Executive Summary
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 ต่อปี
- มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย. 62 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 62 หดตัวต่อเนื่อง ร้อยละ -21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. ปีงปม. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. ปีงปม. 62 หดตัวร้อยละ -11.2 ต่อปี
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 62 พบว่าดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 63.2 พันล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ก.ย. 62 หดตัว ณ ระดับราคาที่แท้จริงที่ ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ย.62 กลับมาขยายตัว ร้อยละ 8.5 ต่อปี
- GDP ของเกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงที่ร้อยละ 2.1 และ 0.6 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตสินค้าในหมวดปศุสัตว์หดตัวที่ ร้อยละ -0.9 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน กลุ่มไม้ผล ไข่ไก่ และไก่ ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กุ้งขาวแวนนาไม และสุกร ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ก.ย. 62 ขยายตัว ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตร พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในหมวด ปศุสัตว์และพืชผลสำคัญที่ร้อยละ 6.6 และ 2.0 ตามลำดับขณะที่หมวดประมงราคาหดตัวที่ร้อยละ -10.1 โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มไม้ผล สุกร ไก่ และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาวแวนนาไม ทั้งนี้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า
นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. มีจำนวน 2.90 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 ต่อปี (และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า) โดยเป็นผลจากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวจีน ที่ขยายตัวร้อยละ 31.6 ต่อปี เป็นสำคัญ และนักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ นักท่องเที่ยวอินเดีย ลาว และญี่ปุ่น ที่ขยายตัวร้อยละ 26.9 , 16.8 และ 9.0 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 62 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.70 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี (ไตรมาสที่ 2 ปี 62 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8.97 ล้านคน ขยายตัวในอัตราชะลอที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี) สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน ก.ย. 62 มีมูลค่ารวม 139,621 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของรายได้จากนักท่องเที่ยวจีน ที่ขยายตัวร้อยละ 31.6 ต่อปีเป็นสำคัญ และไตรมาสที่ 3 ปี 62 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 476,675 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี (ไตรมาสที่ 2 ปี 62 รายได้ 395,626 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี)
มูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย. 62 มีมูลค่า 20,481 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เมื่อดูรายละเอียดมิติกลุ่มสินค้า พบว่า สินค้าส่งออกที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ยังขยายตัวดี อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทองคำ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับอื่น ๆ เป็นต้น ด้านมิติตลาดคู่ค้า พบว่า ตลาดส่งออกที่ขยายตัวในเดือนดังกล่าว ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอาเซียน ทั้งนี้การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก ปี 62 ยังคงหดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ย. 62 มีมูลค่า 19,206 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลุ่มสินค้านำเข้าที่หดตัวได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ขณะที่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งยังขยายตัวในเดือนดังกล่าว ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วง 9 เดือนแรกปี 62 ยังคงหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับดุลการค้าในเดือน ก.ย. 62 ยังคงเกินดุลมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยช่วง 9 เดือนแรกของปี 62 ดุลการค้าของไทยเกินดุล 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 62 มีจำนวน 33,277 คัน หดตัวที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -2.1 โดยเป็นผลจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวและการเข้มงวดที่มากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ไตรมาส 3 ของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งชะลอลงที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 62 มีจำนวน 42,918 คัน หดตัวต่อเนื่องร้อยละ -21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัว ร้อยละ -9.0 เมื่อปรับผลทางฤดูกาล ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -20.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ สถานการณ์น้ำท่วม และความเข้มงวดที่มากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ของสถาบันการเงิน ทำให้ในไตรมาส 3 ของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวที่ร้อยละ -11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ก.ย. ปีงปม. 62 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 288.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี ทำให้ทั้งปีงปม. 62 เบิกจ่ายได้ 3,043.2 คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมทั้งปี ที่ร้อยละ 93.5 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 258.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี หรือเบิกจ่ายทั้งปีได้ 2,788.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมทั้งปีที่ร้อยละ 92.9 ทั้งนี้แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 201.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.6 ต่อปี หรือทั้งปีเบิกจ่ายได้ 2,401.1 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมทั้งปีที่ร้อยละ 98.0 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 56.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.6 ต่อปี หรือทั้งปีเบิกจ่ายได้ 387.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมทั้งปีที่ร้อยละ 70.3 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 30.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 37.5 ต่อปี หรือทั้งปีเบิกจ่ายได้ 254.9 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมทั้งปีที่ร้อยละ 93.5
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)ในเดือน ก.ย. ปีงปม. 62 ได้จำนวน 229.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -11.2 ต่อปี โดยมาจาก(1) รายได้จาก 3 กรมภาษีหดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี และ (2) รายได้จากหน่วยงานอื่นหดตัวร้อยละ -62.5 ต่อปี จากรายได้รับจากรัฐวิสาหกิจหดตัวลงร้อยละ -69.7 ต่อปี ทำให้ทั้งปีงปม. 62 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิได้ 2,563,068 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ก.ย. 62 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุล จำนวน 63.2 พันล้านบาททั้งนี้และเมื่อรวมกับดุลเงิน นอกงบประมาณที่เกินดุล 63.8 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้เกินดุล 0.7 พันล้านบาท และเงินคงคลังณ สิ้นเดือน ก.ย. 62 ทำให้ทั้งปี งปม. 62 ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 504.7 พันล้านบาท และทั้งปีงบประมาณ 62 เงินคงคลังอยู่ที่ระดับ 513.0 พันล้านบาท
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ก.ย. 62 มีมูลค่า 63,205 ล้านบาท คิดเป็นการหดตัว ณ ระดับ ราคาที่แท้จริงที่ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -3.3 โดยเป็นผลจากการชะลอลงของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าที่หดตัวร้อยละ -9.7 จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาส 3 ของปี 62 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริงหดตัว ร้อยละ -5.3 โดยเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากใช้จ่ายภายในประเทศหดตัวร้อยละ -2.2 และจัดเก็บจากนำเข้า หดร้อยละ -10.6
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนก.ย.62 กลับมาขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี กลับมาขยายตัวได้ในรอบ 6 เดือนและขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยเป็นการขยายตัวจากหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดินจัดเก็บให้ ร้อยละ 11.8 ต่อปีเป็นสำคัญ ทำให้ในไตรมาส 3 ของปี 62 และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -2.3 และ -4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีราคาบ้าน เดือน ส.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากราคาบ้านในภาคใต้ และมิดเวสท์ (Midwest) ที่เพิ่มขึ้น ด้านยอดขายบ้านใหม่ เดือน ส.ค. 62 หดตัวร้อยละ -0.7 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล)จากยอดขายบ้านใหม่ในภาคตะวันตก และนอร์ทอีส(Northeast) ที่หดตัว ระดับด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบืองต้น) เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.1 จุด ดัชนี PMI ภาคบริการ (ตัวเลขเบืองต้น) เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 51.0 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.9 จุด ส่งผลให้ ดัชนี PMI รวม (ตัวเลขเบืองต้น) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 51.2 จุด จากระดับ 51.0 จุดในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ระดับ -7.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ระดับ -6.5 ด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (ตัวเลขเบืองต้น) เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 45.7 จุด ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคบริการ (ตัวเลขเบื้องต้น) เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.6 จุด ส่งผลให้ /ดัชนี PMI รวม (ตัวเลขเบืองต้น) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 50.2 จุด จากระดับ 50.1 จุดในเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.2 จากสินค้าหมวดแร่เชื้อเพลิงและเครื่องจักรกลที่ หดตัว ด้านมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือน ก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -11.9 จากการนำเข้าสินค้าหมวดสินแร่ละเชื้อเพลิงที่หดตัวลง ขณะที่เคมีภัณฑ์ขยายตัวเร่งขึ้น ส่งผลให้ขาดดุลการค้าในเดือน ก.ย. 62 ที่ 1.2 แสนล้านเยน
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 62 ทรงตัวที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 2.35 ในเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตภาคการผลิตหดตัว ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายสินค้าหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยาสบหดตัวในอัตราสูง
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ 3 ไตรมาสแรกขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนหดตัวที่ร้อยละ -1.7 จากร้อยละ -3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.7 จากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 98.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 96.9 จุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.5 โดยระดับราคาสินค้าหมวดส่วนใหญ่ลดลง โดยเฉพาะการสื่อสารและสันทนาการลดลงอย่างเห็นได้ชัด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าเกือบทุกหมวดคงที่หรือเปลี่ยนแปลงเพียเล็กน้อย ยกเว้นดัชนีราคาหมวดเสื้อผ้าที่หดตัวน้อยลงมากจากเดือนก่อนหน้า
อัตราการว่างงานไตรมาสที่ 3 ปี 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.2 ต่อกำลังแรงงานรวม
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยระดับราคาในหมวดการขนส่งที่ลดลง การส่งออก เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -6.3 จากสินค้าหมวดหมวดอุตสาหกรรม การนำเข้าหดตัวร้อยละ -10.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -11.9 จากการนำเข้าสินค้าหมวดอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เคมีภัณฑ์หดตัวลง ส่งผลให้ขาดดุลการค้า ที่ 31.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง
เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 62 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 5.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 62 ที่ร้อยละ 6.0
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น DJIA (สหรัฐฯ) ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 24 ต.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,620.97จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 21 - 24 ต.ค. 62 ที่ 50,047 ล้านบาทต่อวัน โดย นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 21 - 24 ต.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ -1,206 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุ 1 เดือน- 3ปี ปรับเพิ่มขึ้น 1-2 bps ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวลดลง 0-4 bps โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 16 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจถึง 1.87 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 21 - 24 ต.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,522.18 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 24 ต.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 30.28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.24 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงิน เยนและเงินหยวน ขณะที่เงินยูโร ริงกิต วอน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.06
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง