“เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2562 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 มีสัญญาณการชะลอตัวจากการส่งออกสินค้า โดยมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ในด้านการผลิตพบว่า เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน และภาคการเกษตรที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี”
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วย นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน 2562 และไตรมาสที่ 3 ปี 2562 พบว่า “เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการชะลอตัวจากการส่งออกสินค้า โดยมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ในด้านการผลิตพบว่า เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน และภาคการเกษตรที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนส่วนใหญ่ชะลอตัวขณะที่บางส่วนยังขยายตัวได้สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวที่ร้อยละ -3.7 ต่อปี ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งชะลอตัวที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 59.3 เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับจีน และเรื่อง Brexit ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.8ส่วนรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ทำให้ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงชะลอตัว ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น การลงทุนหมวดเครื่องมือเครื่องจักรสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวที่ร้อยละ -21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวที่ร้อยละ -11.3 ต่อปี ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวที่ร้อยละ -2.3 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ไตรมาสที่ 3 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ชะลอตัวที่ร้อยละ -9.2 ต่อปี ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวที่ร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวในดัชนีราคาสินค้าหมวดเหล็กตามราคาเหล็กในตลาดโลกและความต้องการใช้เหล็กที่ลดลง ทำให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวลงที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ชะลอตัวที่ร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของสินค้าส่งออกในหมวดสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อย่างไรก็ตามสินค้าในกลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทองคำ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับอื่น ๆ ยังคงขยายตัวได้ และตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2562 เกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคจะพบว่า หลายประเทศมีการส่งออกหดตัว โดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ อินเดีย และฮ่องกง มีการหดตัวในระดับสูง
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน พบว่า ภาคการท่องเที่ยวและภาคการเกษตรขยายตัว ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณชะลอตัว ในภาคการท่องเที่ยวสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกันยายน 2562 มีจำนวน 2.90 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 31.6 ต่อปี และยังมีนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นที่ขยายตัวดี อาทิ นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย ลาว และญี่ปุ่น ทำให้ไตรมาสที่ 3 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.2 ต่อปี สำหรับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 139,621 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาสที่ 3 รายได้จากนักท่องเที่ยวขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี เช่นเดียวกับภาคการเกษตรสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวร้อยละ -4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีดังกล่าวชะลอตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน การแข็งค่าของเงินบาทอาจเป็นปัจจัยลบต่อภาคการส่งออก ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ค่าดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 92.8 โดยเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.9 ไปอยู่ที่ระดับ 103.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนหลังจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลงในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ณ ไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 และ 0.4 ต่อปีตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงาน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 41.3 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับสูงที่ 220.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
“เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2562 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 มีสัญญาณการชะลอตัวจากการส่งออกสินค้า โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ในด้านการผลิตพบว่า เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน และภาคการเกษตรที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี”
1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนส่วนใหญ่ชะลอตัว ขณะที่บางส่วนยังขยายตัวได้ สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่ายังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -3.3 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวที่ร้อยละ -5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งชะลอตัวที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่ายังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -2.1 อย่างไรก็ตามปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่ายังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -5.1 อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในปรับตัวลดลงจากระดับ 60.9 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 59.3 เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 แม้ว่ารัฐบาลเริ่มมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมามากขึ้น แต่ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับจีน และเรื่อง Brexit ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.8 สำหรับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ทำให้ไตรมาสที่ 3 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงชะลอตัว ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น การลงทุนหมวดเครื่องมือเครื่องจักรสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวที่ร้อยละ -21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยปรับผลทางฤดูกาลแล้วยังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -9.0 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวที่ร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวลงร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยหักผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 อย่างไรก็ตาม ไตรมาสที่ 3 ยอดการจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยหักผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.4 อย่างไรก็ตาม ไตรมาสที่ 3 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ชะลอตัวที่ร้อยละ -9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวที่ร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวในดัชนีราคาสินค้าหมวดเหล็กตามราคาเหล็กในตลาดโลกและความต้องการใช้เหล็กที่ลดลง ทำให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวลงที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนกันยายน 2562 เบิกจ่ายได้จำนวน 2.8 แสนล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 2.6 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 2.0 แสนล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 5.6 หมื่นล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 3.1 หมื่นล้านบาท ทำให้ทั้งปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลเบิกจ่ายรวมได้ทั้งสิ้น 3.0 ล้านล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากรายจ่ายปีปัจจุบัน 2.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 92.9 ต่อวงเงินงบประมาณปี 2562 ซึ่งแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 2.4 ล้านล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 3.9 แสนล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากรายจ่ายปีก่อน 2.5 แสนล้านบาท
4. เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ชะลอตัวที่ร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของสินค้าส่งออกในหมวดสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อย่างไรก็ตามสินค้าในกลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทองคำ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับอื่น ๆ ยังคงขยายตัวได้ และตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 6.1 2.4 และ 13.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2562 เกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจะพบว่า หลายประเทศมีการส่งออกหดตัวเช่นเดียวกัน โดยภาคการส่งออกของประเทศเกาหลีใต้ อินเดีย และฮ่องกง มีการหดตัวในระดับสูง
5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานพบว่า ภาคการท่องเที่ยวและภาคการเกษตรขยายตัว ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณชะลอตัว
โดยภาคการท่องเที่ยวสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกันยายน 2562 มีจำนวน 2.90 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 31.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 17 เดือน และยังมีนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นที่ขยายตัวดี อาทิ นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย ลาว และญี่ปุ่น ที่ขยายตัวร้อยละ 26.9 16.8 และ 9.0 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 3 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 139,621 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาสที่ 3 รายได้จากนักท่องเที่ยวขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับภาคการเกษตรสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวร้อยละ -4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวที่ร้อยละ -4.2 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน การแข็งค่าของเงินบาทอาจเป็นปัจจัยลบต่อภาคการส่งออก ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ค่าดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับ92.8 โดยเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.9 ไปอยู่ที่ระดับ 103.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนหลังจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลงในประเทศ และเมื่อหักสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ณ ไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 และ 0.4 ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงาน คิดเป็นผู้ว่างงานจำนวน 3.8 แสนคน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 41.3 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับสูงที่ 220.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ฉบับที่ 65/2562
วันที่ 28 ตุลาคม 2562
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง