นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงข่าวรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมกราคม 2551 ว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคมสามารถขยายตัวได้อย่างสมดุลมากขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญทั้งจากอุปสงค์ภายในประเทศผ่านการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนและส่งผลให้การนำเข้าปรับตัวดีขึ้นมาก ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง นอกจากนี้การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลยังคงขยายตัวต่อเนื่อง บ่งชี้ถึงบทบาทภาครัฐในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนมกราคมของปี 2551 แสดงถึงบทบาทของรัฐบาลในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยรายจ่ายงบประมาณในเดือนมกราคมของปี 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 158.4 พันล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.2 ต่อปี โดยรายจ่ายลงทุนในเดือนมกราคมอยู่ที่ 53.0 พันล้านบาท ขยายตัวถึงร้อยละ 336.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายประจำในเดือนมกราคมอยู่ที่ 93.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 25.3 ต่อปี ทั้งนี้ รายจ่ายงบประมาณที่ขยายตัวสูงมากเนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับฐานการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ต่ำกว่าปกติจากการอนุมัติงบประมาณปี 2550 ล่าช้า สำหรับรายได้ภาษีของรัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เท่ากับ 114.0 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บจากภาษีฐานรายได้อยู่ที่ 34.6 พันล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้ดี ในด้านภาษีฐานการบริโภคอยู่ที่ 43.2 พันล้านบาท ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 16.4 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการนำเข้าที่ขยายตัวดีขึ้น
2. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2550 ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ในเดือนมกราคม ขยายตัวถึงร้อยละ 12.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในระดับสูงและการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นตามความชัดเจนทางการเมือง ดังจะเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมกราคมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 71.2 จุด สำหรับเครื่องชี้การบริโภค จากปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม 2550 ยังคงขยายตัวในระดับสูงมากที่ร้อยละ 52.5 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอัญมณีเป็นหลัก ด้านเครื่องชี้การบริโภคด้านสินค้าคงทนมีสัญญาณของการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือนมกราคม 2551 ขยายตัวสูงมากที่ร้อยละ 32.8 ต่อปี เป็นผลจากการปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้ E20 เป็นเชื้อเพลิงที่เริ่มบังคับใช้ในเดือน มกราคม 2551 ทำให้ยอดขายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2551 เร่งตัวขึ้น ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม 2551 ปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี จากที่หดตัวถึงร้อยละ -17.7 ต่อปีในเดือนธันวาคม 2550 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนในระดับฐานรากเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่หดตัวมาตลอดทั้งปี 2550
3. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นมากเช่นกัน โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมกราคมขยายตัวถึงร้อยละ 61.2 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการนำเข้ารายการพิเศษ เช่น เครื่องบินและแท่นขุดเจาะน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่หักรายการพิเศษดังกล่าวแล้วยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 27.1 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าหมวดเครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ในด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมกราคมขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี บ่งชี้ว่าการลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้น สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนธันวาคมที่หดตัวร้อยละ -16.6 ต่อปี
4. การส่งออกในเดือนมกราคม 2551 ยังคงขยายตัวในระดับสูง โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมอยู่ที่ 14.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวที่ร้อยละ 33.3 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะยานพาหนะ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ สินค้าเกษตรกรรม และเครื่องประดับอัญมณี ในขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดของประเทศเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และตะวันออกกลาง มีอัตราขยายตัวที่สูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นมากตามการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยการนำเข้าในเดือนมกราคม มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 49.1 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลงทุนและการผลิตที่เร่งตัวขึ้น ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนและมูลค่านำเข้าวัตถุดิบที่ขยายตัวสูงมาก นอกจากนี้ มูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงยังคงขยายตัวดีในระดับสูงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับ ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนที่ -0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าปรับตัวสูงขึ้นมากกว่ามูลค่าการส่งออกมาก
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานในเดือนมกราคม 2551 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจากการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ขณะที่ผลผลิตด้านการเกษตรชะลอลงเล็กน้อย โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนมกราคม ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนมกราคมที่ยังคงขยายตัวในระดับสูงมากที่ร้อยละ 31.7 ต่อปี บ่งชี้ถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง นอกจากนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2551 อยู่ที่ระดับ 86.0 ปรับตัวสูงขึ้นมากจากระดับ 79.8 ในเดือนธันวาคม 2550 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคบริการจากการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือนมกราคมมีจำนวน 1.45 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 10.9 ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้นช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เครื่องชี้ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมกราคม 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนธันวาคม 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวชะลอลงของผลผลิตปาล์มน้ำมัน ข้าวนาปี จากการที่เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวไปแล้วก่อนหน้า และปริมาณฝนที่ตกชุกในเดือนมกราคมทำให้การเก็บเกี่ยวยางพาราลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรยังมีการขยายตัวในระดับสูงที่ ร้อยละ 10.2 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนธันวาคม 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ตามความต้องการสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะพืชพลังงานทดแทนส่งผลให้รายได้เกษตรยังขยายตัวได้ดี
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคง โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2551 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 92.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 87.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นหลายเท่าตัว ขณะที่เสถียรภาพในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าในหมวดอาหาร โดยดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวถึงร้อยละ 28.0 ต่อปี ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานเดือนธันวาคม 2550 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ร้อยละ 38.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ของ GDP ค่อนข้างมาก
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 2/2551 28 กุมภาพันธ์ 2551--
1. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนมกราคมของปี 2551 แสดงถึงบทบาทของรัฐบาลในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยรายจ่ายงบประมาณในเดือนมกราคมของปี 2551 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 158.4 พันล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.2 ต่อปี โดยรายจ่ายลงทุนในเดือนมกราคมอยู่ที่ 53.0 พันล้านบาท ขยายตัวถึงร้อยละ 336.0 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายประจำในเดือนมกราคมอยู่ที่ 93.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 25.3 ต่อปี ทั้งนี้ รายจ่ายงบประมาณที่ขยายตัวสูงมากเนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับฐานการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ต่ำกว่าปกติจากการอนุมัติงบประมาณปี 2550 ล่าช้า สำหรับรายได้ภาษีของรัฐบาลจาก 3 กรมจัดเก็บซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เท่ากับ 114.0 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บจากภาษีฐานรายได้อยู่ที่ 34.6 พันล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี สะท้อนถึงรายได้ของประชาชนและผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้ดี ในด้านภาษีฐานการบริโภคอยู่ที่ 43.2 พันล้านบาท ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 16.4 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการนำเข้าที่ขยายตัวดีขึ้น
2. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2550 ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ในเดือนมกราคม ขยายตัวถึงร้อยละ 12.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในระดับสูงและการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นตามความชัดเจนทางการเมือง ดังจะเห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมกราคมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 71.2 จุด สำหรับเครื่องชี้การบริโภค จากปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม 2550 ยังคงขยายตัวในระดับสูงมากที่ร้อยละ 52.5 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอัญมณีเป็นหลัก ด้านเครื่องชี้การบริโภคด้านสินค้าคงทนมีสัญญาณของการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือนมกราคม 2551 ขยายตัวสูงมากที่ร้อยละ 32.8 ต่อปี เป็นผลจากการปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้ E20 เป็นเชื้อเพลิงที่เริ่มบังคับใช้ในเดือน มกราคม 2551 ทำให้ยอดขายรถยนต์ในเดือนมกราคม 2551 เร่งตัวขึ้น ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม 2551 ปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี จากที่หดตัวถึงร้อยละ -17.7 ต่อปีในเดือนธันวาคม 2550 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนในระดับฐานรากเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่หดตัวมาตลอดทั้งปี 2550
3. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นมากเช่นกัน โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมกราคมขยายตัวถึงร้อยละ 61.2 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการนำเข้ารายการพิเศษ เช่น เครื่องบินและแท่นขุดเจาะน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนที่หักรายการพิเศษดังกล่าวแล้วยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 27.1 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าหมวดเครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ในด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมกราคมขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี บ่งชี้ว่าการลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวขึ้น สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์เดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 11.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนธันวาคมที่หดตัวร้อยละ -16.6 ต่อปี
4. การส่งออกในเดือนมกราคม 2551 ยังคงขยายตัวในระดับสูง โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมอยู่ที่ 14.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวที่ร้อยละ 33.3 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะยานพาหนะ เครื่องอิเลคทรอนิกส์ สินค้าเกษตรกรรม และเครื่องประดับอัญมณี ในขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดของประเทศเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และตะวันออกกลาง มีอัตราขยายตัวที่สูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นมากตามการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยการนำเข้าในเดือนมกราคม มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 14.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 49.1 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลงทุนและการผลิตที่เร่งตัวขึ้น ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนและมูลค่านำเข้าวัตถุดิบที่ขยายตัวสูงมาก นอกจากนี้ มูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงยังคงขยายตัวดีในระดับสูงตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับ ดุลการค้าในเดือนมกราคมขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนที่ -0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าปรับตัวสูงขึ้นมากกว่ามูลค่าการส่งออกมาก
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานในเดือนมกราคม 2551 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจากการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ขณะที่ผลผลิตด้านการเกษตรชะลอลงเล็กน้อย โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนมกราคม ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนมกราคมที่ยังคงขยายตัวในระดับสูงมากที่ร้อยละ 31.7 ต่อปี บ่งชี้ถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง นอกจากนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2551 อยู่ที่ระดับ 86.0 ปรับตัวสูงขึ้นมากจากระดับ 79.8 ในเดือนธันวาคม 2550 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคบริการจากการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือนมกราคมมีจำนวน 1.45 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 10.9 ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้นช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เครื่องชี้ภาคการเกษตรยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมกราคม 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนธันวาคม 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวชะลอลงของผลผลิตปาล์มน้ำมัน ข้าวนาปี จากการที่เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวไปแล้วก่อนหน้า และปริมาณฝนที่ตกชุกในเดือนมกราคมทำให้การเก็บเกี่ยวยางพาราลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรยังมีการขยายตัวในระดับสูงที่ ร้อยละ 10.2 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนธันวาคม 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ตามความต้องการสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะพืชพลังงานทดแทนส่งผลให้รายได้เกษตรยังขยายตัวได้ดี
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคง โดยในด้านเสถียรภาพภายนอกนั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2551 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 92.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 87.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นหลายเท่าตัว ขณะที่เสถียรภาพในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าในหมวดอาหาร โดยดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวถึงร้อยละ 28.0 ต่อปี ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานเดือนธันวาคม 2550 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ เดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ร้อยละ 38.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า และยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ของ GDP ค่อนข้างมาก
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 2/2551 28 กุมภาพันธ์ 2551--