ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 มีนาคม 2551 นั้น กระทรวงการคลังเห็นว่าการประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % ดังกล่าว จะช่วยลดอุปสรรคที่ทำให้นักลงทุนต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยได้ส่วนหนึ่ง และยังเป็นการเปิดโอกาสในการใช้แหล่งเงินทุนต่างประเทศเพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาวได้โดยคล่องตัวขึ้น อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการรองรับความผันผวนที่อาจจะมีขึ้นจากการปรับตัวในระยะแรกภายหลังจากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % และเพื่อเป็นการวางรากฐานในการสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลเข้าและไหลออกให้เป็นไปตามกลไกตลาด กระทรวงการคลังจึงได้เตรียมมาตรการสนับสนุนไว้ ดังต่อไปนี้
ในระยะเร่งด่วน กระทรวงการคลังจะประสานร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐต่าง ๆ เพื่อให้มาตรการต่างๆ มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % เพื่อดูแลให้การปรับตัวในระยะสั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
เร่งแปลงหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศให้เป็นสกุลเงินบาท (Swap และ Refinancing) ในวงเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ
3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในระยะสั้น
สำหรับการระดมทุนใหม่ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังจะชะลอการกู้เงินต่างประเทศในช่วงนี้ และจะระดมทุนจากแหล่งเงินภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เป็นเหตุให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพิ่มเติม
ในการกู้ยืมเงินในประเทศ กระทรวงการคลังจะเพิ่มวงเงินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่ประชาชนรายย่อยและจัดโควต้าพิเศษสำหรับผู้รับบำนาญ โดยมีวงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยประชาชนรายย่อยได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินออมที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันจะมีการออกพันธบัตรระยะยาวอายุ 30 ปี เพื่อเตรียมการระดมทุนสำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) ต่อไป
ทันทีที่พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ กระทรวงการคลังจะเร่งออกพันธบัตรกู้เงินบาทเพื่อระดมเงินจากในประเทศไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกใหม่ของกระทรวงการคลังในการระบายเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาลงทุนในประเทศให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น และเป็นกลไกของรัฐบาลในการช่วยสร้างเสถียรภาพของค่าเงินในอนาคต
ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ฉบับใหม่นี้เช่นเดียวกัน กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรกู้เงินในประเทศ และปล่อยกู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจ เพื่อลงทุนในโครงการ Mega Projects ซึ่งจะเป็นการบริหารหนี้ที่มีประสิทธิภาพ และช่วยพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
ดูแลให้สถาบันการเงินของรัฐบาล ขยายการลงทุนในต่างประเทศและดำรงสถานะเป็นผู้ถือสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ เพื่อช่วยลดภาระในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
สนับสนุนให้กองทุนต่างๆ ของภาครัฐ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกันสังคม และกองทุนรวมที่รัฐบาลกำกับดูแล นำเงินไปลงทุนในแหล่งที่เหมาะสมในต่างประเทศมากขึ้น
ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ และขยายกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้สถาบันและบุคคลในประเทศสามารถถือเงินตราต่างประเทศหรือนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากมาตรการผ่อนคลายการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ได้ประกาศใช้มาก่อนหน้านี้
นอกเหนือจากมาตรการในระยะสั้นดังกล่าว กระทรวงการคลังก็จะได้มีมาตรการเพื่อวางรากฐานในการสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลเข้าและไหลออก และมาตรการกระตุ้นและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อสร้างให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างสมดุลทั้งจากแรงขับเคลื่อนภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้
สนับสนุนให้ภาคเอกชนเร่งลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตมากขึ้น โดยให้ผู้ลงทุนสามารถหักค่าเสื่อมราคาของสินค้าทุนได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
กำกับดูแลการเบิกจ่ายเงินลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) ของภาครัฐให้เป็นไปตามกำหนดเวลา รวมทั้งช่วยจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมโดยให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท
เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายเงินให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ใช้กลไกสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินของรัฐเป็นแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเงินให้แก่ประชาชนในระดับฐานราก และให้แก่ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบธนาคารพาณิชย์ได้ตามปกติ
กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่าการดำเนินนโยบายการคลังตามแนวทางข้างต้น นอกจากจะช่วยลดแรงกดดันต่อค่าของเงินบาทจากการปรับตัวในระยะสั้นภายหลังการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % แล้ว ยังเป็นแนวทางที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างสมดุลในระยะยาว สมควรที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือและช่วยกันดูแลให้การดำเนินการตามแนวทางข้างต้นบังเกิดผลสำเร็จต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 13/2551 29 กุมภาพันธ์ 51--
ในระยะเร่งด่วน กระทรวงการคลังจะประสานร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐต่าง ๆ เพื่อให้มาตรการต่างๆ มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % เพื่อดูแลให้การปรับตัวในระยะสั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
เร่งแปลงหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศให้เป็นสกุลเงินบาท (Swap และ Refinancing) ในวงเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ
3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในระยะสั้น
สำหรับการระดมทุนใหม่ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังจะชะลอการกู้เงินต่างประเทศในช่วงนี้ และจะระดมทุนจากแหล่งเงินภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เป็นเหตุให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเพิ่มเติม
ในการกู้ยืมเงินในประเทศ กระทรวงการคลังจะเพิ่มวงเงินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่ประชาชนรายย่อยและจัดโควต้าพิเศษสำหรับผู้รับบำนาญ โดยมีวงเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยประชาชนรายย่อยได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินออมที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันจะมีการออกพันธบัตรระยะยาวอายุ 30 ปี เพื่อเตรียมการระดมทุนสำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) ต่อไป
ทันทีที่พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ กระทรวงการคลังจะเร่งออกพันธบัตรกู้เงินบาทเพื่อระดมเงินจากในประเทศไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกใหม่ของกระทรวงการคลังในการระบายเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาลงทุนในประเทศให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น และเป็นกลไกของรัฐบาลในการช่วยสร้างเสถียรภาพของค่าเงินในอนาคต
ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ฉบับใหม่นี้เช่นเดียวกัน กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรกู้เงินในประเทศ และปล่อยกู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจ เพื่อลงทุนในโครงการ Mega Projects ซึ่งจะเป็นการบริหารหนี้ที่มีประสิทธิภาพ และช่วยพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
ดูแลให้สถาบันการเงินของรัฐบาล ขยายการลงทุนในต่างประเทศและดำรงสถานะเป็นผู้ถือสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ เพื่อช่วยลดภาระในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
สนับสนุนให้กองทุนต่างๆ ของภาครัฐ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกันสังคม และกองทุนรวมที่รัฐบาลกำกับดูแล นำเงินไปลงทุนในแหล่งที่เหมาะสมในต่างประเทศมากขึ้น
ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ และขยายกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้สถาบันและบุคคลในประเทศสามารถถือเงินตราต่างประเทศหรือนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากมาตรการผ่อนคลายการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ได้ประกาศใช้มาก่อนหน้านี้
นอกเหนือจากมาตรการในระยะสั้นดังกล่าว กระทรวงการคลังก็จะได้มีมาตรการเพื่อวางรากฐานในการสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลเข้าและไหลออก และมาตรการกระตุ้นและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อสร้างให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างสมดุลทั้งจากแรงขับเคลื่อนภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้
สนับสนุนให้ภาคเอกชนเร่งลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตมากขึ้น โดยให้ผู้ลงทุนสามารถหักค่าเสื่อมราคาของสินค้าทุนได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
กำกับดูแลการเบิกจ่ายเงินลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) ของภาครัฐให้เป็นไปตามกำหนดเวลา รวมทั้งช่วยจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมโดยให้มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท
เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายเงินให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ใช้กลไกสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินของรัฐเป็นแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเงินให้แก่ประชาชนในระดับฐานราก และให้แก่ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบธนาคารพาณิชย์ได้ตามปกติ
กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่าการดำเนินนโยบายการคลังตามแนวทางข้างต้น นอกจากจะช่วยลดแรงกดดันต่อค่าของเงินบาทจากการปรับตัวในระยะสั้นภายหลังการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % แล้ว ยังเป็นแนวทางที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างสมดุลในระยะยาว สมควรที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือและช่วยกันดูแลให้การดำเนินการตามแนวทางข้างต้นบังเกิดผลสำเร็จต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 13/2551 29 กุมภาพันธ์ 51--