Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ก.ย. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 60.9 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 59.3
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 62 คิดเป็น 1.82 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- ผู้มีงานทำเดือน ก.ย. 62 มีจำนวน 37.2 ล้านคน หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ก.ย. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 60.9 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 59.3 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 65 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 57 แม้ว่ารัฐบาลเริ่มมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมามากขึ้นแต่ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก ประกอบกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนและปัญหา Brexit
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 62 คิดเป็น 1.82 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์cimอยู่ที่ 3.9 ล้านล้านบาท ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพcคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ผู้มีงานทำเดือน ก.ย. 62 มีจำนวน 37.2 ล้านคน หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัว 3 เดือนติดต่อกัน และหากขจัดผลทางฤดูกาลหดตัวร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรเป็นสำคัญ อาทิ ภาคการผลิตที่หดตัวร้อยละ -7.3 ภาคการก่อสร้างหดตัวร้อยละ -6.1 และภาคบริการหดตัวร้อยละ -1.8 ส่งผลให้ 8 เดือนแรก ปี62 ผู้มีงานทำหดตัวที่ร้อยละ - 0.5 นอกจากนี้ ผู้ว่างงานมีจำนวน 3.8 แสนคน อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมที่มีจำนวน 37.7 ล้านคน และไตรมาสที่ 3 อัตราการว่างอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 62 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ระดับและ-2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลที่ -5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐด้านการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ย. 62 เพิ่มขึ้น 1.36 แสนตำแหน่งต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากการจ้างงานในภาคการค้าปลีกที่ลดลงเป็นสำคัญ อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 63.2 ของประชากรวัยแรงงาน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าด้านรายได้เฉลี่ยภาคเอกชน เดือน ก.ย. 62 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 979.93 ดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ Caixin เดือน ก.ย. 62 อยู่.ที่ระดับ 51.3 จุด ปรับตัวลดลงจากที่ระดับ 52.1 จุด โดยได้รับผลกระทบจาก Backlog ของการบริการที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้นจึงส่งผลให้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวม ปรับตัวสูงขึนเล็กน้อยที่ระดับ 51.9
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 62 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าส่งออกหมวดเครื่องจักรและเคมีภัณฑ์ที่หดตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 14.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้านำเข้าหมวดอาหารเป็นสำคัญ ส่งผลให้ขาดดุลที่ 19.9 หมื่นล้านปอนด์ ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 62 หดตัวร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตหมวดสินค้าทุนและพลังงานที่หดตัว
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าการส่งออกไปยังจีนและฮ่องกงหดตัว ในขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 โดยยอดขายสินค้าหมวดวัฒนธรรมและสันทนาการเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 62 ทรงตัวเท่ากับสามเดือนก่อนหน้าที่ ร้อยละ 3.3 ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 62 ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากผลผลิตจากเหมืองแร่ที่เพิ่มขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากยอดขายค้าปลีกที่ชะลอตัวลง
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าส่งออกกล้วยลดลงอย่างเห็นได้ชัดขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่านำเข้าสินค้าหมวดธัญพืชหดตัวลง ส่งผลให้ขาดดุลการค้าลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ -2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -4.1 หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.5 จากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงจำนวนมาก
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นช่วงต้นสัปดาห์และปรับลดลงช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น KOSPI (เกาหลีใต้) JCI (อินโดนีเซีย) และ MSCI (เอเชียแปซิฟิก) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 10 ต.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,607.50 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 7 - 10 ต.ค. 62 ที่ 42,440 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้า ยังคงต้องติดตามผลของการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่คาดว่าจะมีข้อสรุปในคืนวันที่ 11 ต.ค. 62 นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7 - 11 ต.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 1,405 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นและระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 0-3 bps ขณะที่อัตราฯ ระยะกลางปรับลดลง 0-1 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 7 - 10 ต.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 685 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 10 ต.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 30.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.87 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงิน ยูโร วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่เงินเยนและริงกิตอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.79
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง