Executive Summary
- มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนำเข้าในเดือน มี.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมี.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 62 ขยายตัวที่ ร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มี.ค. 62 หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 62 หดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 96.3
- GDP ของเกาหลีใต้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 62 มีมูลค่า 21,440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่คิดเป็นส่วนประกอบหลักของการหดตัว อาทิ สินค้า Hard Disk Drive แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกล และน้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่ กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจาก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไก่แปรรูป และยางพารา เป็นต้น ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวเป็นบวก อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในมิติตลาดคู่ค้า พบว่า กลุ่มตลาดหลักที่ขยายตัวได้แก่ ญี่ปุ่นและกลุ่ม CLMV ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ หดตัว ทั้งนี้ การส่งออกในไตรมาส 1 ปี 62 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการนำเข้าในเดือน มี.ค. 62 มีมูลค่า 19,436 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นหดตัวที่ร้อยละ -7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสินค้านำเข้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ สินค้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป และสินค้าทุน ขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญที่ยังขยายตัว ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิงพลังงาน และสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 62 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับดุลการค้าในเดือน มี.ค. 62 เกินดุลมูลค่า 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไตรมาส 1 ปี 62 ดุลการค้าของไทยเกินดุล 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐเช่นเดียวกัน
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 62 มีจำนวน 3.47 ล้านคน หดตัวเล็กน้อย ร้อยละ -0.7 ต่อปี (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า หดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า) ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยเป็นผลจากการหดตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่หดตัวลงร้อยละ -1.87 ต่อปี เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ นักท่องเที่ยวอินเดีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น ที่ขยายตัวร้อยละ 34.66 5.35 และ 9.28 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 62 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน มี.ค. 62 มีมูลค่ารวม 184,451 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.3 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวของรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวสวีเดน ที่หดตัวร้อยละ -24.6 ต่อปี เป็นสำคัญ และไตรมาสที่ 1 ปี 62 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 573,798 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ยังคงมีอยู่สูง ประกอบกับมีการจัดงานมอเตอร์โชว์ในช่วงปลายเดือนถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในไตรมาสแรกขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 13.9
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 62 มีจำนวน 63,103 คัน คิดเป็นการขยายตัว ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อปรับผลทางฤดูกาล โดยขยายตัวตามปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตันที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน มี.ค. 62 หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน มี.ค. 62 ผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดหมวดปศุสัตว์และประมงที่ร้อยละ 1.4 และ 1.9 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตสินค้าในหมวดพืชผลสำคัญหดตัวที่ร้อยละ -2.9 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไก่สุกร ไข่ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ กลุ่มไม้ผล
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 62 หดตัว ร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมหดตัวที่ร้อยละ -0.7 หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน มี.ค. 62 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงที่ร้อยละ -6.5 และ -17.5 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดปศุสัตว์ขยายตัวที่ร้อยละ 19.4 โดยสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง กลุ่มไม้ผล ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก สุกร ไก่ และไข่ไก่
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 96.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 95.6 ในเดือน ก.พ. เป็นค่าที่สูงสุดในรอบ 74 เดือน เป็นการปรับขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 การปรับเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีฯ มาจากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภายในประเทศ โดยมีการปรับเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่งซื้อทั้งในกลุ่มสินค้าคงทนและสินค้าไม่คงทน จากกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ อาทิ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น รวมถึงการเร่งผลิตชดเชยวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตและอัตรากำลังการใช้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (TISI (E)) อยู่ที่ระดับ 104.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 105.4 ในเดือน ก.พ. เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายบ้านใหม่ เดือน มี.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดขายบ้านใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -22.2 จากเดือนก่อนหน้า ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน มี.ค. 62 หดตัวร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดสร้างบ้านทาวน์โฮมส์ที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน มี.ค. 62 ที่หดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม ที่หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ยอดขายบ้านมือสองอยู่ที่ 5.2 ล้านหลังต่อปีหรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากยอดขายบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมที่หดตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ราคากลางบ้านมือสองอยู่ที่ 259,400 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อนหน้าผลจากราคาบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 62 (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ -7.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -7.2 จุด และต่ำกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อยที่ระดับ -7.0 จุด
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนหน้า จากยอดขายสินค้าของใช้ในครัวเรือน อาหาร และเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้น ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตเกือบทุกหมวดหดตัว อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 62 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ -0.10 ต่อปี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 62 หดตัวร้อยละ -9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยดัชนีหมวดย่อยภาคการผลิตหดตัวถึงร้อยละ -10.5 ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 62 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดค้าส่งหดตัวที่ร้อยละ -6.9
เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 62 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันตั้งแต่เดือน พ.ย. 61
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากราคาหมวดอาหาร ขนส่ง การสื่อสาร และสันทนาการและวัฒนธรรมที่ปรับเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 1 ปี 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.4 โดยส่วนใหญ่ราคาสินค้าทุกหมวดปรับตัวเพิ่มขึ้น บางหมวดหมวดทรงตัว ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดร้านอาหาร โรงแรม และ สันทนาการและวัฒนธรรมปรับตัวลดลง
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 1 ปี 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะหดตัวร้อยละ -0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนหดตัวถึงร้อยละ -8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่การส่งออกขยายตัวชะลอลงมากที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 101.6 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 99.8
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น DAX (เยอรมนี) STI (สิงคโปร์) และ TWSE (ไต้หวัน) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 25 เม.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,673.32 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 22-25 เม.ย. 62 ที่ 43,477 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามการประกาศตัวเลข GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 1 ปี 62 (เบื้องต้น) ในวันที่ 26 เม.ย. 62 (ตามเวลาสหรัฐฯ) และติดตามผลการเจรจาด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 22-25 เม.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 353 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุโดยมากปรับเพิ่มขึ้น 0-2 bps โดยในสัปดาห์นี้ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 30 ปี มีนักลงทุนสนใจ 2.79 และ 2.24 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 22-25 เม.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -6,151 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 25 เม.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 32.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.77 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ ยูโร วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ขณะที่เงินยูโร และริงกิตแข็งค่าขึ้น และเงินเยนค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.29
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th