นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า R&I ได้ประกาศแถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 13.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการจัดระดับเครดิต (Rating Committee) ได้ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Issuer Rating) อยู่ที่ระดับ BBB+ โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เป็นระดับที่เป็นบวก (Positive Outlook) และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Short Term Credit Rating) อยู่ที่ระดับ a-2 พร้อมทั้งยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Domestic Currency Issuer Rating) ที่ระดับ A- โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เป็นระดับที่เป็นบวก (Positive Outlook) ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มระดับเครดิตของประเทศไทยในอนาคต โดย R&I ได้ให้เหตุผลของการยืนยันระดับเครดิตดังกล่าวข้างต้นโดยสรุป ดังนี้
1. การเมืองในประเทศไทยเริ่มกลับเข้าสู่รัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550 นำไปสู่การปิดฉากความยุ่งเหยิงทางการเมืองนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ที่ผ่านมา ตราบใดที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่เข้าสู่สภาวการณ์ที่ยุ่งเหยิงไปกว่านี้ การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2551 โดย R&I ได้ให้ความเห็นในเชิงบวกต่อประเทศไทยว่า มีภาระผูกพันที่เกิดจากหนี้สาธารณะลดลงและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าภาระหนี้ต่างประเทศ จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ R&I ยังคงยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศและระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ BBB+ และ A- ตามลำดับ โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็นบวก
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real GDP) ในปี 2550 คิดเป็นร้อยละ 4.8 แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศยังคงชะลอตัว อันเนื่องมาจากการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และความยุ่งเหยิงทางการเมืองที่ตามมา อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนเริ่มกลับมาฟื้นตัวนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 หลังจากทราบข่าวการจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่แน่นอน ทั้งนี้ รัฐบาลใหม่ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น โดยการสานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ได้วางแผนไว้เมื่อครั้งสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่ง ในช่วงปี 2549 และ 2550 ที่ผ่านมาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของไทย แต่ในปี 2551 คาดว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงแนวโน้มของราคาและอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศมีเสถียรภาพ
3. นอกจากนี้ R&I ยังคงประเมินถึงโครงสร้างด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย รวมถึงฐานในการผลิตในด้านอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสนับสนุนต่างๆ ของไทยในเชิงบวก ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะของประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ โดยหนี้สาธารณะเมื่อรวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2550 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 38 ของ GDP นอกจากนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลส่งผลให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเกินร้อยละ 140 ของหนี้ต่างประเทศ
4. สำหรับมุมมองทางการเมืองของประเทศไทย R&I ให้ความเห็นว่า ยังคงมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนอยู่ ทั้งนี้ หมายรวมถึงเสถียรภาพของรัฐบาลผสมซึ่งมีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ และประเด็นการกลับมาประเทศไทยของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม R&I เชื่อว่า ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้งยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่ยังคงมีความกังวลว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนจะไม่สามารถถูกขจัดออกไปได้ โดยหากความเสี่ยงทางการเมืองไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน อันเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่มีศักยภาพ ก็มีความเป็นไปได้ที่ R&I จะปรับเพิ่มระดับเครดิตของประเทศไทยในอนาคต
กระทรวงการคลัง เห็นว่า การปรับแนวโน้มเครดิตครั้งนี้ถือเป็นการปรับครั้งแรกหลังจากที่มีการปรับครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2546 และน่าจะเป็นขั้นตอนแรกของการปรับระดับเครดิต (Credit Rating) ของประเทศขึ้นไปสู่ระดับ A โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ซึ่งจะมีผลทำให้การระดมทุนของรัฐบาล เอกชน และของประเทศโดยรวมมีต้นทุนต่ำลง และเอื้อต่อการฟื้นตัวของการลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
0-2265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 12/2551 27 กุมภาพันธ์ 51--
1. การเมืองในประเทศไทยเริ่มกลับเข้าสู่รัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550 นำไปสู่การปิดฉากความยุ่งเหยิงทางการเมืองนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ที่ผ่านมา ตราบใดที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่เข้าสู่สภาวการณ์ที่ยุ่งเหยิงไปกว่านี้ การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2551 โดย R&I ได้ให้ความเห็นในเชิงบวกต่อประเทศไทยว่า มีภาระผูกพันที่เกิดจากหนี้สาธารณะลดลงและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าภาระหนี้ต่างประเทศ จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ R&I ยังคงยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศและระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ BBB+ และ A- ตามลำดับ โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็นบวก
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real GDP) ในปี 2550 คิดเป็นร้อยละ 4.8 แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศยังคงชะลอตัว อันเนื่องมาจากการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และความยุ่งเหยิงทางการเมืองที่ตามมา อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนเริ่มกลับมาฟื้นตัวนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 หลังจากทราบข่าวการจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่แน่นอน ทั้งนี้ รัฐบาลใหม่ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีความตั้งใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น โดยการสานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ได้วางแผนไว้เมื่อครั้งสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่ง ในช่วงปี 2549 และ 2550 ที่ผ่านมาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของไทย แต่ในปี 2551 คาดว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงแนวโน้มของราคาและอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศมีเสถียรภาพ
3. นอกจากนี้ R&I ยังคงประเมินถึงโครงสร้างด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย รวมถึงฐานในการผลิตในด้านอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสนับสนุนต่างๆ ของไทยในเชิงบวก ทั้งนี้ ระดับหนี้สาธารณะของประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ โดยหนี้สาธารณะเมื่อรวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2550 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 38 ของ GDP นอกจากนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลส่งผลให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเกินร้อยละ 140 ของหนี้ต่างประเทศ
4. สำหรับมุมมองทางการเมืองของประเทศไทย R&I ให้ความเห็นว่า ยังคงมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนอยู่ ทั้งนี้ หมายรวมถึงเสถียรภาพของรัฐบาลผสมซึ่งมีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ และประเด็นการกลับมาประเทศไทยของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตาม R&I เชื่อว่า ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้งยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่ยังคงมีความกังวลว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนจะไม่สามารถถูกขจัดออกไปได้ โดยหากความเสี่ยงทางการเมืองไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน อันเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่มีศักยภาพ ก็มีความเป็นไปได้ที่ R&I จะปรับเพิ่มระดับเครดิตของประเทศไทยในอนาคต
กระทรวงการคลัง เห็นว่า การปรับแนวโน้มเครดิตครั้งนี้ถือเป็นการปรับครั้งแรกหลังจากที่มีการปรับครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2546 และน่าจะเป็นขั้นตอนแรกของการปรับระดับเครดิต (Credit Rating) ของประเทศขึ้นไปสู่ระดับ A โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ซึ่งจะมีผลทำให้การระดมทุนของรัฐบาล เอกชน และของประเทศโดยรวมมีต้นทุนต่ำลง และเอื้อต่อการฟื้นตัวของการลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
0-2265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 12/2551 27 กุมภาพันธ์ 51--