Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 64.8
- อัตราการว่างงานในเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนเม.ย. 62 คิดเป็น 1.81 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 95.9
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 1 ปี 62 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกของจีน เดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือน พ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -8.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน พ.ค. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 66.2 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 64.8 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในอนาคต ภาวะเศรษฐกิจไทยและกำลังซื้อของประชาชนที่ยังฟื้นตัวช้า ประกอบกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น
ผู้มีงานทำเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน ลดลง 3.2 แสนคน หรือหดตัวที่ร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังหักผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.3 หากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ผู้มีงานทำภาคเกษตรมีการหดตัวลงที่ร้อยละ -5.0 ภาคอุตสาหกรรมหดตัวที่ร้อยละ -0.6 และภาคบริการขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.3 แสนคน ขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังหักผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 62 คิดเป็น 1.81 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 4.0 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อเดือน หลังปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 5 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวร้อยละ -3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนพ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 95.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 95.0 จากเดือนก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 6.3 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การปรับเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีมีปัจจัยจากการบริโภคภาคภายในประเทศเป็นสำคัญ และการได้รับแรงสนับสุนจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ประกอบกับการขยายตัวของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเนื่องจากสภาพอากาศเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (TISI (E)) อยู่ที่ระดับ 102.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.9 ในเดือน เม.ย. เนื่องจากผู้ประกอบการมีคาดว่าภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง
Global Economic Indicators: This Week
การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน พ.ค. 62 เพิ่มขึ้น 7.5 หมื่นตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 2.2 แสนตำแหน่งจากการจ้างงานในหมวดภาครัฐ วิศวกรรมโยธา และค้าปลีก ที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 62.8 ของประชากรวัยแรงงานระดับหน้า และอัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 62 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม ด้านรายได้เฉลี่ยภาคเอกชน เดือน พ.ค. 62 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 951.48 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ และอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าจากราคาสินค้าในหมวดนันทนาการ การศึกษาและการสื่อสาร การคมนาคม เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ที่ปรับตัวลดลง
GDP ไตรมาส 1 ปี 62 (ปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.2 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 62 หดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตเกือบทุกหมวดหดตัวลง โดยเฉพาะผลผลิตหมวดชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวลงถึงร้อยละ -10.5
มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.3 โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยังหดตัวต่อเนื่อง ในขณะที่การส่งออกไปยังญี่ปุ่นขยายตัว มูลค่าการนำเข้าเดือน พ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -8.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 41.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 โดยราคาอาหารและยาสูบปรับตัวสูงขึ้น ผลผลิตอุตสาหกรรม พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 โดยการผลิตขยายตัวชะลอลง ยอดค้าปลีก พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.7
ดุลการค้า เม.ย. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากมูลค่าส่งออกสินค้าหมวดผลิตภณฑ์แร่ขยายตัวเร่งขึ้นขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 62 หดตัวร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากการนำเข้าสินค้าทุกหมวดที่ลดลงโดยเฉพาะ สินค้าธัญพืช ส่งผลให้ขาดดุลการค้าในเดือนที่ -3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยภาคการผลิตผลผลิตชะลอตัวลงมาก
มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.3 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือน พ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.1
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ขาดดุลการค้าใน เดือน เม.ย. 62 ที่ 9.6 พันล้านปอนด์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 62 หดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตของสินค้าทุนหดตัวมากที่สุด อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 1 ปี จากราคาสินค้าในหมวดอาหาร และเสื้อผ้าที่เพิ่มสูงขึ้น
ผลผลิตอุตสาหกรรม เม.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากการขยายตัวของสินค้าในทุกภาคการผลิตยอดค้าปลีก เม.ย. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.27 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าจากยอดค้าปลีกที่ชะลอลง
ยอดค้าปลีก เม.ย. 62 หดตัวร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากยอดขายสินค้าทางการแพทย์ที่ชะลอตัวลง อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาเพิ่มขึ้น ขณะที่คนหางาน Part Time ลดลง
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 62 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และแร่ที่ขยายตัวเร่งขึ้น
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในต่างประเทศ เช่น DAX (เยอรมนี) STI (สิงคโปร์) และ PSEi (ฟิลิปปินส์)เป็นต้นทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 13 มิ.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,674.14 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 10-13 มิ.ย. 62 ที่ 49,306 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้า ยังคงต้องติดตามผลการประชุม G20 ระดับผู้นำประเทศที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 28-29 มิ.ย. นี้ โดยเฉพาะประเด็นการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ว่าจะมีท่าทีต่อไปอย่างไร ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 10-13 มิ.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 8,195 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุ ปรับลดลง 0-16 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 10-13 มิ.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 2,760 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 13 มิ.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 31.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.50 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เงินยูโร ริงกิต และหยวน ขณะที่เงินเยน วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.50
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th