Executive Summary
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 62 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 61 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของยูโรโซน ไตรมาสที่ 4 ปี 61 (ปรับปรุงครั้งที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 62 มีจำนวน 157,394 คัน คิดเป็นการขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ -4.6 โดยเป็นการขยายตัวในเขต กทม. ร้อยละ 5.0 เป็นสำคัญ ขณะที่ในเขตภูมิภาคหดตัวที่ร้อยละ -1.1 จากแนวโน้มภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ธ.ค. 61 ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายบ้านใหม่ในภาคใต้ที่ชะลอลงและภูมิภาคมิดเวสต์ที่หดตัว ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 61 หดตัวร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 7.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ระดับ 54.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีย่อยด้านการผลิตที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการ (ISM) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 59.7 จุด จากดัชนีย่อยด้านคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น ด้านยอดขายรถยนต์ เดือน ก.พ. 62 หดตัวร้อยละ -1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายรถยนต์นั่งที่หดตัวถึงร้อยละ -9.8
GDP ไตรมาส 4 ปี 61 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนขยายตัวร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ GDP ทั้งปี 61 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 62 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.3 จุด จากดัชนีย่อยหมวดธุรกิจใหม่และกิจกรรมทางธุรกิจที่เร่งขึ้น
ดัชนี PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อน จากดัชนีย่อยหมวดธุรกิจใหม่ที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ดัชนี PMI รวม (Caixin)เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า มูลค่าส่งออกเดือน ก.พ. 62 หดตัวร้อยละ -21.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากวันหยุดเทศกาลตรุษจีน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -4.9 หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 61 (ปรับปรุงครั้งที่ 2) ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) น้อยกว่าตัวเลขปรับปรุงครั้งก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ระดับ 49.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าจากดัชนีย่อยหมวดปริมาณผลผลิตที่ชะลอลง ดัชนี PMI ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 52.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากดัชนีย่อยหมวดงานใหม่ที่เร่งขึ้น ทำให้ดัชนี PMI รวม เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ระดับ 51.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายอาหารและสินค้าที่ไม่ใช่อาหารที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.1 จุดจากดัชนีย่อยหมวดกิจกรรมภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 61 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากการลงทุนที่ชะลอตัวลงขณะที่การบริโภคขยายตัวดี ด้านยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายทุกหมวดสินค้า มูลค่าส่งออก เดือน ม.ค. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 18.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าวัตถุดิบที่กลับมาขยายตัวและเชื้อเพลิงชะลอตัวลง ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.1 ผลจากการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวดี ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 62 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.5 จุด จากหมวดการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 47.2 จุด ต่ำสุดในรอบ 44 เดือน โดยยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่หดตัวลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารชะลอลง ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดขนส่งและการสื่อสารหดตัวต่อเนื่อง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 62 ปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 48.4 จุด โดยดัชนีย่อยหมวดผลผลิต ยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ และการจ้างงานปรับตัวลดลง ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบที่ขยายตัวเร่งขึ้นในอัตราสูง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อน จากระดับราคาอาหารที่ลดลง ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 62 หดตัวร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตสินค้าหมวดอาหารและเครื่องจักรไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายอาหาร เครื่องดื่มและบุหรี่ที่ลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 62 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 125.1 จุด จากดัชนีหมวดภาวะการจ้างงานที่ลดลงมาก
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากหมวดเคมีภัณฑ์และเครื่องจักรที่ลดลงขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวทรงตัวที่ร้อยละ 1.0 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าจากดัชนีย่อยหมวดราคาวัตถุดิบที่ลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 62 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.3 จุด ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปีครึ่ง โดยดัชนีย่อยหมวดผลลผลิตและยอดงานใหม่ปรับตัวลดลงมาก
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น STI (สิงคโปร์) KLCI (มาเลเซีย) และ MSCI (เอเชียแปซิฟิก) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 7 มี.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,633.21 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 4-7 มี.ค. 62 ที่ 42,296 ล้านบาทต่อวัน ด้วยแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ขณะที่นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ยังคงต้องติดตามนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปที่กำลังพิจารณาว่าจะนำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) กลับมาใช้อีกหรือไม่ หลังจากที่เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4-7 มี.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -6,558 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นและระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 0-5 bps จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่อัตราฯ ระยะกลางบางส่วนปรับลดลง 0-1 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 4-7 มี.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -2,501 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 7 มี.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 31.89 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.26 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.71
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th