Executive Summary
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 62 หดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ต.ค. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 59.3 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 57.9
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 62 คิดเป็น 1.85 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงาน รวม อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ต.ค. 62 หดตัวร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 3 ปี 62 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของญี่ปุ่น ไตรมาส 3 ปี 62 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของมาเลเซีย ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 62 หดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหดตัวร้อยละ -16.7 ต่อปี เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกปรับลดลงและราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวลงจากปีก่อน ประกอบกับความต้องการใช้ในประเทศลดลง สะท้อนจากยอดขายเหล็กในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์ซีเมนต์หดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี จากความต้องการลดลง สอดคล้องกับยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 62 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -1.0 ต่อปี
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 62 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 11.6 โดยเป็นการขยายตัวทั้งเขต กทม. และภูมิภาคที่ร้อยละ 2.2 และ 2.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ยังคงหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ต.ค. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 59.3 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 57.9 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 66 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 57 โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่ปัจจัยลบ ได้แก่ สหรัฐฯ ตัดสิทธิ์ การหดตัวของส่งออกไทย การปรับลดประมาณเศรษฐกิจของหลาย ๆ หน่วยงาน ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และความกังวลในสงครามการค้าและปัญหา Brexit
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 62 คิดเป็น 1.85 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 4.0 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ผู้มีงานทำเดือน ต.ค. 62 มีจำนวน 36.9 ล้านคน หดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการหดตัว 4 เดือนติดต่อกัน และหากขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การหดตัวของผู้มีงานทำทั้งจากภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยภาคเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -2.7 และนอกภาคเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวจากภาคอุตสาหกรรมที่ร้อยละ -1.0 ได้แก่ ภาคการผลิตที่หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี หดตัวต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 6 และจากการหดตัวของภาคบริการที่หดตัว ร้อยละ -1.2 ต่อปี ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ส่งผลให้ทั้งปี 62 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ต.ค. 62 หดตัวร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ตามความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ในประเทศที่ยังคงชะลอตัว แต่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อเดือนเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวร้อยละ -5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาในหมวดการให้บริการทางการแพทย์ อาหารและเครื่องดื่ม และนันทนาการ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน ต.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดขายรถยนต์นั่งที่หดตัวร้อยละ -25.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และยอดขายรถบรรทุกที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 ระดับจากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยผลผลิตของภาคการผลิตและเหมืองแร่ขยายตัวชะลอลง ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 ขยายตัวต่ำสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 62 โดยยอดขายเสื้อผ้า เครื่องประดับ น้ำมัน เครื่องอุปกรณ์ในสำนักงาน และรถยนต์หดตัว
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 62 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 3.36 พันล้านปอนด์ในเดือน ก.ย. 62 ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.9 จากผลผลิตภาคพลังงานและอุตสาหกรรมคงทนที่เร่งขึ้น อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนนหน้า จากปัจจัยกลุ่มราคาบ้าน ไฟฟ้า ก๊าซ และสาธารณูปโภคที่ชะลอลง ยอดขายปลีกเดือน ต.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
GDP ไตรมาส 3 ปี 62 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรวมเร่งขึ้นถึงร้อยละ 4.1 และการบริโภคภาดเอกชนที่เร่งขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการเร่งขึ้นของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์การขนส่งที่ร้อยละ 12.7 และ 4.0 ตามลำดับ
อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาและ Part Time ลดลง
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากร้อยละ -1.4 ในเดือนก่อนหน้า จากการผลิตสินค้าหมวดเหมืองแร่และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวชะลอลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 4.62 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.99 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าหมวดที่อาหารและหมวดที่ไม่ใช่อาหาร ขณะที่ราคาสินค้าหมวดน้ำมันหดตัว
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 62 หดตัวร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.0 จากผลผลิตเหมืองแร่ สาธารณูปโภค และภาคการผลิตที่ขยายตัวที่เร่งขึ้น
เมื่อวันที่ 14 พ.ย .62 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ4 .0 ต่อปี ถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การปรับลด 0.25 bps เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 62
ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -4.1 จากหมวดจักรยานยนต์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 ปี 62 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) จากมูลค่าการลงทุนที่ลดลง
มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 62 หดตัวร้อยละ -6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -5.7 จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ลดลง มูลค่าการนำเข้าหดตัวสูงถึงร้อยละ -16.4 หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.4 จากการนำเข้าสินค้าทุกประเภทที่น้อยลงส่งผลให้เกินดุลการค้า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น CSI300 (จีน) JCI (อินโดนีเซีย) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 14 พ.ย. 62 ปิดที่ระดับ 1,609.47 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 11 - 14 พ.ย. 62 ที่ 48,562 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 62 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในวันที่ 18 พ.ย. 62 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 14 พ.ย. 62 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 3,872 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสั้นปรับลดลง 1-2 bps จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่อัตราฯ ระยะกลางและระยาวปรับเพิ่มขึ้น 1-11 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ 50 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจถึง 1.86 และ 1.31 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 11 - 14 พ.ย. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,467 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 14 พ.ย. 62 เงินบาทปิดที่ 30.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.38 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงิน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.65
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง