Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน เม.ย. 62 เกินดุล 1,784.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 1 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 สูงขึ้นร้อยละ 1.1 ชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย. 62 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 เล็กน้อย โดยสินค้ากลุ่มอาหารสดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้น โดยสูงขึ้นร้อยละ 5.3 ตามการสูงขึ้นของผักสด ข้าวสาร และเนื้อสุกร เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าในกลุ่มพลังงานกลับมาหดตัวอีกครั้ง โดยลดลงร้อยละ -0.5 ปรับลดลงตามภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะปรับราคาสูงขึ้น ตามค่าโดยสารรถขสมก. บขส. และค่าโดยสารรถตู้วิ่งระหว่างจังหวัดที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.5
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 62 เท่ากับ 107.6 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการขยายตัวของดัชนีราคาหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ร้อยละ 11.2 ต่อปี จากไม้นำเข้าราคาสูงขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี ตามความต้องการคอนกรีตผสมเสร็จที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหดตัวร้อยละ -3.3 ต่อปี จากการแข่งขันด้านราคากับเหล็กนำเข้าจีน
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -3.8 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -6.5 หดตัว ครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยเป็นการหดตัวทั้งในเขต กทม. ร้อยละ -0.8 และเขตภูมิภาคที่ร้อยละ -4.7 ส่งผลให้ปริมาณรถจักรยานยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 62 หดตัวอยู่ที่ ร้อยละ -0.9
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน เม.ย. 62 เกินดุล 1,784.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 6,080.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นที่ 81.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าการส่งออกที่ลดลง ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 1,702.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ตามรายรับภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 4 เดือนแรกของปี 62 เกินดุลรวม 16,381.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 62 มียอดคงค้าง 18.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.8 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 62 มียอดคงค้าง 20.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.1 ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายบ้านใหม่ เดือน เม.ย. 62 อยู่ที่ 6.73 แสนหลังต่อปี คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -6.9 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าที่ค้างส่ง การส่งของ และสินค้าคงคลังที่ปรับลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่ระดับบริการ (ISM) เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 56.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการจ้างงานและสินค้าคงคลังที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จุด ต่ำกว่าระดับ 50 จุด PMI ภาคการบริการ เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 51.8 จากระดับ 51.7 ในเดือนก่อนหน้า
PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 49.4 จุด ต่ำกว่าระดับ 50 จุดสะท้อนถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรม PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน พ.ค. 62 ทรงตัวที่ระดับ 50.2 จุด PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 52.7 จุด จากที่ระดับ 54.5 จุดในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนี PMI รวม ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลง ดัชนี PMI อุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 52.7 โดยดัชนีหมวดย่อยภาคการผลิตปรับตัวลดลง ขณะที่ภาคบริการปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 52.5 จุด โดยดัชนีหมวดย่อยเกือบทุกหมวดปรับตัวดีขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.2 โดย ยอดขายสินค้าหมวดอาหารขยายตัวในอัตราสูง มูลค่าการส่งออกเดือน เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 20.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 62 ธนาคารกลางออสเตรเลียมีประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยยะที่ระดับ 48.4 จุด โดยดัชนีหมวดย่อยธุรกิจใหม่หดตัวเร่งขึ้น GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าโดยภาคการผลิตขยายตัวชะลอลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.6
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด ทำให้ดัชนี PMI รวม เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 7.6 ต่อกำลังแรงงานรวม ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
PMI อุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องที่ระดับ 46.9 จุดลดลงจากที่ระดับ 48.4 จุดในเดือนก่อนหน้า โดยยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่และผลผลิตปรับตัวลดลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 62 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.2 เพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ย. 61
PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวสูงขึ้นที่ระดับ 52.7 จุด PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 50.2 จุด จากระดับ 51.0 จุดในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากช่วงเลือกตั้งในช่วงต้นเดือน
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 49.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 34 เดือน ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 51.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด จากดัชนีย่อยหมวดกิจกรรมภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 62 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง ด้านมูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของมูลค่านำเข้าเชื้อเพลิงแร่ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 อยู่ระดับ 48.8 จุด ลดระดับลงจากเดือนก่อนหน้า
PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 48.4 จุด อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นในระดับสูง
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน และเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) FTSE (สหราชอาณาจักร) และ JCI (อินโดนีเซีย)เป็นต้นทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 5 มิ.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,648.46 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 4-5 มิ.ย. 62 ที่ 59,714 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4-5 มิ.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 10,624 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นโดยมากปรับเพิ่มขึ้น 0-2 bps ขณะที่อัตราฯ ระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง 3-20 bps โดยในสัปดาห์นี้ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี มีนักลงทุนสนใจ 3.25 เท่าของวงเงินประมูลทั้งนี้ระหว่างวันที่ 4-5 มิ.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 29,772 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 5 มิ.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 31.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.35 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เงินเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.88
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th