นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนมกราคม 2551 ซึ่งจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับประมาณการ โดยจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเพียง 570 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551) ยังคงสูงกว่าประมาณการ 2,718 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนมกราคม 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 96,423 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 570 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.9) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่ำกว่าประมาณการ 2,371 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 โดยสาเหตุหลักมาจากฐานภาษีที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง นอกจากนี้ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ยังจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,860 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.5 เป็นผลกระทบเนื่องจากการที่ประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรอรถยนต์นั่งใหม่ประเภท E20 ที่ราคาจะปรับลดลง นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นยังนำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 1,487 และ 925 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.7 และ 20.2 ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า และภาษีน้ำมันฯ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,146 1,028 และ 800 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 14.5 และ 12.9 ตามลำดับ
ในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ อปท. ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ งวดแรกของปีงบประมาณ 2551 จำนวน 10,015 ล้านบาท
2. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มกราคม 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 421,723 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,718 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.4) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 312,088 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,013 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.6) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7,230 3,258 และ 1,353 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.5 2.1 และ 135.3 ตามลำดับ (สูงกว่า
ช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.0 11.3 และ 4.9 ตามลำดับ) ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเนื่องจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้นเพราะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเป็นผลจากการบริโภคที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการนำเข้าสินค้าก็มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่า ประมาณการ 3,158 และ 1,721 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.6 และ 12.6 ตามลำดับ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยทั้ง เงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับที่ต่ำเป็นปัจจัย หลัก
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 95,566 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 867 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.3 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะทำให้ในปีนี้จัดเก็บได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.7) ทั้งนี้ ภาษีเกือบทุกประเภทจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,750 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 เนื่องจากในช่วงนี้ประชาชนได้ชะลอการซื้อรถยนต์นั่งใหม่เพื่อรอรถยนต์นั่งที่สามารถเติมน้ำมัน E20 ที่มีอัตราภาษีที่ลดลง ส่วนภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,324 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 33,281 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ2,661 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,377 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม-ธันวาคม 2550) มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลดาร์สหรัฐและเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 15.45 และ 12.9 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 34,279 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,197 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.9 (แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.8) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ได้นำส่งรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 20,691 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,730 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7) เป็นผลจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ที่ยังสูงกว่าเป้าหมาย 2,718 ล้านบาท และทิศทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นภายหลังจากการตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 นี้ จะยังอยู่ในวิสัยที่น่าจะจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.495 ล้านล้านบาท) อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 8/2551 11 กุมภาพันธ์ 51--
1. เดือนมกราคม 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 96,423 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 570 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.9) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่ำกว่าประมาณการ 2,371 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 โดยสาเหตุหลักมาจากฐานภาษีที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง นอกจากนี้ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ยังจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,860 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.5 เป็นผลกระทบเนื่องจากการที่ประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรอรถยนต์นั่งใหม่ประเภท E20 ที่ราคาจะปรับลดลง นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นยังนำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 1,487 และ 925 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.7 และ 20.2 ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า และภาษีน้ำมันฯ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,146 1,028 และ 800 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 14.5 และ 12.9 ตามลำดับ
ในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ อปท. ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ งวดแรกของปีงบประมาณ 2551 จำนวน 10,015 ล้านบาท
2. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มกราคม 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 421,723 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,718 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.4) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลังจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 312,088 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,013 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.6) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7,230 3,258 และ 1,353 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.5 2.1 และ 135.3 ตามลำดับ (สูงกว่า
ช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.0 11.3 และ 4.9 ตามลำดับ) ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเนื่องจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้นเพราะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเป็นผลจากการบริโภคที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการนำเข้าสินค้าก็มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่า ประมาณการ 3,158 และ 1,721 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.6 และ 12.6 ตามลำดับ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยทั้ง เงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับที่ต่ำเป็นปัจจัย หลัก
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 95,566 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 867 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.3 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะทำให้ในปีนี้จัดเก็บได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.7) ทั้งนี้ ภาษีเกือบทุกประเภทจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,750 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.3 เนื่องจากในช่วงนี้ประชาชนได้ชะลอการซื้อรถยนต์นั่งใหม่เพื่อรอรถยนต์นั่งที่สามารถเติมน้ำมัน E20 ที่มีอัตราภาษีที่ลดลง ส่วนภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,324 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 33,281 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ2,661 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 11.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,377 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม-ธันวาคม 2550) มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลดาร์สหรัฐและเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 15.45 และ 12.9 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 34,279 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,197 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.9 (แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.8) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ได้นำส่งรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 20,691 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,730 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7) เป็นผลจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 ที่ยังสูงกว่าเป้าหมาย 2,718 ล้านบาท และทิศทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นภายหลังจากการตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 นี้ จะยังอยู่ในวิสัยที่น่าจะจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.495 ล้านล้านบาท) อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 8/2551 11 กุมภาพันธ์ 51--