้อยละ -7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค 61 เกินดุล 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีราคาบ้านที่ก่อสร้างใหม่เฉลี่ย 70 เมือง เดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 ทั้งนี้ ดัชนีราคาฯ ของเมืองหลัก เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และกวางโจว ขยายตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 70 เมือง
อัตราการว่างงาน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงจากร้อยละ 0.8 ในเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -2.4 ชะลอลงจากร้อยละ 4.3 ในเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 61 ขาดดุล 13.1 พันล้านรูปีอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากร้อยละ 4.6 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเชื้อเพลิงที่ชะลอลง ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารหดตัว
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 61 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าอื่นๆ ที่ชะลอลงมาก ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.5 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าสินค้าในหมวดโภคภัณฑ์ สินค้าอุตสาหกรรม และสารเคมี ที่ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ขาดดุลการค้า เดือน พ.ย. 61 ที่ -1.5 หมื่นล้านปอนด์ ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาในหมวดบริการทางการเงินที่หดตัวถึงร้อยละ -4.9
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 61 หดตัวที่ร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าน้ำมันดิบและก๊าซที่หดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.2 ชะลอลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 62 ธนาคารกลางอินโดนีเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1 เดือน หลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้งในปี 61
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นมาจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่อยู่ที่ร้อยละ 3.3
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าหมวดน้ำมันที่หดตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -15.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากมูลค่าการนำเข้าถ่านหิน และเชื้อเพลิงเหมืองแร่ที่ลดลงส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
ดัชนี SET โดยรวมในสัปดาห์นี้ค่อนข้างทรงตัว สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) DAX (เยอรมนี) และ MSCI (เอเชียแปซิฟิก) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 17 ม.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,580.30 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 14-17 ม.ค. 62 ที่ 42,897 ล้านบาทต่อวัน ด้วยแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์การปิดทำการบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯ (Shutdown) ตลอดจนข้อตกลงการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ซึ่งในวันที่ 21 ม.ค. 62 นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรจะเสนอแผนต่อรัฐสภา โดยหากแผนดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบ อาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองของสหราชอาณาจักรได้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14-17 ม.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 6,169 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น 0-2 bps ขณะที่อัตราฯ ระยะยาว ปรับลดลง 0-8 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีมีนักลงทุนสนใจ 3.48 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 14-17 ม.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 2,028 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 17 ม.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 31.67 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.79 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ที่อ่อนค่าลง อาทิ เยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.00
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th