Executive Summary
- มูลค่าการส่งออกในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวที่ร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนำเข้าในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวที่ร้อยละ -8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 93.2
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของจีน ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 และปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของเกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 และปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการส่งออกในเดือน ธ.ค. 61 มีมูลค่า 19,381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวร้อยละ -2.8 จากเดือนก่อนหน้าโดยปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในเดือนดังกล่าวหดตัวส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวต่อเนื่อง อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และอุปกรณ์ และโซลาร์เซลล์ เป็นสำคัญ ขณะที่สินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ หมวดยานยนต์ น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล เป็นต้น ในมิติตลาดคู่ค้า พบว่า ตลาดที่หดตัว ได้แก่ จีน EU15 อินเดีย และเกาหลีใต้ เป็นต้น ขณะที่ตลาดที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และกลุ่ม ASEAN5 เป็นสำคัญ ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกทั้งปี 61 พบว่าขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการนำเข้าในเดือน ธ.ค. 61 มีมูลค่า 18,316 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวร้อยละ -15.3 จากเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ สินค้านำเข้าสำคัญในเดือนดังกล่าวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าหมวดเชื้อเพลิงพลังงาน และสินค้าสินค้าทุน เป็นสำคัญ ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าทั้งปี 61 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านดุลการค้าในเดือน ธ.ค. 61 เกินดุลที่มูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในภาพรวมทั้งปี 61 ดุลการค้าไทยยังคงเกินดุลที่มูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 93.9 ในเดือน พ.ย. เป็นการปรับลดลงโดยมีสาเหตุมาจากการเร่งผลิตสินค้าไปแล้วในเดือน พ.ย. แล้วเพื่อชดเชยก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าของไทย ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (TISI (E)) อยู่ที่ระดับ 105.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 107.4 ในเดือน พ.ย. เนื่องจากผู้ประกอบมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนของสงครามการค้า อย่างไรก็ดี การกระตุ้นการขายของผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นในเดือน ธ.ค. ส่งผลดีต่อยอดคำสั่งซื้อและยอดขาย
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในปี 61 ผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน ธ.ค. 61 ขณะที่หมวดพืชผลสำคัญ และหมวดประมงขยายตัว ร้อยละ 5.5 และ 2.0ตามลำดับ ขณะดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดปศุสัตว์หดร้อยละ -4.9 โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และข้าวโพด ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน สุกร ไก่ และไข่ไก่
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในปี 61 หดตัวที่ร้อยละ -5.7 หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน ธ.ค. 61 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงที่ร้อยละ -2.3 และ -18.6 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดปศุสัตว์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 โดยสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากมีการชะลอการซื้อขายในตลาดล่วงหน้าหลังจากความไม่แน่นอนของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากภาวะการค้าและการส่งออกที่ชะลอตัวลง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 61 มีจำนวน 40,315 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -6.4 ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 23 เดือน จากฐานปีที่แล้วที่มีการขยายตัวสูงเนื่องจากเป็นปีที่ครบสัญญาการถือครองรถยนต์คันแรก ส่งผลให้ไตรมาส 4 และทั้งปี 61 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวได้ร้อยละ 6.8 และ 15.4 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 61 มีจำนวน 73,226 คัน คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ 4.13 ตามยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตันที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ 4.1 ส่งผลให้ทั้งปี 61 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวได้ร้อยละ 22.2 จากปีที่แล้ว
Global Economic Indicators: This Week
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตในหลายหมวดที่ชะลอลง อาทิ เชื้อเพลิง พลังงาน และสินค้าไม่คงทน ยอดขายบ้านมือสอง เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ 5.0 ล้านหลังต่อปี คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -11.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยวที่หดตัวร้อยละ -12.8 และ -11.6 ตามลำดับ สอดคล้องกับราคากลางบ้านมือสอง เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ 253,600 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.4 จากเดือนก่อนหน้า ผลจากราคาบ้านเดี่ยวที่หดตัวร้อยละ -1.8
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี จากภาคบริการและเกษตรที่ขยายตัวชะลอลง นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 11.6 ส่งผลให้ GDP ปี 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.4 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 โดยผลผลิตหมวดเหมืองแร่ขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่ผลผลิตหมวดการผลิตและสาธารณูปโภคชะลอตัวลง การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เดือน ม.ค.-ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีขณะที่การลงทุนภาครัฐชะลอตัวลง
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าเกือบทุกหมวดที่หดตัว ขณะที่การส่งออกสินแร่และเชื้อเพลิงขยายตัวเร่งขึ้น และมูลค่าการนำเข้าเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการนำเข้าเกือบทุกหมวดที่ชะลอลง ขณะที่อุปกรณ์การขนส่งขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค. 61 ที่ 55.3 พันล้านเยนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากความเชื่อมั่นที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี และเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 62 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.10 ต่อปี
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าด้านดัชนีฯ ภาคบริการ เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด (เบื้องต้น) ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน ส่งผลให้ ดัชนีฯ รวม เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ระดับ -7.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -7.6 จุด ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 62 ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราที่สูง รวมถึงการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวถึงร้อยละ 7.6 ทั้งนี้ GDP ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากปี 60 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 62 ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 62 แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่97.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 96.9 จุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย จากราคาที่พักอาศัยที่ชะลอลงและราคาสินค้าเครื่องนุ่งห่มหดตัว
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ GDP ปี 61 ขยายตัวร้อยละ 6.2 ชะลอลงจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.7
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 61 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าโดยราคาสินค้าเกือบทุกหมวดคงที่หรือเปลียนแปลงเพียงเล็กน้อย เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 62 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.3 โดยราคาหมวดเสื้อผ้า และรองเท้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดโดยขยายตัวร้อยละ 2.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.8
อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 61 หดตัวครั้งแรกในรอบ 11 เดือนที่ร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยผลผลิตหมวดการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลง ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายหมวดค้าส่งหดตัวถึงร้อยละ -5.0
อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนคนที่หางาน Part Time เพิ่มขึ้น
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) และ TWSE (ไต้หวัน) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 24 ม.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,620.53 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 21-24 ม.ค. 62 ที่ 55,777 ล้านบาทต่อวัน ด้วยแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์การปิดทำการบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯ (Shutdown) ตลอดจนการเจรจานโยบายการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงตัวเลข GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 61 (ตัวเลขเบื้องต้น) ที่จะประกาศในวันที่ 30 ม.ค. 62 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21-24 ม.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 800 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น 1-8 bps ขณะที่อัตราฯ ระยะยาว ปรับลดลง 4-9 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปีมีนักลงทุนสนใจ 2.51 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 21-24 ม.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,460 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดย ณ วันที่ 24 ม.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 31.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.18 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ที่อ่อนค่าลง อาทิ เยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.18
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th