Executive Summary
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ย. 62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 92.1 จากระดับ 92.8 ในเดือนก่อนหน้า
- GDP ของจีน ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3 ปี 62 (ตัวเลขเบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ตามความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ที่ยังคงชะลอตัว แต่ขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อเดือนเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ในไตรมาส 3 ของปี 62 และในรอบ 9 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวร้อยละ -9.2 และ -5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือนก.ย.62 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 92.1 จากระดับ 92.8 ในเดือนก่อนหน้า ลดลงต่ำสุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 โดยมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบทุกรายการปรับลดลง รวมถึงผู้ประกอบการมีความกังวลต่อเศรษฐกิจ ที่จะได้รับผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐ - จีน และการแข็งค่ของเงินบาทที่จะเป็นปัจจัยต่อภาคการส่งออกให้หดตัวลง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังกังวลต่อการบริโภคภายในประเทศว่าจะชะลอตัวลงจากปัจจัยที่บางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลต่อกำลังซื้อในภูมิภาคลดลง สำหรับดัชน๊ฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 103.4 จากระดับ 102.9 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนหลังของปี 62 จะดีขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากยอดค้าปลีกในหลายหมวดที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า เช่น หมวดยานยนต์ หมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดร้านขายสินค้าทั่วไป เป็นต้น สอดคล้องกับด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 ที่หดตัวร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ระดับสวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากการผลิตสินค้าในหลายหมวดที่หดตัว เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าคงทน และเครื่องมือเครื่องจักร เป็นต้น
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 และเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 27 ปีกว่า จากภาคการผลิตที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.4 จากการเร่งขึ้นของภาคการผลิตและเหมืองแร่ ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.5 จากยอดขฟายสินค้าหมวดเครื่องสำอาง โทรคมนาคมและเครื่องใช้.ในครัวเรือนขยายตัวเร่งขึ้น มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.2 โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฮ่องกงขยายตัวเร่งขึ้นในระดับสูงขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -8.5 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.5 ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และดัชนีราคาผู้ผลิต เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 98.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 99.2 จุด
ผลผลิตอุตสาหกรรม (ตัวเลขปรับปรุง) เดือน ส.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี โดยผลผลิตหมวดเหล็กและเหล็กกล้า โลหะที่มิใช่เหล็กและเครื่องจักรไฟฟ้าที่หดตัว ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีราคาหมวดอาหารที่ชะลอลงร้อยละ 0.3
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 ทรงตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้าน ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงยานยนต์ที่ชะลอลง
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาเพิ่มขึ้น
มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าในหมวดเหมืองแร่ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนค่อนข้างมากขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -5.7 หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดสินค้าน้ำมันและก๊าซ ส่งผลให้ขาดดุลที่ 160.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 62 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีของสิงคโปร์ ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากการ Re-export ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 และมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าเครื่องดื่มขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 4.0 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1 และเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 62 ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากร้อยละ 0.4 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -13.8 หดตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ -6.8 ในเดือนก่อน ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 10.9 พันล้านรูปี จากราคาสินค้าในหมวดยอดขายอัญมณีและเชื้อเพลิงที่ชะลอลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากราคาสินค้าพลังงานที่ลดลงเป็นสำคัญ ด้านมูลค่าการส่งออกเดือน ส.ค 62 หดตัวร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากสินค้าส่งออกหมวดผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่หดตัวลง มูลค่าการนำเข้าเดือน ส.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากสินค้านำเข้าหมวดผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่หดตัวลง ทำให้ดุลการค้าเดือน ส.ค. 62 เกินดุล 14.7 พันล้านยูโร
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) Nikkei225 (ญี่ปุ่น) และ HSI (ฮ่องกง) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 17 ต.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,632.80 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 15 - 17 ต.ค. 62 ที่ 56,826 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่าชาติ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในช่วงสุดสัปดาห์ยังคงต้องติดตามผลการพิจารณาข้อตกลง Brexit ของสภาผู้แทนราษฎร สหราชอาณาจักรว่าจะผ่านมติหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 17 ต.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -1,149 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้น 0-10 bps โดยในสัปดาห์นี้มี การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 30 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจถึง 2.07 และ 2.99 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 15 - 17 ต.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,014 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 17 ต.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 30.35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.11 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงิน เยนและเงินหยวน ขณะที่เงินยูโร ริงกิต วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.16
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง