สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนธันวาคม 2550 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550 ดังนี้
ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ
1.1 ในเดือนธันวาคม 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ครบกำหนดในวันที่ 27 ธันวาคม 2550 จำนวน 5,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 3 ปี จำนวน 5,000 ล้านบาท
สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้รัฐวิสาหกิจนั้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม รวม 2,000 ล้านบาท
1.2 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ ได้ทำการ Roll Over หนี้เดิมรวม 7,800 ล้านบาท
2. การกู้เงินภาครัฐ
เดือนธันวาคม 2550
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงิน 17,500 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล 17,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 500 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 8,000 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 7,000 ล้านบาท และกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน 1,000 ล้านบาท
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 70,707 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 42,500 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 28,207 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ภาครัฐ
เดือนธันวาคม 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 8,010 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 4,222 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 3,788 ล้านบาท
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 21,062 ล้านบาท
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 มีจำนวน 3,209,423 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.27 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,049,743 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 950,469 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 182,416.87 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 26,793 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 26,473 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 7,328 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 20,669 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 1,524 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐไม่มีการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4
การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยมีการเบิกจ่ายเงินกู้สุทธิเพิ่มขึ้น 19,838 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำนวน 18,987.28 ล้านบาท เพื่อชำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างตามสัญญาก่อสร้างโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟเชื่อมสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานดอนเมือง และการออกพันธบัตรในประเทศของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ 3,209,423 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 422,896 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.18 และหนี้ในประเทศ 2,786,527 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.82 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 2,859,755 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.10 และหนี้ระยะสั้น 349,668 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.90 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 6/2551 24 มกราคม 51--
ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
1. การปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐ
1.1 ในเดือนธันวาคม 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ครบกำหนดในวันที่ 27 ธันวาคม 2550 จำนวน 5,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 3 ปี จำนวน 5,000 ล้านบาท
สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้รัฐวิสาหกิจนั้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ทำการ Roll Over หนี้เดิม รวม 2,000 ล้านบาท
1.2 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน วงเงิน 15,000 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ ได้ทำการ Roll Over หนี้เดิมรวม 7,800 ล้านบาท
2. การกู้เงินภาครัฐ
เดือนธันวาคม 2550
กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงิน 17,500 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล 17,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 500 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวม 8,000 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เพื่อลงทุน 7,000 ล้านบาท และกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน 1,000 ล้านบาท
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 70,707 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 42,500 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ 28,207 ล้านบาท
3. การชำระหนี้ภาครัฐ
เดือนธันวาคม 2550
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 8,010 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 4,222 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 3,788 ล้านบาท
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551
กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 21,062 ล้านบาท
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 มีจำนวน 3,209,423 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.27 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,049,743 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 950,469 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 182,416.87 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 26,793 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 26,473 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 7,328 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 20,669 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 1,524 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐไม่มีการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4
การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยมีการเบิกจ่ายเงินกู้สุทธิเพิ่มขึ้น 19,838 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำนวน 18,987.28 ล้านบาท เพื่อชำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างตามสัญญาก่อสร้างโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟเชื่อมสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานดอนเมือง และการออกพันธบัตรในประเทศของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท
หนี้สาธารณะ 3,209,423 ล้านบาท แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 422,896 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.18 และหนี้ในประเทศ 2,786,527 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.82 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 2,859,755 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.10 และหนี้ระยะสั้น 349,668 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.90 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 6/2551 24 มกราคม 51--