Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน มี.ค. อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ. 62 เกินดุล 6,504.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 62 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มี.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในเดือน มี.ค. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 69.0 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 67.6
- หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 61 อยู่ที่ 12.83 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 78.6 ต่อ GDP
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) ของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 56.1 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวเร่งขึ้น ได้แก่ ราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดที่สูงขึ้นร้อยละ 3.8 โดยเฉพาะผักสด เช่น มะนาว ผักคะน้า ผักชี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศที่ร้อนจัดทำให้พืชผักเสียหาย ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มพลังงานกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยสูงขึ้นร้อยละ 2.1 ทั้งนี้เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.6
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. 62 เกินดุล 6,504.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 2,012.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากทั้งดุลการค้า (ตามระบบ BOP) และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุลเพิ่มขึ้น โดยดุลการค้าเกินดุล 3,454.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวสูง และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 3,050.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามการจ่ายผลตอบแทนการลงทุนที่ลดลง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 2 เดือนแรกของปี 62 เกินดุลรวม 8,516.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 62 มียอดคงค้าง 18.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.5 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราทรงตัวที่ร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 62 มียอดคงค้าง 19.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.8 และ 5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค. 62 เท่ากับ 107.7 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการขยายตัวของดัชนีราคาหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ร้อยละ 11.1 ต่อปี จากไม้นำเข้าราคาสูงขึ้น ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี ตามราคาปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 62 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนมี.ค. 62 มีจำนวน 180,784 คัน คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 0.9 โดยเป็นการขยายตัวในเขต กทม. ร้อยละ 0.6 และในเขตภูมิภาคร้อยละ 2.8 จากแนวโน้มภาคเกษตรกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ไตรมาสที่ 1 ของปี 62 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทยในเดือน มี.ค. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 69.0 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 67.6 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ประกอบกับ เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าและการที่อังกฤษจะออกจากสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป (Brexit)
หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 61 อยู่ที่ 12.83 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 78.6 ต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 77.9 ในไตรมาสก่อนหน้า (ตัวเลขปรับปรุง) โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเร่งขึ้นของสินเชื่อเกือบทุกประเภท อย่างไรก็ตาม ภาพรวมคุณภาพสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากสัดส่วน NPL ซึ่งปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ หากไม่รวมสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้ครัวเรือนกู้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ หนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ร้อยละ 65.7 ต่อ GDP
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีย่อยในหมวดการจ้างงานและหมวดราคาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 56.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อน จากดัชนีย่อยในหมวดกิจกรรมด้านธุรกิจและการสั่งซื้อสินค้าใหม่ ที่ลดลงมากด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากยอดค้าปลีกในหมวดสินค้ากีฬา นันทนาการ หนังสือ และเพลง รวมถึงหมวดห้างสรรพสินค้า ที่หดตัวร้อยละ -8.2 และ -4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน ก.พ. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดคำสั่งซื้อหมวดอุปกรณ์คมนาคมที่หดตัวร้อยละ -2.0 เป็นสำคัญ และยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน มี.ค. 62 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายรถบรรทุกที่ขยายตัวเร่งขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยทางการจีนและ Markit เดือน มี.ค. 62 อยู่เกินระดับ 50 จุดครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ระดับ 50.5 และ 50.8 จุด ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีย่อยทุกหมวด สอดคล้องกับดัชนีฯ ภาคบริการ ที่จัดทำโดยทางการจีน และ Markit เดือนเดียวกันที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 54.8 และ 54.4 จุด ตามลำดับ จากดัชนีย่อยหมวดธุรกิจใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลดลงของราคาในหมวดสื่อสารและขนส่งเป็นหลัก
ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายทุกหมวดที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดอาหารเครื่องดื่มและเชื้อเพลิงที่ชะลอตัวลง อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 62 อยู่ที่ร้อยละ 7.8 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ จากระดับราคาสินค้าเกือบทุกหมวดที่เพิ่มขึ้น
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (ปรับปรุง) เดือน มี.ค. 62 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.2 จุด จากความต้องการจ้างงานมากขึ้น ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 62 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 จุด จากระดับ 52.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 62 หดตัวร้อยละ -10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายสินค้าทุกหมวดที่หดตัวลง ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 62 ลดลงมาอยู่ที่ 48.0 จุด จากดัชนีย่อยหมวดผลผลิต การจ้างงาน และยอดสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 62 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.0 จุด จากยอดขายผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง ขณะที่ดัชนี PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นแตะระดับ 44.8 จุด จากยอดคำสั่งซื้อและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 15.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากสินค้าเชื้อเพลิงที่ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.4 จากหมวดอาหารที่ชะลอลง ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4.6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 62 หดตัวร้อยละ -8.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่นหดตัวลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -6.7 ทำให้ในเดือน มี.ค. 62 เกินดุลการค้า 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 62 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องมือสื่อสารที่ปรับตัวลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 62 เพิ่มขึ้นแตะระดับ 50.3 จุด และอยู่เหนือระดับ 50 จุดครั้งแรกในปีนี้ โดยดัชนีฯ ของเมียนมาร์และฟิลิปปินส์ลดลงจากเดือนก่อนแต่ยังเกินระดับ 50 ดัชนีฯ ของเวียดนาม ไทย และอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเกินระดับ 50 ขณะที่ดัชนีฯ ของสิงคโปร์และมาเลเซียลดลงจากเดือนก่อนและต่ำกว่าระดับ 50
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 62 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม บ้าน ไฟฟ้า และการศึกษาทรงตัว ในขณะที่หมวดอื่นราคาลดลง จำนวนนักท่องเที่ยว เดือน ก.พ. 62 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
มูลค่าส่งออก เดือน ก.พ. 62 หดตัวร้อยละ -5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าเชื้อเพลิง แร่ และเคมีภัณฑ์ที่ชะลอตัว ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวสูงสุดในรอบ 11 เดือนที่ร้อยละ -9.4 จากการหดตัวของสินค้าเชื้อเพลิงแร่ธาตุ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 62 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.0 จุด จาก 46.3 จุดในเดือนก่อน จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 62 ธนาคารกลางอินเดียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ต่อปี ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเดือน มี.ค. 62 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.6 และ 52.0 จุด ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนี PMI รวมลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.7 จุด
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงต้นสัปดาห์และลดลงช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น FTSE100 (สหราชอาณาจักร) HSI (ฮ่องกง) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 4 เม.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,644.22 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 1-4 เม.ย. 62 ที่ 41,299 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้า ยังคงต้องติดตามผลการเจรจา Brexit ซึ่งมีเส้นตายการพิจารณาร่างในวันที่ 12 เม.ย. 62 ซึ่งหากไม่ได้รับการอนุมัติ สหราชอาณาจักรจะต้องถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปแบบไม่มีข้อตกลงใดๆ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1-4 เม.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 619 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้น 0-10 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้ การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี มีนักลงทุนสนใจถึง 4.59 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 1-4 เม.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -838 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 4 เม.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 31.77 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.33 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ ยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินเยน ริงกิต และวอน อ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.38
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th