Executive Summary
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ค. ปีงปม. 62 หดตัวร้อยละ -9.4 ต่อปี
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ค. ปีงปม. 62 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนพ.ค. 62 เกินดุลจำนวน 34.8 พันล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน พ.ค. 62 ขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ค.62 หดตัว ร้อยละ -15.3 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 62 หดตัวที่ ร้อยละ -4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม ภายในประเทศเดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ค. 62 ขยายตัว ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 1 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง)
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ค. ปีงปม. 62 เบิกจ่ายได้ทังสิน 171.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -9.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 8 เดือนแรก ที่ร้อยละ 63.7 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 161.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 8 เดือนแรกที่ร้อยละ 64.5 ทั้งนี้แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 128.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -10.1 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 8 เดือนแรกที่ร้อยละ 72.2 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 33.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.1 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 8 เดือนแรก ที่ร้อยละ 36.4 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 10.4 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -39.3 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม 8 เดือนแรกที่ร้อยละ 56.7 ทั้งนี้รายจ่ายที่สำคัญได้แก่ งบอุดหนุนของกรมทางหลวง 7.6 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 4.5 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 3.7 พันล้านบาท
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ค. ปีงปม. 62 ได้จำนวน 307.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี โดยมาจาก (1) รายได้จาก 3 กรมภาษีขยายตัวร้อยละ 10.7 ต่อปี จากภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่ขยายตัวร้อยละ 67.6 ต่อปีเป็นสำคัญ แต่ (2) รายได้จากหน่วยงานอื่นหดตัวร้อยละ -21.2 ต่อปี จากรายได้จากส่วนราชการอื่นที่หดตัวลงร้อยละ -36.8 ต่อปี
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน พ.ค. 62 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 34.8 พันล้านบาททั้งนี้และเมื่อรวมกับดุลเงิน นอกงบประมาณที่ขาดดุล -18.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 16.2 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 319.3 พันล้านบาท
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน พ.ค. 62 มีมูลค่า 69,262 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงเร่งขึนมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 โดยเป็นผลจากการเร่งขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.0
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ค.62 หดตัวร้อยละ -15.3 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาลโดยหดตัวจากหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดินจัดเก็บให้ ร้อยละ -12.8 ต่อปี เป็นสำคัญ ทำให้ 5 เดือนแรกของปี 62 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -2.5 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ แหล่งที่มาของการหดตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่หดตัวร้อยละ -5.8 มาจากผลไม้กระป๋องและน้ำตาลทราย เป็นสำคัญ กลุ่มยานยนต์ที่หดตัวร้อยละ -3.9 ทั้งจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่หดตัวร้อยละ -8.8 จากการหดตัวของฮาร์ดดิสไดร์ฟเป็นสำคัญ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวได้แก่ กลุ่มแอร์ คอมเพรสเซอร์ที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 นอกจากนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพ.ค. อยู่ที่ร้อยละ 67.7 ของกำลังการผลิตรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า หดตัวร้อยละ -3.5 ต่อเดือน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของเหล็กที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ -6.9 และ -4.1 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ 5 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศ หดตัวร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน พ.ค. 62 ผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 1.1 และ 1.5 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตสินค้าในหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -10.9 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มไม้ผล ไก่ สุกร และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก และกุ้งขาวแวนนาไม
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 62 ขยายตัว ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตร พบว่า ในเดือน พ.ค. 62 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงที่ร้อยละ 12.2 และ 10.7 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีราคาในหมวด พืชผลสำคัญหดตัวที่ร้อยละ -2.9 โดยสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา กลุ่มไม้ผล สุกร ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม
Global Economic Indicators: This Week
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน (ตัวเลขปรับปรุง) หรือขยายตัวร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เพิ่มขึ้นจากตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนยอดขายบ้านใหม่ เดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -7.8 จากช่วงเดียวกันปีระดับก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากยอดขายบ้านใหม่ทางภาคตะวันตกที่หดตัวลงอย่างมาก ยอดคำสั่งซือสินค้าคงทน เดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดคำสั่งซื้อเครื่องมือด้านการขนส่งหดตัวค่อนข้างมาก
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในเดือนก่อนหน้า จากยอดขายสินค้าของใช้ในครัวเรือน และเครื่องนุ่งห่ม ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ-1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตหมวดเหล็ก และเหล็กกล้า โลหะประดิษฐ์ และธุรกิจที่ใช้เครื่องจักรที่หดตัวร้อยละ -5.1 -2.2 และ -5.9 ตามลำดับ อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ -7.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -6.5 จุด โดยความเชื่อมั่นด้านราคาในปัจจุบันลดลงมากที่สุด ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 62 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 47.8 จุด เพิ่มขึนเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด แต่ดัชนีย่อยหมวดปริมาณผลผลิตที่ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน มิ.ย. 62 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 53.4 จุด เพิ่มขึนจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด จากดัชนีย่อยหมวดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว ทำให้ดัชนี PMI รวม เดือน มิ.ย. 62 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.8 จุด
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อนหน้า จากยอดขายสินค้าหมวดเครื่องสำอาง สินค้าคงทน และเครื่องนุ่งห่มอาหารที่เร่งขึ้น
มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 61 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าหมวดเครื่องดื่มและยาสูบ และเครื่องจักร และอุปกรณ์การขนส่งที่หดตัวลง ขณะที่อาหารและปศุสัตว์ขยายตัวเร่งขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -4.3 จากเดือนก่อนหน้า ทำให้ขาดดุลการค้า 34.7 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 62 หดตัวสูงที่ร้อยละ -9.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าประเภทน้ำมันสำเร็จรูปที่มูลค่าการส่งออกลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -17.7 หดตัวต่ำสุดในรอบ 3 ปีกว่า ชะลอลงจากการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 207 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดยระดับราคาสินค้าส่วนใหญ่ทรงตัว ที่เหลือปรับขึ้น ลงเพียงเล็กน้อย
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 0.8 โดยระดับราคาหมวดเสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 หดที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 โดยผลผลิตสินค้าประเภทสิ่งทอชะลอตัวลงมากที่สุด
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อนหน้า จากยอดขายสินค้าหมวดอาหารที่ชะลอลง ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 62 หดตัวร้อยละ-3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตทุกหมวดหดตัวลง อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
ดัชนี SET ในสัปดาห์นีปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อน โดนเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค เช่น STI (สิงคโปร์) JCI (อินโดนีเซีย) และ PSEi (ฟิลิปปินส์) เป็นต้นทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 27 มิ.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,731.64 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 24-27 มิ.ย. 62 ถึง 62,609 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามประเด็นการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนว่าจะบทสรุปในเร็ว ๆ นี้หรือไม่ ทังนี ระหว่างวันที่ 24-27 มิ.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติซือหลักทรัพย์สุทธิ 15,207 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุ ปรับเพิ่มขึน 0-5 bps โดยในสัปดาห์นี้ ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทังนีระหว่างวันที่ 24-27 มิ.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,631 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึนจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 27 มิ.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 30.77 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.88 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เงินยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึนร้อยละ 0.66
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th